การศึกษาระยะเวลาการเริ่มออกฤทธิ์ของยาชาในการระงับความรู้สึก โดยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นเทียบกับสตรีตั้งครรภ์วัยเจริญพันธุ์

Main Article Content

กรกนก เฮงสวัสดิ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: สตรีตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่นถือเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งพบอุบัติการณ์การเกิด ภาวะอุ้งเชิงกรานแคบจากการเจริญที่ยังไม่เต็มที่ ซึ่ง spinal curvature เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่มีผลต่อการกระจายของยาชาในช่องไขสันหลังและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน หลังให้ยาชาเข้าช่องไขสันหลัง
วัตถุประสงค์: ศึกษาระยะเวลาการเริ่มออกฤทธิ์ของยาชาในช่องไขสันหลังในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น เปรียบเทียบกับสตรีตั้งครรภ์วัยเจริญพันธุ์
สถานที่ทำการศึกษา: โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาแบบสังเกตไปข้างหน้า (Prospective Observational study)
วิธีการศึกษา: หลังจากได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยโรงพยาบาลบุรีรัมย์ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาในผู้ป่วยสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ามารับการผ่าตัดในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ทั้งหมด 119 ราย ที่ใช้การระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชา เข้าช่องไซสันหลัง โดยศึกษาระยะเวลาที่ไช้ในการกระจายของยาชาในช่องไขสันหลัง จนถึงระดับกระดูกสันหลังอกที่ 4 และอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนช่วงระหว่าง และหลังระงับความรู้สึกโดยวิสัญญีแพทย์ไม่ทราบอายุของผู้ป่วยและให้วิสัญญี พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเป็นผู้ประเมินระดับการชา
ผลการศึกษา: มีจำนวนผู้ป่วยในการศึกษาทั้งสิ้น 119 ราย โดยเป็นกลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น 16 ราย ร้อยละ 13.4 กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ปกติ 103 รายร้อยละ 86.6 ข้อมูลพื้นฐานคือนํ้าหนัก ส่วนสูง ข้อบ่งซี้การผ่าตัดคลอด ปริมาณยาที่ใช้ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการกระจายของยาซาในช่องไขสันหลังจนถึงระดับกระดูกสันหลังอกที่ 4 ในสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ๒= 0.816) แต่พบว่าความเร็วในการกระจายของยาชาในช่องไขสันหลังของ กลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นเร็วกว่าสตรีตั้งครรภ์วัยเจริญพันธุ์[นนาทีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p=0.024) ภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังระงับความรู้สึกโดยการฉีดยาชา เข้าช่องไขสันหลังทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ระยะเวลาที่ใช้ในการกระจายของยาชาในช่องไขสันหลังในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นไม่ต่างจากกลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยเจริญพันธุ์ส่วนความเร็วในการกระจายของยาชาในช่องไขสันหลังของกลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นเร็วกว่าสตรีตั้งครรภ์วัยเจริญพันธุ์ในนาทีแรก แต่ไม่ทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังระงับความรู้สึกที่แตกต่างกัน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Butterworth JF, Mackey DC, Wasnick JD. Morgan andMikhail’s Clinical anesthesiology. 5th ed. United States of North America : McGraw-Hill; 2013:p.966-7.

2. Hocking Q,Wildsmith JAW. Intrathecal drug spread. British Journal of Anaesthesia 2004;93:568-78.

3. ณหทัย วัชระเศรณี. การศึกษาอุบัติการณ์ การตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลชลบุรี. J Med Assoc Thai 2006;89:Suppl 4:S118-23.

4. Haeri, S, Baker AM. Estimating the impact of pelvic immaturity and young maternal age on fetal malposition. Ach Gynecol Obstet 2012;286:3:581-4.

5. Butterworth JF, Mackey DC, Wasnick JD. Morgan and Mikhail’s Clinical anesthesiology. 5th ed. United States of North America : McGraw-Hill; 2013:p.948-62.

6. Mayo Clinic staff. Low blood pressure (hypotension) Definition. MayoClinic. com. [Cited 2009-05-23.] Available from :URL:https://www.mayoclinic.org/ diseases-conditions/low-blood-pressure/ basics/definition/con-20032298.

7. Dunham CM, Hileman BM, Hutchinson AE, Chance EA, Huang GS. Perioperative hypoxemia is common with horizontal positioning during general anesthesia and is associated with major adverseoutcomes: a retrospective study of consecutive patients. BMC Anesthesiol 2014;9:14:43.

8. Srivastava U, Kumar A, Gandhi NK, Saxena S, Dutta D, Chandra P, Singh S. Hyperbaric of plain bupivacaine combined with fentanyl for spinal anaesthesia during caesarean delivery. Indian J. Anaesth 2004;48:l:44-6.

9. Chumpathong S, Chinachoti T, Visalyaputra S, Himmunngan T. Incidence and risk factors of hypotension during spinal anesthesia for cesarean section at Siriraj hospital. J Med Assoc Thai 2006;89:10:1127-32.

10. Naz F, Khan S, Begum A, Malik M, Zareen A. Complications of spinal anesthesia in caesarean section. Pak J Med Health Sci 2010;4:3:277-80.

11. Siriussawakul ATriyasunant N, Nimmannit A Ngerncham S, Hirunkanokpan P, Luang- Aram S, et al. Clinical study: Effects of Supplemental Oxygen on Maternal and Neonatal Oxygenation in Elective Cesarean Section under Spinal Anesthesia: A Randomized Controlled Trial. BioMed Research International 2014, Article ID 627028, 6 pages. Available from: URLhttps://dxdoi.org/10.1155/2014/627028