ประสิทธิผลโปรแกรมการฝากครรภ์สำหรับวัยรุ่นเพื่อลดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

Main Article Content

สิรยา กิติโยดม
ศิราณี จามสิงห์คำ
พนิดา รัตนเรือง
กรรณิกา สุนทรเมือง
อรุโณทัย อินทรกำแหง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อการตั้งครรภ์ที่สำคัญต่อมารดาและทารกโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาจัดโปรแกรมฝากครรภ์สำหรับวัยรุ่นโดยการดูแลแบบองค์รวมแบบสหวิชาชีพ ทั้งด้านอารมณ์ความพร้อม ในการตั้งครรภ์ การช่วยเหลือปรับตัวต่อการตั้งครรภ์และให้ความรู้ส่งเสริมการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์และเตรียมความพร้อมต่อการเป็นมารดาวัยรุ่นตลอดการตั้งครรภ์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมฝากครรภ์สำหรับวัยรุ่นในการลดผลการตั้งครรภ์ ไม่พึงประสงค์เปรียบเทียบกับฝากครรภ์แบบอื่น
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบ Retrospective Cohort study
วิธีการศึกษา: ศึกษาในสตรีอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่มาคลอดบุตรระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555-30 กันยายน พ.ศ. 2557 แบ่งกลุ่มการศึกษาตามลักษณะการฝากครรภ์ โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สตรีวัยรุ่นฝากครรภ์โปรแกรมฝากครรภ์สำหรับวัยรุ่น และกลุ่มควบคุมได้แก่ สตรี วัยรุ่นฝากครรภ์แบบอื่น โดยเก็บข้อมูลจากแฟ้มประวัติและสมุดจดย่อคลอด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-square
ผลการศึกษา: พบสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นจำนวน 2,673 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.7 ชองสตรีที่มาคลอดบุตร ทั้งหมด เป็นสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นฝากครรภ์โปรแกรมฝากครรภ์สำหรับวัยรุ่น 399 ราย (ร้อยละ 14.9) ฝากครรภ์แบบอื่น 371 ราย (ร้อยละ13.8) พบสตรีวัยรุ่นฝากครรภ์ โปรแกรมฝากครรภ์สำหรับวัยรุ่นมีความเสี่ยงต่ำกว่าในการเกิดคลอดก่อนอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ 0.46(0.25-0.85) คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ 0.69(0.47-0.99) ทารก น้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม 0.31 (0.09-0.92) การใช้หัตถการช่วยคลอด 0.67 (0.47-094) เมื่อเทียบกับการฝากครรภ์แบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบความ แตกต่างการเกิดภาวะซีดและภาวะทารกพร่องออกซิเจน
สรุป: โปรแกรมฝากครรภ์สำหรับวัยรุ่นโดยดูแลสตรีวัยรุ่นแบบองค์รวมในโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมาพบว่ามีประสิทธิผลในการลดผลการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้แก่ ภาวะ คลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกน้ำหนักตัวน้อย และการใช้หัตถการช่วยคลอด ซึ่งสามารถ นำแนวทางการดูแลนี้ไปพัฒนาระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในระบบสาธารณสุข ประเทศไทยต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. WHO. Definitions, in Adolescent Pregnan­cy. Department of Reproductive Health and Reseach World Health Organization Geneva. 2004:5.

2. Jeha D, Usta I, Ghulmiyyah L, Nassar A. A review of the risks and consequences of adolescent pregnancy. J Neonatal- Perinat Med 2015;18:17;8:1:1-8.

3. Kitiyodom S. Maternal youth and pregnancy outcomes: Early and middle adolescent versus late adolescent compared with women beyond the teen years. Maharat Nakhon Ratchasima Hospital med bull. 2013;7(16):62-74.

4. Siegel RS, Brandon AR. Adolescents, pregnancy, and mental health. J Pediatr Adolesc Gynecol. 2014;27(3):135-50.

5. Gupta N, Kiran U, Bhal K. Teenage preg­nancies : Obstetric charcteristics and outcome. European Journal of obstetrics & Gynecology and Reproductive Biology 2008;137:165-71.

6. Ikeanyi EM, Ibrahim Al. Does antenatal care attendance prevent anemia in preg­nancy at term?. Niger J Clin Pract. 2015;18(3):323-7.

7. Lawn JE, Gravett MG, Nunes TM, Rubens CE, Stanton C. Global report on preterm birth and stiilbirth (lof 7): definitions, description of the burden and opportu­nities to improve data. BMC Pregnancy Childbirth. 2010;10 suppll:Sl.

8. Martin JA, Osterman MJ; Centers of Disease Control and Prevention (CDC). Preterm births-United States, 2006 and 2010. MMWR Surveill Summ. 2013; 62 Suppl 3:136-8.

9. Alexander GR, Kogan M, Bader D, Carlo W, Allen M, Mor J. US birth weight/ gestaional age-specific neonatal mortal­ity: 1995-1997 rates for whites, Hispanics, and blacks. Pediatrics. 2003;111(1):e61-6.

10. Hollowell J, Oakley L, Kurinczuk JJ, Brocklehurst p, Gray R. The effectiveness of antenatal care programmes to reduce infant mortality and preterm birth in socially disadvantaged and vulnerable women in high-income countries: a systematic review. BMC Pregnancy Childbirth. 2011;11:13.

11. Quinlivan JA, Evans SF. Teenage antena­tal clinics may reduce the rate of preterm birth: a prospective study. BJOG. 2004;111:6:571-578.

12. Sukhato K, Wongrathanandha C, Horsu- wansak P, Anothaisintawee T. Effective­ness of psychosocial intervention for teenage pregnancy on low birth weight and preterm birth outcomes: a systemic review and meta-analysis. BMC Health Services Research. 2014;14:S2:120.

13. American College of Obstetricians and Gynecologists. Perinatal care at the threshold of viability. ACOG Practice Bulletin 38. American College of Obste­tricians and Gynecologists. Washington DC 2002.