ผลการสำรวจระดับการมองเห็นและความผิดปกติทางสายตาในเด็กวัยเรียน

Main Article Content

มันตาภรณ์ อิฐรัตน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะสายตาที่ผิดปกติ (Refractive error) ถูกจัดให้เป็นปัญหาที่ทำให้เกิด ภาวะสายตาเลือนรางและตาบอดอันดับที่หนึ่งโดยองค์การอนามัยโลก สายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไขในเด็กโดยเฉพาะในวัยเรียนจะส่งผลกระทบต่อ พัฒนาการความสามารถในการเรียนรู้รวมไปถึงบุคลิกภาพของเด็ก ดังนั้นการค้นหา ให้การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่แรกเริ่มจึงเป็นเสมือนการป้องกันและ ช่วยให้เด็กสามารถมีการมองเห็นได้เป็นปกติหรืออาจจะใกล้เคียงกับปกติ มากที่สุด
วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาและวินิจฉัยความผิดปกติของระดับการมองเห็นและความผิดปกติทางสายตาของเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ทีมจักษุวิทยาประกอบด้วยจักษุแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติทางจักษุวิทยา และผู้ช่วยพยาบาลจักษุวิทยา ได้ทำการออกหน่วย ตรวจประเมินระดับการมองเห็นและความผิดปกติทางสายตาในเด็กนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกโรงเรียนที่อยู่ในเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ทั้งหมด 76 โรงเรียน ตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2559-กันยายน พ.ศ.2559 นักเรียนที่มีผลการมองเห็นต่ำกว่า 20/20 จะได้รับการตรวจสุขภาพ ตาและขยายม่านตาเพื่อวัดสายตาซ้ำโดยจักษุแพทย์ทุกราย
ผลการศึกษา: นักเรียนเข้ารับการตรวจทั้งสิ้น 1,858 ราย เป็นเด็กชาย 943 ราย (ร้อยละ 50.8) พบว่า 1,843 ราย (ร้อยละ 99.2) มีระดับการมองเห็นได้ 20/20 ทั้งสองตา 3 ราย มีระดับการมองเห็นที่ 20/30 หรือต่ำกว่า และ 12 ราย มีระดับการมองเห็นที่ 20/40 หรือต่ำกว่าในตาข้างที่แย่กว่าหรือทั้งสองข้าง นักเรียนที่ระดับการมองเห็นน้อยกว่า 20/20 จำนวน 11 ราย จาก 15 ราย มีระดับการมองเห็นผิดปกติซึ่งมีสาเหตุจากภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข (uncorrected refractive error) ที่เหลืออีก 4 ราย เกิดจากพัฒนาการช้า นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติทางตาอื่นที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ได้แก่ หนังตาตกแต่กำเนิด 7 ราย ตาเข 3 ราย และเส้นประสาทตาเล็ก 1 ราย
สรุป: จากการศึกษาพบว่าเด็กนักเรียน 15 ราย (ร้อยละ 0.8) มีระดับการมองเห็น ผิดปกติและสาเหตุอันดับที่ 1 ของการมองเห็นผิดปกติเกิดจากภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไขคิดเป็นร้อยละ 0.6 ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้หากได้รับการคัดกรองและแก้ไขก็จะสามารถทำให้เด็กสามารถกลับมามีคุณภาพการมองเห็นที่ดีขึ้นได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. World Health Organization. VISION 2020: The Right to Sight; Avoidable Blindness. World Health Organization; 2013

2. Milton K. The Human Eye as an Optical System. In: Duanne TD, Jaeger EA, editors. Clinical ophthalmology. Philadelphia: Haper & Row; 1986. p.1-52.

3. Flitcroft Dl. Ophthalmologists should consider the cause of myopia and not simply treat its consequences. Br J Ophthalmol 1998;82:210-11.

4. American Academic of Ophthalmology. Basic and Clinical Science Course, Section 6 Pediatric Ophthalmology and Strabismus. LEO: San Francisco 2015-2016.

5. Tananuvat N, Worapong, A, Kupat J, Aree P. Survey of refractive errors among school children in Chiang Mai municipal areas. Chiang Mai Med Bull 2003;42(2):53-60.

6. Tansirikongkol V, Konyama K. Survey of visual function among school children. Transactions APAO 1981;8:800-10.

7. Mahachaiyakul A, Sinpornchai N, Kunavisarut S. The study of refractive state and Strabismic prevalence in school children. Thai J Ophthalmol 1997;11:1-8

8. Zhao J, Pan X, Sui R, Munoz SR, Sperduto RD, Ellwein LB. Refractive Error study in Children: results from Shunyi District, China. Am J Ophthalmol 2000;129:427-35.