เปรียบเทียบผลลัพธ์ระยะสั้นระหว่างการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองที่ศูนย์เบาหวานกับระบบบริการตามปกติของคลินิกอายุรกรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

Main Article Content

จารุภัณฑ์ กุลเสถียร
ภัทรพร เกียรติปานอภิกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับความรู้และสนับสนุนการดูแลตนเองของศูนย์เบาหวาน กับกลุ่มที่ได้รับการบริการตามระบบปกติของคลินิกอายุรกรรมทั่วไป


วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ย (HbA1C) ≥ 8 % จำนวน 540 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเอง (DSMES) ณ ศูนย์เบาหวานและกลุ่มที่ได้รับบริการตามปกติของคลินิกอายุรกรรมทั่วไป จำนวนกลุ่มละ 270 ราย ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสืบค้นและทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มที่มารับบริการในคลินิกที่กำหนดช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - 31 กันยายน 2562 ใช้ฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ (electronic database)รหัสโรค (ICD10) E11- E19 และ E 149 ตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก ติดตามผลของระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ย (HbA1C) ไขมันแอลดีแอล (LDL cholesterol) ความดันโลหิต systolic, diastolic และน้ำหนักตัว (BMI) ทุก 3 เดือนจนครบ 12 เดือน และติดตามการเกิดภาวะแทรกซ้อนเดือนที่ 12


ผลการวิจัย: ระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยของกลุ่มศูนย์เบาหวานภายหลังรับบริการพบว่าเดือนที่ 3 (8.21+1.47 vs 9.41+1.74; p<0.05) เดือนที่ 6 (7.87+1.59 vs 9.38+1.6; p<0.05) เดือนที่ 9 (7.87+1.48 vs 9.34+1.86; p<0.05) และเดือนที่ 12 (8.04+1.74 vs 9.13+1.76; p<0.05) ต่ำกว่ากลุ่มคลินิกอายุรกรรมทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนและหลังการรับบริการกลุ่มศูนย์เบาหวานมีระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยลดลงมากกว่ากลุ่มคลินิกอายุรกรรมทั่วไป 1.67 % (2.5 % vs 0.83%) ส่วนระดับ LDL cholesterol ความดันโลหิตsystolic, diastolic และดัชนีมวลกาย (BMI) หลังการรับบริการเดือนที่ 3, 6, 9 และ 12 ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างกัน การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานในเดือนที่ 12 ระหว่างกลุ่มศูนย์เบาหวานและกลุ่มคลินิกอายุรกรรมทั่วไปพบว่า กลุ่มศูนย์เบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา (24.4 %  vs 35.6%; p<0.05) ทางไต (24.4 % vs 46.3%; p<0.05) และหลอดเลือดหัวใจ (10.7% vs 17.8%; p<0.05) น้อยกว่ากลุ่มคลินิก อายุรกรรมทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ไม่พบความแตกต่างของการเกิดแผลที่เท้าของทั้งสองกลุ่ม


สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานมีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลสะสมและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง จึงควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับ DSMES ทุกรายเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

The International Diabetes Federation. Brussels association of diabetes; c1950[internet]. 2021 [cited 2022 Jun 5]. Available from: https://www.idf.org/aboutdiabetes/what-is-diabetes/facts-figures. html.

Thai National Health Examination Survey V Study Group. Thai national health examination survey, NHES V. Nonthaburi: National Health Examination Survey Office, Health System Research Institute; 2016.

งานสถิติ. สถิติจำนวนผู้เป็นเบาหวานประจำปี2561-2564. ฝ่ายวิชาการและแผนงาน:โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์; 2561-2564.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน2560. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย จำกัด;2560.

รัตนาภรณ์ จีรวัฒนะ. ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อนโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงต่อผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย. Rama Nursing Journal 2018; 24: 51-68.

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes-2020. Diabetes care 2020; 43Suppl 1: S48-9.

สายพิณ ปิ่นแก้ว. ผลของโปรแกรมจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้อินซูลินรายใหม่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมการแพทย์ทหารอากาศ. Royal Thai Air Force Medical Gazette 2018; 64: 50-9.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, ประสิทธิ์ ลีวัฒนภัทร. การศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องเบาหวานต่อระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.Vajira Nursing Journal 2560; 19: 33-41.

