คุณภาพของการสรุปสาเหตุการตายต้นกำเนิดด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

Main Article Content

ศศิรา วรรณสถิตย์
สุกัญญา จงถาวรสถิตย์
พรณรงค์ โชติวรรณ
ไชยสิทธิ์ วชิรดิลก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาคุณภาพของการสรุปสาเหตุการตายต้นกำเนิดด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยศึกษาความถูกต้อง และความสอดคล้องของการสรุปสาเหตุการตายต้นกำเนิด (underlying cause of death) ด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) กับใบสรุปจำหน่ายผู้ป่วย (discharge summary) และความถูกต้องของการให้รหัส (coding) สาเหตุการตายใน ทร.4/1 และใน discharge summary


วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวมรวมข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับไว้รักษาในศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน และเสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวนทั้งหมด 382 ราย จาก ทร.4/1จำนวน 382 รายและ discharge summary จำนวน 91 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ และสถิติ Kappa


ผลการวิจัย: การสรุปสาเหตุการตายในหนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) สรุปถูกต้องมากกว่าในใบสรุปจำหน่ายผู้ป่วย (discharge summary)โดยถูกต้องร้อยละ 76.4 และไม่ถูกต้องร้อยละ 23.56 แต่ใน discharge summaryถูกต้องร้อยละ 48.35 และไม่ถูกต้องร้อยละ 51.65 ส่วนใหญ่สรุปไม่ถูกต้อง คือ สรุปสาเหตุการตายไม่มีการติดเชื้อ (infection) ตามกฎการบันทึกสาเหตุการตายต้นกำเนิด แต่ถูกสรุปสาเหตุการตายเป็นติดเชื้อในกระแสเลือด           เมื่อวิเคราะห์ความสอดคล้อง พบว่า สรุปสอดคล้องกันร้อยละ 60.44 ค่าสถิติ Kappa เท่ากับ 0.49 (ความสอดคล้องระดับปานกลาง) และการให้รหัสสาเหตุการตายในทร.4/1 ถูกต้อง ร้อยละ 99.48 ใน discharge summary ถูกต้องร้อยละ 99.15


สรุป: การสรุปสาเหตุการตายในหนังสือรับรองการตาย (ทร.4/1) และในใบสรุปการจำหน่ายผู้ป่วย (discharge summary) พบว่า ส่วนใหญ่ยังสรุปไม่ถูกต้องตามเกณฑ์ของการบันทึกสาเหตุการตายต้นกำเนิด หน่วยงานควรจัดอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการสรุปสาเหตุการตายให้แก่บุคลากรผู้เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทำให้การสรุปการตายของโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Melamed A, Sorvillo FJ. The burden of sepsis-associated mortality in the United States from 1999 to 2005: an analysis of multiple-cause-of-death data. Crit Care 2009; 13(1): R28. doi: 10.1186/cc7733

สุดจิต เผ่าไทย. การจัดการความรู้ในการสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

พรณรงค์ โชติวรรณ. คู่มือการบันทึกหนังสือรับรองการตาย (ปรับปรุงปี 2017). นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการรับรองสาเหตุการตาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการพัฒนาคุณภาพสาเหตุการตาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

เยาวรักษ์ ปรปักษ์ขาม. โครงการพัฒนาคุณภาพ สาเหตุการตายในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2551.กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2552.

อรดี อินทร์คง. นักสืบความตาย. นนทบุรี: ที คิว พี จำกัด; 2553.

World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems (10th revision) volume 2 instructions manual [Internet]. 2016[cited 2022 Apr 15]. Available from: https://icd.who.int/browse10/Content/statichtml/ICD10Volume2_en_2016.pdf.

กองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรคฉบับ 2017. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

ชูจิตร นาชีวะ. การพัฒนาคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตายโดยแพทย์ในสถานพยาบาล จังหวัด นครราชสีมา. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 2556; 11: 6-13.

เพ็ญพร คูณขาว,ปานทิพย์ สวัสดิ์มงคล,วันดี วันศรีสุธน,ปัทมา สันติวงศ์เดชา, วราภรณ์ ปานเงิน.ปัจจัยที่มีผลต่อการให้รหัสโรคที่เป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลศิริราช. เวชบันทึก ศิริราช 2553; 3: 79-85.

บุณฑริกา ทองสุข. คุณภาพของระบบรายงานสาเหตุการตายของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ปี พ.ศ. 2550 [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

สิรินทรา ฟูตระกูล. ความครบถ้วนและความสอดคล้องตรงกันของใบสรุปการจำหน่ายผู้ป่วยและ การลงสาเหตุการตาย ในหนังสือรับรองการตายของผู้ที่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ปี 2546 [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม, อรุณ จิรวัฒน์กุล, วรรษา เปาอินทร์. รายงานผลการศึกษาสาเหตุการตายในประเทศไทยระยะที่ 1 จำนวน 5 จังหวัด ขอนแก่น นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ น่าน และระนอง และกรุงเทพมหานคร 4 เขต บางเขน สายไหม ดอนเมือง และหลักสี่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2543.