เทคนิคในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนท้อง ด้วยการตั้งค่าความต่างศักย์ต่ำกระแสสูง เพื่อวินิจฉัยมะเร็งตับปฐมภูมิ

Main Article Content

ธนสมบัติ วนาพันธพรกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: Hepatocellular carcinoma (HCC) เป็นมะเร็งตับชนิดปฐมภูมิที่พบบ่อย ภาพรังสีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในเฟสหลอดเลือดแดงที่มี Arterial enhancement หรือค่า Contrast-to-noise ratio (CNR) สูงจะทำให้วินิจฉัย โรคมะเร็งตับปฐมภูมิแม่นยำมากขึ้นถึงร้อยละ 10 การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษา เทคนิคการตั้งค่าความต่างศักย์ต่ำกระแสสูง เปรียบเทียบเทคนิคเดิม โดยมีเป้าหมายเพื่อการสร้างภาพที่มีค่า CNR มากขึ้นรวมทั้งลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ
ระเบียบวิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มารับการตรวจที่กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสุรินทร์ ในช่วง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 โดยเก็บข้อมูล เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ ค่า CNR ขนาดของก้อน ตำแหน่งของก้อน ผลการวินิจฉัย ระดับซีรั่ม Alfa-fetoprotein (AFP) โดย สืบค้นจากฐานข้อมูลโรงพยาบาล นำข้อมูลพื้นฐานจากทั้ง 2 วิธีมาปรับให้มี ค่าไม่แตกต่างกันด้วยสถิติ Propensity score matching (PSM) แล้วเปรียบ เทียบตัวแปรตามด้วยสถิติ t test รวมถึงศึกษาปัจจัยที่ทำให้ช่วยในการวินิจฉัย ภาวะ HCC ด้วยสถิติ Logistic regression
ผลการศึกษา: จากข้อมูลผู้ป่วยจำนวน 152 คน เมื่อนำมาปรับค่าตัวแปรต้นด้วย PSM คงมีผู้เข้ารับการศึกษากลุ่มละ 33 คน แต่ยังคงมีตัวแปรต้นที่ยังมีความแตกต่าง กันหลังใช้ PSM คือ ตำแหน่งของก้อนเนื้องอก (p-value=0.012) ทั้งนี้ค่า CNR ของภาพรังสีมะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCCในเฟสหลอดเลือดแดงจากการ ตรวจด้วยเทคนิคใหม่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 96.70 ส่วนในการตรวจด้วยเทคนิค เดิมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 76.33 ซึ่งเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 26.69 (p-value =0.0452) ส่วนปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจด้วยเทคนิคเดิมมีค่า 6.59 มิลลิซี เวิร์ต เปรียบเทียบกับปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจด้วยเทคนิคใหม่ มีค่าลดลงเหลือเพียง 3.50 มิลลิซีเวิร์ต โดยลดลงร้อยละ 46.89 (p-value<0.001) และพบว่า ค่า CNR ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยในการวินิจฉัยภาวะ HCC อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.025)
สรุปผล: เทคนิคการตั้งค่าความต่างศักย์ต่ำกระแสสูงสร้างภาพ HCC ที่มีค่า CNR ได้มากกว่าเทคนิคเดิมซึ่งช่วยในการวินิจฉัยภาวะ HCC และสามารถลดปริมาณ รังสีที่ผู้ป่วยได้รับในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Sherman M. The radiological diagnosis of hepatocellular carcinoma. American Journal of Gastroenterology 2010; 105:610-2.
2. Bruix J, Sherman M. Management of hepatocellular carcinoma: an update. Hepatology 2011; 53:1020-2.
3. Oliver JH, Baron RL, Federle MP, Rockette HE., Jr Detecting hepatocellular carcinoma: value of unenhanced or arterial phase CT imaging or both used in conjunction with conventional portal venous phase contrast- enhanced CT imaging. AJR Am J Roentgenol. 1996; 167:71-7.
4. Baron RL, Oliver JH, Dodd GD, Nalesnik M, Holbert BL, Carr B. Hepatocellular carcinoma: evaluation with biphasic, contrast-enhanced, helical CT. Radiology. 1996; 199:505-11.
5. Huda W, Ogden KM, Khorasani MR. Converting dose-length product to effective dose at CT. Radiology 2008; 248:995-1003.
6. Marin D, Nelson RC, Samei E, Paulson EK, Ho LM, Boll DT et al. Hypervascu- lar liver tumors: low tube voltage high tube current multidetector CT during late hepatic arterial phase for detection. Radiology June 2009; Volume 251: Number 3.
7. Nakaura T, Awai K, Oda S, Funama Y, Harada K, Uemura S, et al. Low- kilovoltage, high-tube-current MDCT of liver in thin adults: pilot study evaluating radiation dose, image quality, and display settings. AJR. 2011; 196:1332-8.
8. Waaijer A, Prokop M, Velthuis BK, Bakker G, Kort GA, Leeuwen MS. Circle of willis at CT angiography: dose reduction and image quality-reducing tube voltage and increasing tube current settings. Radiology 2007; 242:832-9.
9. Nakayama Y, Awai K, Funama Y, Hatemura M, Imuta M, Nakaura T, et al. Abdominal CT with low tube voltage: preliminary observations about radiation dose, contrast enhancement, image quality, and noise. Radiology 2005; 237:945-951.