ความสัมพันธ์ของสเตียรอยด์แบบพ่นละอองฝอยเพิ่มเติมจากการรักษาตามมาตรฐานกับอัตราการนอนโรงพยาบาล ในผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลันระดับปานกลางที่ห้องฉุกเฉิน (โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร)

Main Article Content

ธันยา ปิติยะกูลชร
พงศ์พิชญ์ แสนศรี
ศิริศักดิ์ สิงห์ธนะ
จิตญา สัมนิตย์
นริศรา เธียรชาติสกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการให้ยา nebulized budesonide เพิ่มเติมจากการรักษาตามมาตรฐาน กับอัตราการนอนโรงพยาบาลและผลลัพธ์ทางคลินิกอื่น ๆ ในผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลันระดับปานกลางที่ห้องฉุกเฉิน


วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษาแบบ retrospective cohort นี้ ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลันระดับปานกลาง 106 ราย ที่ได้รับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ระหว่าง           มกราคม 2564 ถึง กรกฎาคม 2566 โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน (n = 53) และกลุ่มที่ได้รับ nebulized budesonide เพิ่มเติม (n = 53) ผลลัพธ์หลัก คือ อัตราการนอนโรงพยาบาล ผลลัพธ์รองได้แก่ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน อัตราการกลับมารักษาซ้ำ และอาการไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ chi-square test และ multiple regression analysis


ผลการวิจัย : อัตราการนอนโรงพยาบาลทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในกลุ่ม budesonide มีแนวโน้มต่ำกว่ากลุ่มรักษาตามมาตรฐาน (24.5% เทียบกับ 35.8%; p = 0.204) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (2.9 ± 1.1 วัน เทียบกับ 3.3 ± 2.0 วัน, p = 0.384) ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนหลังพ่นยาในกลุ่ม budesonide สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (98.0 ± 1.4 เทียบกับ 96.6 ± 3.1, p = 0.006) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของอัตราการกลับมารักษาซ้ำ


(p = 1.000) และอาการไม่พึงประสงค์จากยา (p = 1.000)


สรุป : การให้ nebulized budesonide 1.5 mg เพิ่มเติม ไม่ช่วยลดอัตราการนอน ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และอัตราการกลับมารักษาซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญ ในผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบเฉียบพลันระดับปานกลางที่ได้รับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมแบบ randomized controlled trial ขนาดใหญ่กับยา budesonide ขนาดสูงเพื่อยืนยันผลการศึกษานี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Homer RJ, Elias JA. Airway remodeling in asthma: therapeutic implications of mechanisms. Physiology 2005;20(1):28-35.

ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์. แนวทางการดูแลโรคหืด [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 26 พ.ค. 2565].เข้าถึงได้จาก:https://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/management%20of%20patient%20with%20asthma.pdf

Global Initiative for Asthma. Global strategy for asthma management and prevention [Internet]. 2024 [cited 2024 May 22]. Available from: www.ginasthma.org

Hvizdos KM, Jarvis B. Budesonide inhalation suspension: a review of its use in infants, children and adults with inflammatory respiratory disorders. Drugs 2000;60(5):1141-78.

Leuppi JD, Schuetz P, Bingisser R, Bodmer M, Briel M, Drescher T, et al. Short-term vs conventional glucocorticoid therapy in acute exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease: the REDUCE randomized clinical trial. JAMA 2013;309(21):2223-31.

Rowe BH, Bota GW, Fabris L, Therrien SA, Milner RA, Jacono J. Inhaled budesonide in addition to oral corticosteroids to prevent asthma relapse following discharge from the emergency department: a randomized controlled trial. JAMA 1999;281(22):2119-26.

Edsbäcker S, Brattsand R. Budesonide fatty-acid esterification: a novel mechanism prolonging binding to airway tissue. Review of available data. Ann Allergy Asthma Immunol 2002;88(6):609-16.

Global Initiative for Asthma. Global strategy for asthma management and prevention [Internet]. 2022 [cited 2022 Apr 30]. Available from: www.ginasthma.org

Razi CH, Akelma AZ, Harmanci K, Kocak M, Kuras Can Y. The addition of inhaled budesonide to standard therapy shortens the length of stay in hospital for asthmatic preschool children: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Int Arch Allergy Immunol 2015;166(4):297-303.

Upham BD, Mollen CJ, Scarfone RJ, Seiden J, Chew A, Zorc JJ. Nebulized budesonide added to standard pediatric emergency department treatment of acute asthma: a randomized, double‐blind trial. Acad Emerg Med 2011;18(7):665-73.

Ediger D, Coskun F, Kunt Uzaslan E, Gurdal Yuksel E, Karadag M, Ege E, et al. Clinical effectiveness of nebulized budesonide in the treatment of acute asthma attacks. Tuberk Toraks 2006;54(2):128-36.

Guttman A, Afilalo M, Colacone A, Kreisman H, Dankoff J, The effects of combined intravenous and inhaled steroids (beclomethasone dipropionate) for the emergency treatment of acute asthma. Acad Emerg Med 1997;4(2):100-6.

Starobin D, Bolotinsky L, Or J, Fink G, Shtoeger Z. Efficacy of nebulized fluticasone propionate in adult patients admitted to the emergency department due to bronchial asthma attack. Isr Med Assoc J 2008;10(8-9):568-71.

Ito K, Kanemitsu Y, Fukumitsu K, Inoue Y, Nishiyama H, Yamamoto S, et al. The impact of budesonide inhalation suspension for asthma hospitalization: in terms of length of stay, recovery time from symptoms, and hospitalization costs. Allergol Int 2020;69(4):571-7.

Kearns N, Maijers I, Harper J, Beasley R, Weatherall M. Inhaled corticosteroids in acute asthma: a systemic review and meta-analysis. J Allergy Clin Immunol Pract 2020;8(2):605-17.

Edmonds ML, Milan SJ, Camargo CA Jr, Pollack CV, Rowe BH. Early use of inhaled corticosteroids in the emergency department treatment of acute asthma. Cochrane Database Syst Rev 2012;12(12):CD002308.