ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะการรู้คิดบกพร่องและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคจิตเภท

Main Article Content

พรไพลิน ว่องธนาการ
วรภัทร รัตอาภา
ปเนต ผู้กฤตยาคามี
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะการรู้คิดบกพร่องและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคจิตเภท


วิธีดำเนินการวิจัย: ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์และแบบประเมินรายบุคคล ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพุทธิปัญญาฉบับภาษาไทย และเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่รับการตรวจและติดตามอาการที่หน่วยตรวจโรคจิตเวชศาสตร์และหน่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่ มีนาคม - สิงหาคม 2564 จากการคำนวณทางสถิติได้จำนวน 115 ราย แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) จึงเก็บข้อมูลได้เพียง 48 ราย (ร้อยละ41.73)


ผลการวิจัย: เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะการรู้คิดบกพร่องและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในรายด้านพบว่า การรู้คิดด้านสมาธิ (r=0.350, p<0.05) การรู้คิดด้านความจำที่ระลึกได้ (r=0.306, p<0.05)  การรู้คิดโดยรวม (r=0.286, p<0.05)  และคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งพบว่า การรู้คิดด้านมิติสัมพันธ์และการบริหารจัดการ (r=0.316, p<0.05) การรู้คิดด้านสมาธิ (r=0.371, p<0.01) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่า การรู้คิดโดยรวม (r=0.285, p<0.05) และการรู้คิดด้านสมาธิ (r=0.361, p<0.05) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


สรุป: ผลการวิจัยพบว่า ภาวะการรู้คิดบกพร่องสามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ ดังนั้น การบำบัด รักษาทางด้านจิตสังคมที่ให้ความสำคัญกับการรู้คิดเช่นการบำบัดฟื้นฟูการรู้คิด (cognitive remediation therapy) การฝึกการรู้คิดทางสังคม (social cognition training) จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยใน การพัฒนาทักษะทางด้านการรู้คิดและสังคม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วรภัทร รัตอาภา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ปเนต ผู้กฤตยาคามี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, รองศาสตราจารย์, ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

รองศาสตราจารย์, ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

References

1. Collaborators GBD, Nomura S. Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 354 diseases and injuries for 195 countries and territories, 1990-2017: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2017. The Lancet 2018; 392: 1789-858.

สุนทรีภรณ์ ทองไสย. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในบริบทสังคมไทยอย่างยั่งยืน. วารสารกองการพยาบาล

; 42: 159-67.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช ประจำปีงบประมาณ 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/report/ datacenter/dmh/reds.asp.

Goonathilake P, Ediriweera D, Ruban R, Isuru A. Prevalence and correlates of cognitive impairment in schizophrenia: a cross-sectional study from a teaching hospital southern Sri Lanka. BMC Psychiatry 2022; 22: 716.

Aich TK, Mahato A, Subedi S. Cognitive Impairment in Schizophrenia: current perspective. JPAN 2017; 5: 5.

Mihaljević-Peleš A, Bajs Janović M, Šagud M, Živković M, Janović Š, Jevtović S. Cognitive deficit in schizophrenia: an overview. Psychiatr Danub 2019; 31 Suppl 2: S139-42.

มันฑนา กิตติพีรชล, ปัทมา ศิริเวช, บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์, วีร์ เมฆวิลัย, บรรณาธิการ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ (ฉบับแพทย์). พิมพ์ครั้ง 2. กรุงเทพฯ: วิคทอเรีย อิมเมจ จำกัด; 2560.

วลัยพร สุวรรณบูรณ์, สายใจ พัวพันธ์, สงวน ธานี, จิณห์จุฑาห์ ชัยเสนา ดาลลาส. ผลของใช้โปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเภท. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 23: 68-79.

รัตติยาพร เบ็ญเจ๊ะมะ, รัชนีกร อุปเสน. ปัจจัยทำนายอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลศรีธัญญา. พยาบาลสาร 2563; 47: 66-75.

Mwesiga EK, Ssemata AS, Gumikiriza J, Nanteza A, Nakitende AJ, Nakku J, et al. The association of cognitive impairment with quality of life and functional impairment in Ugandan first-episode psychosis patients: a cross sectional study. Health and Quality of Life Outcomes 2022; 20: 113.

Hemrungrojn S. Montreal cognitive assessment (MOCA) [Internet]. 2011 [cited 2020 Jan 12]. Available from: http://www. mocatest.org/pdf_files/test/MoCA-Test-Thai.pdf.

Tangwongchai S, Charernboon T, Phanasathit M, Akkayagorn L, Hemrungrojn S, Phanthumchinda K, et al. The validity of Thai version of the montreal cognitive assessment (MoCA-T). Dement Neuropsychol 2009; 3: 172.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิรวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิต วงศ์สุวรรณ, ราณี พรหมานะจิรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. วารสารกรมสุขภาพจิต 2541; 5: 4-11.

Memedi I, Miloseva L. The impact of cognitive functioning on the quality of life in patients with schizophrenia. Medical Journal Medicus 2021; 26: 46-52.

Kadakia A, Fan Q, Shepherd J, Dembek C, Bailey H, Walker C, et al. Healthcare resource utilization and quality of life by cognitive impairment in patients with schizophrenia. Schizophr Res Cogn 2022; 28: 100233.

Mwesiga EK, Ssemata AS, Gumikiriza J, Nanteza A, Nakitende AJ, Nakku J, et al. The association of cognitive impairment with quality of life and functional impairment in Ugandan first-episode psychosis patients: a cross sectional study. Health and Quality of Life Outcomes 2022; 20: 113.

Cumming TB, Brodtmann A, Darby D, Bernhardt J. The importance of cognition to quality of life after stroke. J Psychosom Res 2014; 77: 374-9.

Wang Z, Ling Y, Wang Y, Zhu T, Gao J, Tang X, et al. The role of two factors of negative symptoms and cognition on social functioning in male patients with Schizophrenia: a Mediator Model. Brain Sci 2023; 13: 187.

Duțescu MM, Popescu RE, Balcu L, Duica LC, Strunoiu LM, Alexandru DO, et al. Social functioning in schizophrenia clinical correlations. Current health sciences journal 2018; 44: 151-6.

Ristic B, Batinic B. Correlation between social functioning and quality of life in patients diagnosed with schizophrenia. European Psychiatry 2022; 65 Suppl 1: S195.

Desalegn D, Girma S, Abdeta T. Quality of life and its association with psychiatric symptoms and socio-demographic characteristics among people with schizophrenia: a hospital-based cross-sectional study. PloS one 2020; 15: e0229514.

Rekhi G, Saw YE, Lim K, Keefe RSE, Lee J. Impact of cognitive impairments on health-related quality of life in schizophrenia. Brain sciences 2023; 13: 215

Suttajit S, Pilakanta S. Predictors of quality of life among individuals with schizophrenia. Neuropsychiatric disease and treatment. 2015;11:1371-9.