ประสิทธิผลของการใช้วิธีรักษาแบบผสมผสานทันตสุขภาพในผู้ป่วยบาดเจ็บ กระดูกขากรรไกรและใบหน้า

Main Article Content

ณรงศักดิ์ บุญเฉลียว

บทคัดย่อ

เหตุผลการศึกษา: การบาดเจ็บกระดูกขากรรไกรและใบหน้าพบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีสาเหตุส่วนใหญ่เกิด จากอุบัติเหตุทางการจราจรการตกจากที่สูง และการต่อสู้ทำร้ายร่างกาย ซึ่งการดูแล รักษาอย่างถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความพิการลดน้อยลงและลดภาวะแทรกซ้อนได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้วิธีรักษาแบบผสมผสานทันตสุขภาพในผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกขากรรไกรและใบหน้า โดยวัดผลลัพธ์ด้านจำนวนวันนอน การติดเชื้อ การสบฟัน พฤติกรรม และความพึงพอใจ
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยบาดเจ็บบริเวณการดูขากรรไกรและใบหน้า แบบ บันทึกการรักษา และความพึงพอใจของผู้ป่วยบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกรและ ใบหน้าที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา: จากการดูแลผู้ป่วยจำนวน 78 ราย พบว่า เป็นเพศขายต่อเพศหญิง เท่ากับ 5.5:1 ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 25-44 ปี (ร้อยละ 55.1) สาเหตุมาจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ 40 ราย (ร้อยละ 51.3) ตำแหน่งกระดูกหักมากที่สุด คือกระดูกขากรรไกร 38 ราย (ร้อยละ 48.7) การรักษาใช้วิธี Closed reduction 76 ราย (ร้อยละ 97.4) ได้กำหนด วิธีการรักษาโดยผสมผสานทันตสุขภาพ เข้ากับการรักษาด้านศัลยกรรมแม็กซิลโลเฟเซียล เน้นการดูแลสุขภาพในช่องปาก และลดระยะเวลาการมัดฟันให้สั้นลงและนำไปใช้จริง ผลการรักษา พบคะแนนพฤติกรรมทันตสาธารณสุขของผู้ป่วยอยู่ในระดับ ดีมาก (x=4.9) จำนวนวันนอนผู้ป่วยลดลงและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (WTLOS) ไม่พบการติดเชื้อ อุปกรณ์มัดฟันอยู่ครบ คะแนนความพึงพอใจภาพรวมของผู้ป่วยอยู่ที่ร้อยละ 93.6
สรุป: การรักษาแบบผสมผสานทันตสุขภาพในผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกขากรรไกรและใบหน้า เน้นการส่งเสริมการดูแลสุขภาพในช่องปากที่เอื้อต่อการหายของแผล ส่งผลให้มีผลลัพธ์ การรักษาดีขึ้น ลดระยะเวลาการรักษา และลดภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งผู้รับบริการพอใจ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Ngeow wc, Ong ST, Siow KK, Lian CB. Orthognathic surgery in the university of malaya. Med J Malaysia 2002 Dec; 57(4):398-403.

2. Ong MA. Spectrum of dentofacial deformities: a retrospective survey. Ann Acad Med Singapore 2004 Mar;33:239-42.

3. ขนิษฐา เจนวณิชสถาพร. การศึกษาผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกรและใบหน้า 4,755 ราย ณ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. ว.ศัลย์ช่องปาก-แม็กซิลโลเฟเชียล : ปีที่ 22 : 2551;106-15.

4. Lee R, Robertson B, Manson P. Current epidemiology of facial injuries. SeminPlast-Surg ; 2002,16:283

5. Frederick M. Maxillary and periorbital. Fractures : https://www.slideshare.net/tong-mdd/maxilla ry-and-periorbital-fractures

6. จริยา โล่สวัสดิ์กุล. การบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกรและใบหน้า 327 ราย ณ โรงพยาบาลบ้าน โปร่ง. วารสารวิชาการสาธารณสุข : ปีที่ 17 ฉบับเพิ่มเติม 4;2551:1035-40

7. Boeck EM, Lunardi N, Pinto Ados S, Pizzol KE, Boeck Neto RJ. Occurrence of skeletal malocclusions in Brazilian patients with dentofacial deformities. Braz Dent L 2011;22:4:340-5.

