การพัฒนาต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

นิติกุล บุญแก้ว
สมฤดี พูนทอง
อ้อยฤทัย สุรีย์เหลืองขจร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์กระดูกพรุน 2) พัฒนาต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุน และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง


วิธีดำเนินการวิจัย: วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หมู่บ้านบ้านบ่อทราย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ศึกษาสถานการณ์กระดูกพรุน จำนวน 557 คน และ 2) ผู้ที่เข้าร่วมทดลอง จำนวน 30 คน การศึกษามี             3 ระยะ ระยะที่ 1 สำรวจอัตราความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน ระยะที่ 2 พัฒนาต้นแบบกิจกรรมนำร่อง ป้องกันภาวะกระดูกพรุน และระยะที่ 3 ทดลองใช้ต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุน จำนวน 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบคัดกรองภาวะกระดูกพรุนสำหรับชาวเอเชีย (Osteoporosis Self-Assessment Tool for Asians: OSTA) และแบบคัดกรองภาวะกระดูกพรุนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (Khon Kaen Osteoporosis Study: KKOS) 3) ทดสอบการทรงตัวด้วยการจับเวลาในการเดิน (Time Up and Go Test ) 4) แบบสัมภาษณ์ความรอบรู้สุขภาพป้องกันภาวะกระดูกพรุน ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.7 และ 5) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก วิเคราะห์เปรียบเทียบการทดลองด้วย one group paired-samples T test และข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย: 1) กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงกระดูกพรุนอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 78.28  2) พัฒนาต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุน ประกอบด้วยกิจกรรม “SIMLE” โดย Survey (S) คือ การเข้าถึงข้อมูลป้องกันกระดูกพรุน Intervention (I) คือ ความเข้าใจการป้องกันภาวะกระดูกพรุน Meeting (M) คือ                  การวางเป้าหมายในการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง Learning (L) คือ การปฏิบัติกิจกรรมตามเป้าหมาย ปรับแก้ไขด้วยตนเอง และ Evaluation (E) คือ การประเมินความสำเร็จของตนเอง บอกต่อให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม 3) ประสิทธิผลของต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีการทรงตัวดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p<0.01) และมีความรอบรู้สุขภาพป้องกันภาวะกระดูกพรุนมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p<0.01)


สรุป: ความชุกของภาวะกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นตามลำดับช่วงอายุ การใช้ต้นแบบกิจกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนมีผลทำให้ผู้สูงอายุมีการทรงตัวที่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการหกล้ม และมีความรอบรู้สุขภาพ         การป้องกันภาวะกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น จึงควรนำไปใช้กับผู้สูงอายุในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alarkawi D, Bliuc D, Tran T, Ahmed LA, Emaus N, Bjørnerem A, et al. Impact of osteoporotic fracture type and subsequent fracture on mortality: the Tromsø study. Osteoporos Int 2020;31(1):119-30.

Wannaiampikul S, Tungtrongchit R, Tongboonchu C, Utennam D, Suttisansanee U, On-Nom N, et al. Relationship of nutritional indices and physical activity to bone mineral density in osteopenia/ osteoporosis Thai postmenopausal women. Srinakharinwirot University (Journal of Science and Technology) 2020;12(24):133-44. (in Thai)

Viriyamontchai V. Development and evaluate the effectiveness of the care model to prevent the risk of bone fractures from osteoporosis in elderly patients with type 2 diabetes. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand 2023;13(3):84-101. (in Thai)

Ketsakorn A, Thiptimwong K, Teiaunkool N. Nurses’ roles in promoting health literacy in elderly people to prevent osteoporosis. Journal of Nurses Association of Thailand Northern Office 2023;29(2):161-75. (in Thai)

Fahmy H, Ahmad M, Elayan R, Ibrahim H, Mahmoud S, Osman S. Effectiveness of educational program on osteoporosis knowledge and beliefs among older adult people. Int Med J 2021;28(1): 73-7.

Pinheiro MB, Oliveira J, Bauman A, Fairhall N, Kwok W, Sherrington C. Evidence on physical activity and osteoporosis prevention for people aged 65+ years: a systematic review to inform the WHO guidelines on physical activity and sedentary behavior. Int J Behav Nutr Phys Act 2020;17(1):1-53.

Sommung P, Seubsui N, Sangsuwan P, Hammasiri N. Effects of the “My Self” exercise program for improved trunk balance and leg strength in the elderly. Lampang Medical Journal 2019;40(1):17-24. (in Thai)

Royal college of orthopedic surgeons of Thailand and the osteoporosis foundation of Thailand. Public health service guidelines Osteoporosis 2010. Osteoporosis Foundation 2553;1-62.

Pongchaiyakul C, Nguyen ND, Pongchaiyakul C, Nguyen TV. Development and validation of a new clinical risk index for prediction of osteoporosis in Thai women. J Med Assoc Thai 2004; 87(8):910-6.

Pengchan W. Health knowledge: in the document of the department of health personnel capacity development workshop on health literacy towards Thailand. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2017. (in Thai)

Durongrittichai V, Maleevong K, Buajalearn H, Wongsaree C. Predictive correlation between administration according to characteristic of health literacy organization of elderly clubs in Bangkok and elderly members’ health promotion 4 smart “do not fall, do not forget, do not depress, and deliciously eating”. Journal of Phrapokklao Nursing College 2022;33(2):129-45. (in Thai)

Vannajak K, Vannajak PT. Falling in osteoporosis elderly: cause and exercise for prevention. The Public Health Journal of Burapha University 2018;13(2):141-50. (in Thai)

de Wit L, Fenenga C, Giammarchi C, di Furia L, Hutter I, de Winter A, et al. Community-based initiatives improving critical health literacy: a systematic review and meta-synthesis of qualitative evidence. BMC Public Health 2017;18(1):1-11.

Janjaroen K, Wannawilai P, Chaiwongnakkapun C. The traditional southern food: a treasure for health. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2017;4(2):281-90.(in Thai)