ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนัก
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้ระยะเวลาในการรักษาตัวของผู้ป่วยยาวนานขึ้น รวมทั้งก่อให้เกิดการเสียชีวิตตามมา การปฏิบัติตาม รูปแบบการพยาบาลที่ได้มาตรฐาน ครอบคลุมทุกระยะการใช้เครื่องช่วยหายใจจะช่วย ให้การดูแลรักษามีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยมากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระยะเวลาเฉลี่ยการใช้เครื่องช่วยหายใจ อัตราการติดเชื้อ (Ventilator Associated pneumonia) อัตราการเกิดภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด/การแตกของถุงลม ปอด (pneumothorax / barotrauma) การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ และความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอนการศึกษา 3 ระยะ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การพัฒนารูปแบบการพยาบาล และการประเมินผล ระยะเวลาการศึกษาระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก 3 หอผู้ป่วย จำนวน 373 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก 3 หอผู้ป่วยจำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัดคุณภาพการ พยาบาล แบบประเมินการปฏิบัติตามรูปแบบการพยาบาล และแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับพยาบาล
ผลการศึกษา: ภายหลังนำรูปแบบการพยาบาลไปใช้พบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้เครื่องช่วยหายใจ ลดลงจาก 8.5 วันเป็น 7.2 วัน อัตราการติดเชื้อจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงจาก 9.2 ครั้ง เป็น 5.7ครั้งต่อ 1000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ ไม่พบอัตราการเกิดภาวะลมรั่ว ในช่องเยื่อหุ้มปอด/การแตกของถุงลมปอด (pneumothorax / barotrauma) ระยะ เวลาเฉลี่ยในการใช้เครื่องช่วยหายใจภายหลังนำรูปแบบการพยาบาลไปใช้ ลดลงจาก 8.5 วันเป็น 7.2 วัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) การปฏิบัติของพยาบาลเพิ่มขึ้นในทุกระยะการดูแล พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการ พยาบาลที่พัฒนาขึ้นในระดับมากร้อยละ 90.0
สรุป: การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักส่งผลให้เกิด แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ครอบคลุมในทุกกระบวนการดูแลและสะดวกในการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจต่อการนำรูปแบบการพยาบาลไปใช้ ทำให้สามารถปฏิบัติ งานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัย ลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจลงได้
Article Details
References
2. Chen CJ, Lin CJ, Tzeng YL, Hsu LN. Sucess- ful mechanical ventilation weaning experiences at respiratory care centers. J Nurs Res 2009;17:93-101.
3. Prashant p, Kavita K, Deepansh B. Complications of mechanical ventilation. JIACM 2006;7:199-201.4. Rosenthal VD, Maki DG, Mehta Y, Leblebi-cioglu H, Memish ZA, Al-Mousa HH. et al. International nosocomial infection control consortium (INICC) report, data summary of 36 countries, for 2004-2009. Am J Infect Control 2014;42:942-56.
5. Silva PS, Fonseca MC. Unplaned endotracheal extubations in the Intensive care unit: systematic review, critical appraisal, and evidence-based recommendations. Anesth Analg 2012;114:1003-14.6. คะนึงนิตย์ บุรีเทศ, จงกล ธัมปสาโท, พิชญา พิชิยะ, แสงนวล เชี่ยวประสิทธิ์. การวิจัยเพื่อพัฒนางานในการป้องกันท่อเลื่อนหลุด. วารสารวัณโรค 2550;24:29-37.
7. เพ็ญศรี ลออ, รัตนา เอกจริยาวัฒน์. อุบัติการณ์และผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจโรงพยาบาลนครนายก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2553;4:1:9-18.
8. Blot S, Rello S, Vogelaers D. What is New in the Prevention of Ventilator-associated pneumonia?. Curr Opin Pulm Med 2011;17:155-9
9. Maselli DJ, Restrepo Ml. Strategies in the Prevention of Ventilator-associated pneumonia. Ther Adv Resp Dis 2011;5:131-41.
10. ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศโรงพยาบาลสุรินทร์. รายงานสถิติประจำปี 2555-2557. สุรินทร์: โรงพยาบาลสุรินทร์; 2555.
11. ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสุรินทร์. สถิติตัวชี้วัดหอผู้ป่วยหนัก 2555. สุรินทร์: โรงพยาบาลสุรินทร์; 2555.
12. วีระพล บดีรัฐ. PDCA วงจรสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร; 2543.
13. Cason CL, Tyner T, Saunders S, Broome L. Nurses’ implementation of guidelines for ventilator-associated pneumonia from the center for disease control and prevention. Am J Crit Care 2007;16:28-37.
14. Augustyn B. Ventilator-Associated Pneumonia risk factors and prevention. Crit Care Nurse 2007;27:32-9.
15. เพ็ญศรี ปักกังวะยัง. การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
16. ลดาวัลย์ ศรีสุวรรณ. การพัฒนาวิธีการปฏิบัติ เพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
17. วนิดา เคนทองดี. โครงการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์: แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจ. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.