ประเมินผลการจัดการระบบบริการพยาบาลหอผู้ป่วยแยกโรค (cohort ward) ในสถานการณ์การระบาด ของโควิด-19 ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ได้จัดตั้งหอผู้ป่วยแยกโรค เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โดยใช้แนวคิดบริหารการพยาบาลภัยพิบัติของเจนนิ่ง และแนวคิดการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลการจัดการระบบบริการพยาบาลหอผู้ป่วยแยกโรคในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19
วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยแยกโรค ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 - สิงหาคม 2565 จำนวน 77 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินความพร้อมในการจัดการระบบบริการพยาบาลหอผู้ป่วยแยกโรค แบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการและการบริการทั่วไป ด้านการจัดตั้งหอผู้ป่วยแยกโรค ด้านระบบการทำงานของบุคลากรการแพทย์ ด้านการดูแลคลังและอุปกรณ์สนับสนุน ด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของบุคลากร และด้านการทำความสะอาดและระบบการฆ่าเชื้อสำหรับหอผู้ป่วย แบบประเมินความพึงพอใจพยาบาลในการจัดระบบบริการพยาบาลหอผู้ป่วยแยกโรค ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้ค่า CVI 0.95 และ 1 ตามลำดับ ทดสอบหาความเที่ยงในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยแยกโรค โรงพยาบาลสิรินธร 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาคแอลฟ่า 0.97 และ 0.85 ตามลำดับ และข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 จากการปฏิบัติงานรวบรวมจากแบบรายงานอุบัติการณ์การติดเชื้อโควิด-19 จากการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพของกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : ความพร้อมของการจัดระบบบริการของหอผู้ป่วยแยกโรคโดยรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน ความพึงพอใจของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานต่อการจัดระบบบริการของหอผู้ป่วยแยกโรคโดยรวม อยู่ในระดับมาก (mean = 3.54, SD = 0.73) อุบัติการณ์การติดเชื้อโควิด-19 จากการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยแยกโรค จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 6.02
สรุป : ควรมีการเตรียมพร้อมตั้งแต่ระยะก่อนเกิดเหตุ มีการซักซ้อมความเข้าใจร่วมกัน ระยะเกิดเหตุต้องมีการปรับปรุงแผนการให้ทันต่อสถานการณ์ และระยะหลังเกิดเหตุมีการฟื้นฟูและถอดบทเรียน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้ออื่น ๆ
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการจัดการระบบบริการพยาบาลหอผู้ป่วยแยกโรคในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยแยกโรคในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564-สิงหาคม 2565 จำนวน 77 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินความพร้อมในการจัดการระบบบริการพยาบาลหอผู้ป่วยแยกโรคในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการและการบริการทั่วไป ด้านการจัดตั้งหอผู้ป่วยแยกโรค ด้านระบบการทำงานของบุคลากรการแพทย์ ด้านการดูแลคลังและอุปกรณ์สนับสนุน ด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของบุคลากร ด้านการทำความสะอาดและระบบการฆ่าเชื้อสำหรับหอผู้ป่วย แบบประเมินความพึงพอใจพยาบาลในการจัดระบบบริการพยาบาลหอผู้ป่วยแยกโรคในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.95 และ 1 ตามลำดับ ทดสอบหาความเที่ยงในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยแยกโรค โรงพยาบาลสิรินธร 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาคแอลฟ่าเท่ากับ 0.97 และ 0.85 ตามลำดับ และข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 จากการปฏิบัติงานรวบรวมจากแบบรายงานอุบัติการณ์การติดเชื้อโควิด-19 จากการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพของกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา ความพร้อมของการจัดระบบบริการของหอผู้ป่วยแยกโรคโดยรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน ความพึงพอใจของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานต่อการจัดระบบบริการของหอผู้ป่วยแยกโรคโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.54, SD=0.73) อุบัติการณ์การติดเชื้อโควิด-19 จากการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยแยกโรค มีจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 6.02
สรุป การจัดระบบบริการพยาบาลของหอผู้ป่วยแยกโรคในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ควรมีการเตรียมพร้อมตั้งแต่ระยะก่อนเกิดเหตุ มีการซักซ้อมความเข้าใจร่วมกัน ระยะเกิดเหตุต้องมีการปรับปรุงแผนการให้ทันต่อสถานการณ์และระยะหลังเกิดเหตุมีการฟื้นฟูและถอดบทเรียนเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้ออื่น ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) weekly epidemiological update and
weekly operational update [Internet]. 2020 [cited 2022 Aug 18]. Available from:
https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situation-reports/
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
file/situation/situation-no469-160464.pdf
กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และ
เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet). แนวทางการจัดตั้งหอผู้ป่วย
รวม (cohort ward) ห้องแยกโรค (isolation room) และโรงพยาบาลสนาม (field hospital) [อินเทอร์เน็ต].