8. Kok-Leng Yeow V, Por YC. An audit on orthognathic surgery: a single surgeon’s experience. J Craniofac Surg 2008 Jan;19:1:184-6.

9. Parton AL, Tong DC, De silva HL, Farella M, De Silva RK. A nine-year review of orthognathic surgery at the university of otago. N Z Dent J 2011;107:4:117-20

10. สารสนเทศโรงพยาบาลสุรินทร์, รายงานผลการดำเนินงานเฉพาะบุคคล. ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลสุรินทร์; 2558.

11. ณรงศักดิ์ บุญเฉลียว. การศึกษาการบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกรและใบหน้าในโรงพยาบาลสุรินทร์ : การศึกษาผู้ป่วย 2,997 ราย. วารสารศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 2548;19:75-9.

12. ณรงศักดิ์ บุญเฉลียว. กระบวนการดูแลผู้ป่วยกระดูกขากรรไกรและใบหน้าหัก. เอกสารประกอบการนำเสนอโครงการมหกรรมพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลสุรินทร์.: 22-24 กันยายน 2551

13. วีระพล บดีรัฐ. PDCA วงจรสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: ประชาชื่น ; 2543.

14. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. การจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมและน้ำหนักสัมพัทธ์ 2554;5.

15. เชื้อโชติ หังสสูต. การศึกษากระดูกใบหน้าและขากรรไกรหักในผู้ป่วย 612 ราย. วารสารศัลย์ช่องปากแม็กซิโลเฟเชียล; 2535:5:5-9.

16. เพียรชัย เธียรโชติ, ไพศาล กังวลกิจ. การบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกรและใบหน้าในโรงพยาบาลชลบุรี: การศึกษาผู้ป่วย 2,478 ราย. วารสารศัลย์ช่องปากแม็กซิลโลเฟเชียล ; 2546;17:99-106.

17. มัลลิกา สถิตนิรามัย.การหักของกระดูกขากรรไกรและใบหน้าในโรงพยาบาลสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551;2:26-73.

18. Tanaka N, Tomitsuka K, Shionoya K, et al. Aetiolgy of maxillary fracture. Br J Oral Maxillofac Surg 1994;32:19-23.

19. Sawhney CP, Ahuja RB. Faciomaxillary fracture in North India: a statistical analysis and review of management. Br J Oral Maxillofac Surg 1998;26:430-4.

20. Nair KB, Paul G. Incidence and etiology of fracture of the facio-maxillary skeleton in Trivandrum : retrospective study. Br J Oral Maxillofac Surg 1986;24:40-3

21. Zachariades N, Demetrius P. The pattern and aetiology of maxillofacial injuries in Greece :a retrospective study of 25 years and comparison with other countries. J Cranio-Max-Fac Surg 1990:18:251-4.

22. สมร บุญเกษม, ชนพงษ์ โรจนวรฤทธิ์, เสาวภา คันศร และ ศุภกาญจน์ ปุณกะบุตร. Incidence and etiology of maxillofacial trauma : A retrospective analysis of patients attending a provincial hospital in northern Thailand. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 2558:13:2:51-71.

23. Telfer MR. Jone GM, Shepherol JP. Trends in the aetiology of maxillo facial fractures in the united Kingdom (1977-1887). Br J Oral Maxillofac Surg 1991;29:250-5.

24. Socransky SS, Haffee AD, Smith C, Duff GW. Microbiological parameters associated with IL-1 gene polymorphisms in periodontitis patients. J Cin Periodontol 2000;27:810.

25. Haug RH, Prather JJ, Indresano AT. An epidemiologic surgery of facial fracture and coconmitant injuries. J Oral Maxillofac Surg 1990;48:926-32.

26. Fonseca RJ. Oral and maxillofacial surgery. Volume 3 Philadelphia: W.B. Saunders ; 2000:169-70.

27. สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, วารี วณิชปัญจพล, เพียง ใจ เจิมวิวัฒน์กุล, อารยา ประเสริฐชัย, ชฎาภรณ์ เปรมปรามอมร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจแบบบูรณาการ. วารสารกองการพยาบาล 2549;33:39-60.