กิเริ่น โซนี, มลวันท์ เชื้อเมืองพาน, ภัทรี มณีรัตน์. ผลของการให้ความรู้โรคเบาหวานแก่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นรายกลุ่มเทียบกับรายบุคคล ณ หน่วยบริการปฐมภูมิและคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายวารสาร 2560; 9: 19-28.

BrunisholzKD, BriotP, HamiltonS, JoyEA, LomaxM, BartonN, et al. Diabetes self-management education improves quality of care and clinical outcomes determined by a diabetes bundle measure.JournalofMultidisciplinaryHealthcare[internet]. 2014[cited 2020 Nov 3]; 7: 533-41. Available form: www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/article/PMC4247143.

Jaipakdee J, Jiamjarasrangi W, Lohsoonthorn V, Lertmaharit S. Effectiveness of self-management support program for Thais with type 2 diabetes Evaluation according to the RE-AIM framework. Nursing and Health Sciences 2015; 17: 362-9.

Tachanivate P, Phraewphiphat R, Tanasanikul H, Jinnawaso R, Areevut C, Rattanasila R, et al. Effectiveness of diabetes self-management education in Thais with type 2 diabetes. Pacific Rim Int Nurs Res[internet]. 2019[cited 2020 Nov 3]; 23: 74-86. Available form: https://he02.tci-thailo.org/ index.php/PRUNR/article/download/91968/115856.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, สว่างจิต สุรอมรกุล, รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ, ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล. การศึกษาติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในผู้ป่วยเบาหวานในคลินิก Comprehensive NCD clinic โรงพยาบาลวชิรพยาบาล. Vajira Nursing Journal 2020; 19: 45-59.

Bluml BM, Kolb LE, Lipman R. Evaluating the impact of year-long augmented diabetes self-management support. Population health management[internet]. 2019[cited 2020 Dec 20]; 22: 522-27. Available form: https://www.researchgate.net/publication/3305499Evaluating the Impact of Year-Long Augmented Diabetes Self-Management Support.

รัตนาภรณ์ จีรวัฒนะ, สิริมนต์ ริ้วตระกูล ประเทืองธรรม, รุ่งฤดี จิณณวาโส, ฉัตรวรา อารีวุฒิ. แนวปฏิบัติ การทำกิจกรรมกลุ่มเบาหวานเพื่อพัฒนา ความสามารถในการดูแลตนเองและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยรายบุคคล. กรุงเทพฯ: คอนเช็พเมดิคัส จำกัด; 2559.

Bernard R. Fundamentals of biostatistics. 5th ed. Duxbury: Thomson learning; 2000.

จรณิต แก้วกังวาน. คู่มือนักวิจัยมือใหม่: การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาและชีวสถิติในการวิจัยชีวเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: จี.เอส.เอ็ม.เทรดดิ้ง; 2562.

Delacruz MV. Promoting diabetes self-management education and support in primary care clinic: an evidence-based project. Doctor of Nursing Practice[internet]. 2019[cited 2022 June 5];94. Available form:https://digital.sandiego.edu/dnp/163.

Jerawatana R, Siripitayakunkit A, Anothaisintawee T, Pattanaprateep O, Reutrakul S. The effects of diabetes self-management education and support program in Thailand: a systematic review and meta-analysis. J Med Assoc Thai 2021; 104: 1050-8.

Tanaka R, Shibayama T, Sugimoto K, Hidaka K. Diabetes self-management education and support for adults with newly diagnosed type 2 diabetes mellitus: a systemic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Diabetes Res Clin Pract 2020; 169: 108-480.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, สว่างจิต สุรอมรกุล, รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ, ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล. ผลของ การให้ความรู้และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ที่ควบคุมไม่ดีโรงพยาบาลวชิรพยาบาล. Vajira Nursing Journal 2022; 24: 1-23.

กานต์ชนก สุทธิผล. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลราชบุรี. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2565; 5: 1-12.

ดวงพรวัฒนเรืองโกวิท, อมรรัตน์ สุนทรพุทธศาสน์. การพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1C) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลยโสธร.Journal of Nursing and Health Care 2020; 38: 78-86.