การพัฒนาระบบสารสนเทศในการบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยนอกของแพทย์ กรณีศึกษาโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ

Main Article Content

กุลฉัตร ยงยืนนาน
ฐิตารีย์ ศิริศรีษรชัย
อุดมสิทธิ์ จีรสิทธิ์กุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาความต้องการระบบสารสนเทศ และนำไปพัฒนาระบบสารสนเทศในการบันทึก                 เวชระเบียนผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ รวมทั้งการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศดังกล่าว


วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research)  เก็บรวบรวมข้อมูล                    ความต้องการระบบสารสนเทศด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in depth interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) จำนวน 5 คน และพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรพัฒนาระบบ (Systems Development Life Cycle : SDLC)                        โดยพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วยภาษา PHP และออกแบบฐานข้อมูลด้วย MySQL หลังจากนั้นทำการติดตั้ง ทดสอบระบบสารสนเทศ และประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งาน จำนวน 95 คน แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) คุณภาพระบบสารสนเทศ (system quality) 2) คุณภาพสารสนเทศ (information quality) 3) คุณภาพการให้บริการ (service quality) และ 4) ประโยชน์ที่ได้รับ (net benefit)  วิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)


ผลการวิจัย: ผู้ใช้งานมีความต้องการระบบสารสนเทศ เพื่อนำข้อมูลหรือสารสนเทศที่บันทึกโดยแพทย์และพยาบาลมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้ทันที ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ระบบสารสนเทศเดิมและพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่ โดยกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มแพทย์/พยาบาล 2) กลุ่มสหวิชาชีพ และ 3) ผู้ดูแลระบบ พร้อมทั้งออกแบบหน้าจอแสดงผลใหม่ และเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศหลักโรงพยาบาล (Hospital Information System: HIS) จากนั้นได้ดำเนินการทดสอบระบบดังกล่าว และประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมาก  ( = 4.04, SD = 0.562) นั่นคือ ผู้ใช้งานสามารถบันทึกหรือแก้ไขข้อมูลได้รวดเร็ว และมีการจัดเก็บข้อมูลลงในระบบได้อย่างถูกต้อง ระบบสามารถค้นหาและแสดงผลได้ถูกต้องและครบถ้วน หน้าจอแสดงผลใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน โดยแถบเมนูแยกตามแถบข้อมูลและอยู่ในหน้าจอเดียวกัน รวมทั้งผู้ใช้งานระบบสารสนเทศได้รับการช่วยเหลือเมื่อพบปัญหาจากการใช้งานด้วยความเต็มใจ


สรุป: ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานระบบ ทำให้ช่วยค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น ลดขั้นตอน              ในการค้นหาข้อมูล สะดวกรวดเร็ว และสนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้คือ ในอนาคตควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพิ่มเติม โดยเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ของโรงพยาบาล เพื่อสนับสนุนการให้บริการที่รวดเร็ว และเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุขุม เฉลยทรัพย์. เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต; 2555.

รุจา ภู่ไพบูลย์, เกียรติศรี สำราญเวชพร. พยาบาลสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ; 2542.

นวนรรณ ธีระอัมพรพันธุ์. สู่สุขภาวะด้วยสารสนเทศ ตอนที่ 1 กำเนิดของ Informatics และชื่อสาขาอันหลากหลาย. Journal of the Thai Medical Informatics Association 2558; 1: 1-12.

ดุรงค์ฤทธิ์ ตรีภาค. การพัฒนาส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์กับระบบสารสนเทศโรงพยาบาลเพื่อการสืบค้นเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ในงานบริการเภสัชกรรม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2561.

ชนิดา เรืองศิริวัฒนกุล, ธนากร ธนวัฒน์, ภาคภูมิ โชคทวีพาณิชย์, กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการฐานข้อมูลผู้รับบริการและอัตราค่าบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ของศูนย์บริการสุขภาพราษฎร์พิษณุ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 2561; 5: 51-9.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2555.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์,สมโภชน์ ชื่นเอี่ยม. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2558.

เอกชัย แน่นอุดร,วิชา ศิริธรรมจักร. การเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์; 2551.

ดนุวัศ อิสรานนทกุล, ปัทมนันท์ อิสรานนทกุล. เว็บเซอร์วิสด้วยภาษาพิเฮชพี (PHP). วารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ 2555; 1: 1-10.

บัญชา ปะสีละเตสัง. พัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นด้วย PHP ร่วมกับ MySQL และ jQuery. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2557.

ดรุณวรรณ กำธรเกียรติ. การจัดการฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เชิงพื้นที่. ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.

ชาญชัย ศุภอรรถกร. จัดการฐานข้อมูลด้วย MySQL + MariaDB ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: รีไวว่า; 2562.

Oracle Corporation. What is MySQL? [Internet]. 2019[cited 2019 November 28]. Available from: https://dev.mysql.com/doc/refman/5.5/en/what-is-mysql.html.

Delone WH, McLean ER. The DeLone and McLean model of information systems success: a ten-year update. Information System 2003; 19: 9-30.

บุญมี พันธุ์ไทย. ระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2560.

อรยา ปรีชาพานิช. คู่มือเรียนการวิเคราะห์และออกแบบระบบฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์; 2557.

ปานใจ ธารทัศนวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในมุมมองด้านการบริหาร. นครปฐม: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร; 2554.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือคำแนะนำการบันทึกเวชระเบียนสำหรับแพทย์. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.

วัฒนา นนทชิต, เบญจ์ พรพลธรรม, พลศักดิ์ จิรไกรศิริ, อํานวย บุญรัตนไมตรี. การจัดการสารสนเทศเพื่อการรับรองมาตรฐานของโรงพยาบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2558; 10: 152-66.

ฐิตินันท์ เอียดรักษ์. การพัฒนาเว็บไซต์ระเบียนคลินิกออนไลน์กรณีศึกษา: คลินิกวรรณสินการแพทย์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต; 2553.

กนกกาญจน์ นามปรีดา และสมเกียรติ ชุ่มใจ. ผลการพัฒนาโปรแกรม Tracking ต่อคุณภาพการติดตามเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแพร่. Journal of the Phrae Hospital 2562; 27: 64-76.

อาทิตย์ กลีบรัง, ปริญญา อินทรกวี, อำภา กุลธรรมโยธิน,ปฐมพงษ์ ปฐมรัตน. การพัฒนาโปรแกรมจัดเก็บเวชระเบียนของหน่วยรายงานสถิติทางการแพทย์ งานเวชระเบียน โรงพยาบาลศิริราช. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 2561; 1: 37-47.

อุไรพร โคตะมี, นิรุวรรณ เทรินโบล์, สุทิน ชนะบุญ. การพัฒนาการบันทึกเวชระเบียนของทีม สหวิชาชีพ โรงพยาบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี. The Public Health Journal of Burapha University 2560; 12: 1-14.

สุชล รัชยา. อิทธิพลของกางานระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานรายบุคคล.[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.

จันทร์ทิรา เจียรณัย. การพัฒนาโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2557.