การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI โรงพยาบาลมุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI เป็นโรคมีอัตราการตายสูง แต่ถ้าได้รับการดูแล รักษาที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพก็สามารถลดอัตราการตายได้ จากรายงานตัวชี้วัดของการดูแล ผู้ป่วยปีงบประมาณ 2555 พบว่า ผู้ป่วยได้รับการดูแลยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI โรงพยาบาลมุกดาหารและประเมินประสิทธิภาพการใช้แนวปฏิบัติฯ
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาและพัฒนา (Research and Development) ใช้ระยะเวลาตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2557 แบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษากระบวนการ ดูแลผู้ป่วยก่อนการสร้างแนวปฏิบัติพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI โรงพยาบาลมุกดาหาร (แนวปฏิบัติ) ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวปฏิบัติ ระยะที่ 3 การประเมิน ประสิทธิภาพการใช้แนวปฏิบัติ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 ราย พยาบาลผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา จำนวน 73 คน เครื่องมีอที่ใช้ศึกษาผ่านการ ตรวจสอบความตรงเซิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิค่าความตรงเซิงเนื้อหาเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์ Chi Squaretest, Fisher’s Exact Test .Independent t-test
ผลการศึกษา: ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น กลุ่มใช้แนวปฏิบัติมีระยะเวลาการเข้าถึงบริการตามเป้าหมายและการดูแลตามมาตรฐานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้าน Door to EKG จากร้อยละ 46.7 เป็นร้อยละ 100 (p < .01) ได้รับการซักประวัติจาก ร้อยละ 40 เป็น ร้อยละ 100 (p < .01 )การประเมินแรกรับและการพยาบาลเบื้องต้นจาก ร้อยละ 66.7 เป็น ร้อยละ 100 (p C.05) ขณะให้ยา Streptokinase มีการเฝ้าระวังจากร้อยละ 6.7 เป็นร้อยละ 80 (p <.01 ) และสังเกตภาวะแทรกซ้อน จากร้อยละ 26.7 เป็นร้อยละ 100 (p <.01 ) ความรู้ ความเช้าใจในการดูแลตนเองปานกลาง (ร้อยละ 74.1 ) พยาบาลมีความเห็นในระดับมากถึงมากที่สุดต่อการนำแนวปฏิบัติไปใช้ว่ามีความสะดวกร้อยละ 57.6 สามารถนำไปปฏิบัติได้ ร้อยละ 61.7 และความพึงพอใจในระดับมาก ร้อยละ 46.6
สรุป: การพัฒนาแนวปฏิบัติต้องอาศัยการมีส่วนร่วมชองผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติที่ เหมาะกับบริบทของโรงพยาบาล สามารถใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผล ให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่รวดเร็วปลอดภัยได้มาตรฐาน
Article Details
References
2. กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2553. กรุงเทพๆ : โรงพิมพ์องศ์การทหารผ่านศึกษา; 2553
3. เกรียงไกร เฮงรัศมี. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. นนทบุรี : สถาบันทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556
4. โรงพยาบาลมุกดาหาร. รายงานสถิติโรงพยาบาล มุกดาหาร ปี 2552 -2555. [computer program] ฐานข้อมูล HIS; 2556.
5. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลมุกดาหาร. รายงานกิจกรรมการทบทวนการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ปี 2555. [computer program] ฐานข้อมูล HIS ; 2556.
6. ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบติทางคลินิก Clinical Practice Guidelines Development. วารสารสภาการพยาบาล 2548:20:2:63-74.
7. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ; [online] 2549 [20 มีนาคม 2556], https://www.si.mahidoL.ac.th/th/division/ soqd/admin/news_files/360_l 8_l.pdf
8. National Health and medical Research Council. A guideline to the development, implementation and evaluation of clinical practice guideline. [online] 1998 [20 มีนาคม 2556], https://www.nhmrc.gov.au/_files_nhmrcypublications/ attach m ents/cp30. pdf.
9. จันทร์ทิรา เจียรณัย. คู่มือการเขียนวิจัยทางการพยาบาลและวางแผนการพยาบาล. นครราชสีมา : สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2553
10. กุลลดา เลียวเสถียรวงศ์. ผลลัพธ์การพัฒนาแบบแผนการดูแลรักษาแบบเร่งด่วน (Fast Track guideline) และการปรับปรุงระบบในหน่วยงาน สำหรับผู้ป่วย Acute coronary syndrome ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลนางรอง. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ Cardiac Network Forum ครั้งที่ 1: เครือข่ายหัวใจ ยิ้มได้; 22-23 มกราคม 2552; ณ โรงแรมพูลแมน จังหวัดขอนแก่น ; 2541.
11.สุรพันธ์ สิทธิสุข. แนวทางเวชปฏิบัติในการ ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย. ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพๆ : สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์; 2557
12. อภิชาต สุคนธสรรพ์. การใช้ยารักษา acute ST-elevation myocardial infarction : Cardiovascuscular drug. เชียงใหม่ : ไอแอม ออร์เกไนเซอร์แอนด์แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง; 2551
13. ดุจใจ ชัยวานิชศิริ. การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ. เวชศาสตร์ฟืนฟูสาร 2554;21;2:37-42.
14. พรวีนัส โสกัณทัต และคณะ .การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วย STEMI ของโรงพยาบาลเลย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ เครือข่ายหัวใจไร้พรมแดน Service plan 2014; 29-31 มกราคม 2557;ณโรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์. จังหวัดเชียงราย; 2557.
15. ระพีพันธ์ สุ่มหิรัญ, กุสุมา ดุจวัฒนสัมฤทธิ์, สุปรีดา มั่นคง. การทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเพื่อลดการเข้ามารักษาซํ้าใน โรงพยาบาลของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2552;20:1:17-32.