กรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานเป็นรายกรณีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทาง การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยู่ในภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลันและฉุกเฉินโดยนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนให้การดูแลเพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วย ป้องกันการเกิดภาวะ แทรกซ้อน และลดความรุนแรงของโรค ตลอดจนให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเอง ในการดำรงชีวิตอย่างปลอดภัยได้ต่อไป โดยกรณีศึกษาคือ ผู้ป่วยชายไทย คู่ อายุ 60 ปี เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน และให้ประวัติว่ารักษาโรคไตวายเรื้อรังที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ได้ให้การดูแลผู้ป่วยที่คลินิกเบาหวาน และติดตามดูแลที่หอผู้ป่วยอายุกรรมชาย ระหว่าง วันที่ 6-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ประวัติการเจ็บป่วย 20 วันก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยมีอาการปวดท้องที่บริเวณลิ้นปี่ 2 วันก่อนมาโรงพยาบาลมีไข้สูง ไอ มีเสมหะตลอด ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน ความดันโลหิตต่ำ มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จึงส่งต่อมายังโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และผลเอกซเรย์แพทย์ วินิจฉัยว่าเป็น Diabetes Mellitus Type 2, Hypertension, Chronic renal failure, septic shock, hypokalemia, hyponatremia, dizziness, pneumonia ในระหว่าง ที่รับผู้ป่วยไว้ในความดูแลผู้ป่วยมีปัญหาดังนี้ ปริมาณเลือดออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง เนื่องจากมีภาวะ septic shock มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ปวดท้อง มีภาวะ Hypokalemia มีภาวะน้ำเกินจากไตเสียหน้าที่ การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงเนื่องจากจากภาวะ ปอดอักเสบ เลี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายลดลงและมีการ สอดใส่อุปกรณ์เข้าไปในร่างกายและมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางเนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ผู้ป่วยและญาติมีภาวะวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและ การรักษาพยาบาล หลังให้การพยาบาลผู้ป่วย รู้สึกตัวดีถามตอบรู้เรื่อง หายใจไม่หอบ สัญญาณชีพปกติ รับประทานอาหารได้ ปัสสาวะออกดี ยังมีปัญหาเรื่องภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลทั้งหมด 6 วัน อาการทุเลา แพทย์จึงจำหน่าย และนัดมาพบอีก 1 สัปดาห์
สรุป: การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในระยะเฉียบพลันและฉุกเฉิน ต้องให้ความสนใจเอาใจใส่ในการประเมินสภาพ ค้นหาปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยต้องเข้าใจวิธีปฏิบัติตน และเคร่งครัดต่อการรักษาสุขภาพ เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่กับครอบครัวได้อย่างมี ความสุข
Article Details
References
2. WORLD DIABETES DAY 2014. [online], [Cited 2015 JUL 6]; Available from : URL: ที่มา: https://www.idf.org/worlddiabetes-day/current-campaign.
3. DIABETES IMPACT ON THAILAND.The diabetes epidemic and its impact on Thailand, .[online].[Cited 2015 JUL 7] ; Available from: URL: ที่มา: https://www.changingdiabetesthailand.com/diabetes- impact.php.
4. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 กระทรวงสาธารณสุข.
5. อมรา ทองหงษ์ Annual Epidemiological Surveillance Report 2012.[online].[Cited 2015 JUL 6] ; Available from : URL: ที่มา: https://boe.moph.go.th/.
6. สำนักโรคไม่ติดต่อ ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. [ออนไลน์]เข้าถึงได้จาก: https://www.thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php. วันที่ค้นข้อมูล 6 กรกฎาคม 2558.
7. คณาจารย์สถาบันพระบรมราชชนก. การ พยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : ยุทธรินทร์การพิมพ์ ;2557.
8. ผ่องศรี ศรีมรกต, บรรณาธิการ. การพยาบาล ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพรส; 2553.
9. วิจิตรา กุสุมภ์และคณะ. กระบวนการพยาบาลและข้อวินิจฉัยการพยาบาลการนำไปใช้ในคลินิก.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์; 2554.
10. รังสรรค์ ภูรยานนทชัย. การควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดในผู้ป่วยวิกฤต. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549;24:4
11. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและสำนักนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์; 2557
12. เทพ หิมะทองคำ, วัลลา ตันตโยทัย, พงศ์อมร บนนาค, ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์, สุนทรี นาคะเสถียร. รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและน้ำตาลในเลือดสูง : Situation Analysis and Literature Review on Diabetes Mellitus and High Blood Sugar; 2547.