การศึกษาภาวะซักในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) เป็นภาวะการทำงานที่ผิดปกติของเยื่อบุหลอดเลือด (endothelial malfunction) และการหดตัวของหลอดเลือด (vasospasm) ทำให้มีความดัน โลหิตสูงใหม่ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะเกิดขึ้นภายหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ร้อยละ 25 เป็นชนิดรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงคือภาวะชัก (eclampsia) ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง (Severe preeclampsia) และภาวะซัก (Eclampsia) เป็นสาเหตุ การตายสามอันดับแรกของมารดาทั่วโลกโดยเฉพาะในสตรีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง ที่มีภาวะซักในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงมารับการรักษาปีงบประมาณละ 200 ถึง 300 ราย การศึกษาภาวะซักในสตรีที่มีภาวะ ครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงเพื่อทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นลักษณะการซักและภาวะแทรกซ้อน สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและ ครรภ์เป็นพิษต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และลักษณะสตรีตั้งครรภ์ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีภาวะซักและมารับการ รักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบ retrospective hospital-based descriptive study
วิธีการศึกษา: โดยรวบรวมรายงานย้อนหลัง จากข้อมูลบันทึกฝากครรภ์ บันทึกย่อคลอด ทะเบียนประวัติ จากเวชระเบียนโรงพยาบาลของสตรีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงที่มีภาวะซักทุกราย ที่มารับการ รักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2554 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2556
ผลการศึกษา: พบสตรีที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง 734 ราย มีภาวะซัก 31 รายคิดเป็นอุบัติการณ์ 15.4 ราย ต่อสตรีที่มาคลอดบุตร 10,000 ราย เป็นสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นร้อยละ 54.8 ตั้งครรภ์แรกร้อยละ 74.2 อายุครรภ์ก่อนกำหนดร้อยละ 67.7 ภาวะนํ้าหนักเกินมาตรฐาน (BMI>25) ร้อยละ 61.3 พบร้อยละ 93.5 มีอาการปวดศีรษะก่อนมีอาการซัก และ 2 รายไม่พบโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ซึ่งเป็นเกณฑ์ชั้นตํ่าของการวินิจฉัยครรภ์เป็นพิษสตรีที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษพบ 16 รายมีการซักซํ้า พบการชักที่โรงพยาบาลหลังให้ยาแมกนีเซียมซัลเฟตจำนวน 14 ราย โดยทุกรายมีระดับ แมกนีเซียมตํ่ากว่าระดับการรักษา (Sub therapeutic level) ซึ่งร้อยละ 85.7 มีภาวะนํ้าหนัก เกินเกณฑ์มาตรฐาน (BMI > 25) พบสตรีที่มีภาวะซักเสียชีวิต 1 รายจากเลือดออกในสมอง ไม่พบทารกตายในครรภ์ และทารกของสตรีครรภ์เป็นพิษที่มีภาวะซักมีภาวะน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 67.7
สรุป: ภาวะซักในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีอุบัติการณ์ไม่สูงมาก แต่พบผลการตั้งครรภ์ไม่พิงประสงค์รุนแรง อาทิเซ่น สตรีตั้งครรภ์เสียชีวิต ทารกมีภาวะ นํ้าหนักตัวน้อย
Article Details
References
2. Sibai BM. Magnesium sulfate prophylaxis in preeclampsia: Lessons learned from recent trials. Am J Obstet Gynecol 2004;190:6:1520-6.
3. Diagnosis and management of preeclampsia and eclampsia. ACOG Practice Bulletin No. 33. American College of Obstetricians and Gynecologists. Obstet Gynecol 2002;99:159-67.
4. Siabai BM, Abdella TN, Spinnato JA, Anderson GD. Eclampsia. V. The incidence of nonpreventable eclampsia. Am J Obstet Gynaecol 1986;154: 581-6.
5. Ngoc NT, Merialdi M, Abdel-Aleem H, Carroli G, Purwar M, Zavaleta N, et al. Causes of stillbirths and early neonatal deaths: data from 7993 pregnancies in six developing countries. Bull World Health Organ 2006;84:9:699-705.
6. Liu S, Joseph KS, Liston RM, Bartholomew S, Walker M, Leon JA, et al. Incidence, risk factors, and associated complications of eclampsia. Obstet Gynecol 2011;118:5:987-94.
7. Thornton C, Dahlen H, Korda A Hennessy A. The incidence of preeclampsia and eclampsia and associated maternal mortality in Australia from population-linked datasets: 2000-2008. Am J Obstet Gynecol 2013;208(6):476.
8. Chinayon p. Clinical management and outcome of eclampsia at Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai 1998; 81:8:579-85.
9. Dekker GA, Sibai BM. Etiology and pathogenesis of preeclampsia: current concepts. Am J Obstet Gynecol 1998;179:1359-75.
10. Marti JJ, Hermann U. Immunogestosis: a new etiologic concept of “essential” EPH gestosis, with special consideration of the primigravid patient. Am J Obstet Gynecol 1977;128:489-93.
11. Liu CM, Chang SD, Cheng PJ. Relationship between prenatal care and maternal complications in women with preeclampsia: implications for continuity and discontinuity of prenatal care. Taiwan J ObstetGynecol 2012;51:4:576-82.
12. S Kitiyodom, P Tongswatwong. Pregnancy Outcomes of Parturients with Excessive-weight in Maharat Nakorn Ratchasima Hospital. Thai J Obstet Gynaecol 2008;16:214-20.
13. Ob-Gyns Issue Task Force Report on Hypertension in Pregnancy - ACOG [Internet], [cited 2014 Sep 20], Available from : URL:https://www.acog.org/About- ACOG/News-Room/News-Releases/ 2013/Ob-Gyns-lssue-Task-Force- Report-on-Hypertension-in-Pregnancy
14. Dekker GA, Sibai BM. Primary, secondary, and tertiary prevention of preeclampsia. The Lancet 2001;357:209-15.
15. Tudela CM, Mclntire DD, Alexnder JM. Effect of maternal body mass index on serum magnesium levels given for seizure prophylaxis. Obstet Gynecol 2013;121:314-20.
16. Quamme GA, Dirks JH. Magnesium metabolism. In: Narins RG, ed. Clinical disorders of fluid and electrolyte metabolism. 5th ed. New York : McGraw Hill; 1994: p.373.