การพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็กเพื่อลดความขัดแย้งทางการแพทย์ งานบริการสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลการศึกษา: ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายที่ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2553 – 2555 จังหวัดศรีสะเกษส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยด้านสูติกรรม และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายของผู้ป่วยด้านสูติกรรม จึงมีความจำเป็นที่สร้างประโยชน์แก่ผู้รับบริการ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการงานอนามัยแม่และเด็กของจังหวัดศรีสะเกษ
สถานที่ทำการศึกษา: โรงพยาบาล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษจำนวน 22 แห่ง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ประกอบด้วยกิจกรรมการวิจัยที่สำคัญ4ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (Planning) 2) ลงมือปฏิบัติการตามแผน(Action) 3) สังเกตการณ์ (Observation) และ 4) สะท้อนกลับ (Reflection) รวบรวมข้อมูลในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 22 แห่ง ดำเนินการระหว่าง ปีงบประมาณ 2556 ถึงปีงบประมาณ 2559
ผลการศึกษา: ผลลัพธ์การดำเนินการในปีงบประมาณ 2556-2557 พบว่าผู้รับบริการทางด้านสูติกรรมได้รับการดูแลผ่านกระบวนการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กตามชุดโปรแกรมที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็กระดับจังหวัดและอำเภอ Maternal Child Health Board (MCH Board) และผู้รับบริการที่ได้รับการพิจารณาช่วยเหลือตามมาตรา 41ด้านสูติกรรม กรณีทารกคลอดแล้วยกแขนไม่ขึ้นลดลงแต่ลูกตาย แม่ตาย ตกเลือดหลังคลอด เพิ่มมากขึ้น ในปี 2558 MCH Board จึงได้ทบทวนและพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กอีกรอบหนึ่ง ผลลัพธ์เมื่อเปรียบเทียบปัญหาความขัดแย้งทางการแพทย์ด้านสูติกรรมที่ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 ปี2559 กับปี 2555 ก่อนที่ผู้รับบริการจะได้รับการดูแลตามชุดโปรแกรมที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็ก พบว่าผู้รับบริการที่ได้รับการดูแลตามชุดโปรแกรมที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็ก ได้รับการพิจารณาช่วยเหลือตามมาตรา 41 จากเดิมปี 2555 ลดลงร้อยละ 8.2
สรุป: ผลของการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการความขัดแย้งด้านการแพทย์งานอนามัยแม่และเด็ก เพื่อเป็นข้อมูลด้านบริหารในการกำหนดนโยบายในการดำเนินการตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นและขยายผลในเครือข่ายบริการต่อไป โดยพบว่า ผู้รับบริการทางด้านสูติกรรมที่ได้รับการดูแลตามชุดโปรแกรมที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็กจังหวัดศรีสะเกษในปี 2559 ที่มีความขัดแย้งได้รับการพิจารณาช่วยเหลือตามมาตรา 41 ลดลง
Article Details
References
2. งานเวชสถิติ 2553-2557. สถิติงานอนามัยแม่และเด็ก. ศรีสะเกษ : สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ; 2557.
3. Kemmis, S. McTaggart, R. Participatory Action Research Communicative Action and the Public Sphere. In Denzin, N. and Lincoln, Y., Eds., The Sage Handbook of Qualitative Research, 3rd. ed. London : Sage, Thousand Oaks; 2005:559 -603.
4. ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. กฎหมายสุขภาพและการรักษาพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2555.
5. อนุชา กาศลังกา. การศึกษาปัญหาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้องเนื่องจากการรักษาพยาบาล. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2555;9:57-61.
6. นุชนารถ เทพอุดมพร, บรรพต ต้นธีรวงศ์, โชติช่วง ทัพวงศ์. ระบบการจัดการความขัดแย้งด้านการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลภาครัฐระดับจังหวัด. วารสารวไลอลงกรณ์ปริทัศน์ 2555;2:11-25.