[เข้าถึงเมื่อ 18 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/backend/ Content/ Content_File/Covid_Health/Attach/25640129093347AM_A2.pdf
นวลใย พิศชาติ, เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ณิชาภา ยนจอหอ. การบริหารการพยาบาลในยุควิถีชีวิตใหม่.
วารสารกองการพยาบาล 2564;48(3):202-11.
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ใน
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
(ฉบับที่ 1). นนทบุรี: ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์; 2563.
Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. Nursing: concepts of practice. 6th ed. St.Louis: Mosby; 2001.
นุชรี จันทร์เอี่ยม, มาลีวรรณ เกษตรทัต, พรพิมล คุณประดิษฐ์, ศศิประภา ตันสุวัฒน์. การบริหารจัดการ
ระบบบริการพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาล
แพร่ 2564;29(1):115-28.
กลุ่มงานพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน กองสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติงานในการสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน สปฉ.
(Emergency Support Function : ESF) สปฉ.8 : ส่วนงานการแพทย์และสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2564
[เข้าถึงเมื่อ 14 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://kpo.moph.go.th/webkpo/tool/tooln2_240167.pdf
Jennings-Sanders A. Teaching disaster nursing by utilizing the Jennings disaster nursing management
model. Nurse Educ Pract 2004;4(1):69–76. doi.org/10.1016/S1471-5953(03)00007-6.
สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาด
ของโรค COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsic.moph.go.th/
index/detail/8620
Shea CM, Jacobs SR, Esserman DA, Bruce K, Weiner BJ. Organizational readiness for implementing
change: a psychometric assessment of a new measure. Implement Sci 2014;9:7. doi: 10.1186/1748-5908-9-7.
ธีรพร สถิรอังกูร, ศิริมา ลีละวงศ์, ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, ณิชาภา ยนจอหอ, กนกพร
แจ่มสมบูรณ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด–19 ใน
โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(2):320-33.
Hossny EK, Morsy SM, Ahmed AM, Saleh MSM, Alenezi A, Sorour MS. Management of the
COVID-19 pandemic: challenges, practices, and organizational support. BMC Nurs 2022;21(1):196.
doi:10.1186/s12912-022-00972-5.
อุษา คำประสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19
แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโนนไทย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัย
สิ่งแวดล้อม 2565;16(1):30-44.
จิราภรณ์ พรมมงคล, หนึ่งฤทัย ศรีสง, นวพร ดาวแจ้ง, ฤทธิไกร นามเกษ, ณัฐปราง นิตยสุทธิ์. ลักษณะ
ทางระบาดวิทยาของบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในการระบาดระลอก
วันที่ 1 มกราคม 2563–12 มีนาคม 2565. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2565;53(29):
-4.
พรวิภา กุลรัตน์, ศราวัณ พอกเพิ่มดี, เสาวลักษณ์ บุญจันทร์, ศิริศักดิ์ นามพรม, รัตนาวดี ภูมะลา. ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิด-19 จากการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่ง
หนึ่ง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2566;38(2):463-73.
Wu X, Zheng S, Huang J, Zheng Z, Xu M, Zhou Y. Contingency nursing management in designated
hospitals during COVID-19 outbreak. Ann Glob health 2020;86(1):70. doi.org/10.5334/aogh.2918.