การสำรวจความชุกของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในประเทศไทย ประจำปี 2566
วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่กำลังนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ “การสำรวจความชุกของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในประเทศไทย ประจำปี 2566” ทั้งรายเก่าและรายใหม่ที่ได้รับการรักษาโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 8,581 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบฟอร์มสำหรับเก็บข้อมูลการสำรวจความชุกของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในประเทศไทย 2) แบบประเมินระดับความรุนแรงของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบของชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย (2566) และ 3) แบบฟอร์มสรุปการสำรวจความชุกของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เครื่องมือทั้ง 3 ชุด ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.80 ส่วนความเที่ยงของแบบประเมินระดับความรุนแรงของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบของ ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย (2566) ได้ทดลองใช้กับสมาชิกชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย จำนวน 30 คน ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.91
ผลการวิจัย : พบว่า เมื่อจำแนกตามขนาดโรงพยาบาล พบว่า ความชุกของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจาก การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในประเทศไทย โรงพยาบาลขนาด 30-120 เตียง คิดเป็นร้อยละ 5.10 โรงพยาบาลขนาด 121-500 เตียง คิดเป็นร้อยละ 4.98 โรงพยาบาลขนาด 501-1,000 เตียง คิดเป็นร้อยละ 3.04 และโรงพยาบาลขนาดมากกว่า 1,000 เตียง คิดเป็นร้อยละ 1.64
สรุป : ความชุกของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในประเทศไทย ประจำปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 3.79
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Garcia-Expósito J, Sánchez-Meca J, Almenta-Saavedra JA, Llubes-Arrià L, Torné-Ruiz A, Roca J. Peripheral venous catheter-related phlebitis: a meta-analysis of topical treatment. Nurs Open 2023;10(3), 1270-80. doi:10.1002/nop2.1449
Mandal A, Raghu K. Study on incidence of phlebitis following the use of pherpheral intravenous catheter. J Family Med Prim Care 2019;8(9):2827-31. doi:10.4103/jfmpc.jfmpc_559_19
Gorski LA, Hadaway L, Hagle ME, Broadhurst D, Clare S, Kleidon T, et al. Infusion therapy standards of practice, 8th edition. J Infus Nurs 2021;44(1S Supp l):S1-224. doi:10.1097/ NAN.0000000000000396
ผู้จัดการออนไลน์. โรงพยาบาลเสียใจเหตุให้น้ำเกลือเด็กจนแขนบวม [อินเทอร์เน็ต]. 2562[เข้าถึงเมื่อ 12 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/qol/detail/9620000035870
ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ. ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. กรุงเทพฯ:พรี-วัน; 2563.
Ray-Barruel G, Polit DF, Murfield JE, Rickard CM. Infusion phlebitis assessment measures: a systematic review. J Eval Clin Pract 2014;20(2):191-202. doi:10.1111/jep.12107
Urbanetto JS, Muniz FOM, Silva RM, Freitas APC, Oliveira APR, Santos JCR. Incidence of phlebitis and post-infusion phlebitis in hospitalized adults. Rev Gaúcha Enferm 2017;38(2):e58793. doi:10.1590/1983-1447.2017.02.58793
ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย. แบบประเมินระดับความรุนแรงของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ. กรุงเทพฯ:พรี-วัน; 2566.
ศันสนีย์ ชัยบุตร. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายในโรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2557;34(3):18-25.
มนรดา แข็งแรง, อัจฉราภรณ์ พันธุ์เวียง. การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารละลายในหอผู้ป่วยวิกฤติ. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2018;2(1):22-36.
วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, ดารารัตน์ ดำรงกุลชาติ, รัชนีย์ วงศ์แสน, ธนพร กาวีวน, อารีย์ กุณณะ, พัชรินทร์ เนตรสว่าง. การส่งเสริมการปฏิบัติของพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557;41(5):71-87.
Gorski LA, Hadaway L, Hagle ME, McGoldrick M, Orr M, Doellman D. Infusion therapy standards of practice. J Infus Nurs 2016;39 Suppl 1:S1-159.