ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในครรภ์ครบกำหนด ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและ ทุพพลภาพของทารก การทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจน ของทารกแรกเกิด การดูแลมารดาและทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และ การช่วยเหลือทารกแรกเกิดอย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพของทารกได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ในครรภ์ครบกำหนด ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ นรีเวชกรรมฯ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสิมา
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบ retrospective hospital-based analytical study.
วิธีการศึกษา: ศึกษาทารกแรกเกิดในครรภ์ครบกำหนดที่มีภาวะขาดออกซิเจน ที่โรงพยาบาล มหาราช นครราชสิมา ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552ใช้เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด เมื่อทารกมีคะแนนแอปการ์ที่ 1 นาทีน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะขาดออกซิเจน ของทารกแรกเกิดโนครรภ์ครบกำหนดโดยใช้ multiple logistic regression
ผลการศึกษา: ทารกแรกเกิดมีชีพในครรภ์ครบกำหนดทั้งสิน 7,158 ราย พบทารกแรกเกิดในครรภ์ ครบกำหนดที่มีภาวะขาดออกซิเจน 315 ราย คิดเป็นอัตราขาดออกซิเจนของทารก แรกเกิดโนครรภ์ครบกำหนดเท่ากับ 44.0 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ ปัจจัยที่ส่งผล ต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในครรภ์ครบกำหนดอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติได้แก่ อายุมารดา 35 ปีขึ้นไป คลอดบุตรครั้งแรก การส่งรักษาต่อ ระยะที่ 1 ของการคลอดตั้งแต่ 8 ชั่งโมงขึ้นไป ระยะที่ 2 ของการคลอด มากกว่า 30 นาทีขึ้นไป การคลอดท่าก้นทางช่องคลอด การใช้เครื่องมือช่วยคลอด ทางช่องคลอด ภาวะมีขี้เทาในน้ำคร่ำทารกเพศชาย และการคลอดแบบไม่เจาะจง ผู้ทำคลอด
สรุป: อุบัติการณ์ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในครรภ์ครบกำหนดเท่ากับ 44.0 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารก แรกเกิดในครรภ์ครบกำหนด คือ อายุมารดา 35 ปีขึ้นไป คลอดบุตรครั้งแรก การส่งรักษาต่อ ระยะที่ 1 ของการคลอดตั้งแต่ 8 ชั่งโมงขึ้นไป ระยะที่ 2 ของการคลอดมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป การคลอดท่าก้นทางช่องคลอด การใช้เครื่องมือช่วยคลอดทางช่องคลอด ภาวะมีขี้เทาในน้ำคร่ำ ทารกเพศชาย และการคลอดแบบไม่เจาะจงผู้ทำคลอด
Article Details
References
Apgar V. Proposal for a new method of evaluation of newborn infants. Anesth Anal 1953; 32:260-7.
Drage JS, Kennedy c, Schwarz BK. The Apgar scores as an index of neonatal mortality. A report form collaborative study of cerebral palsy. Obstet Gynecol 1964; 24:222-30.
สุนทร อ้อเผ่าพันธุ . Defining the scope of perinatal asphyxia. ใน : สุนทร อ้อเผ่าพันธุ, บรรณาธิการ. Neonatology 2007. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส จำกัด; 2550 : หน้า 76-97.
World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems.l0th revision, 1993.
ตัวชี้วัดและเป้าหมายงานอนามัยแม่และเด็ก ประจำปี 2552. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
Milsom I, Ladfors L.Thiringer K, Nilelasson A, Odeback A, Thomberg E. Influence of maternal, obstetric and fetal risk factors on the prevalence of birth asphyxia at term in a Swedish Urban population.Acta Obstet Gynecol Scand 2002 ; 81: 909-17.
Thorngren-Jerneck K, Herbst A. Low 5-minute Apgar score: a population-based register study of 1 million term births. Obstet Gynecol. 2001 Jul;98(1):65-70.
ฐิติพร สิริวชิรชัย, อรวรรณ รุจิรกุล, บานเย็น แสนเรียน, ทัศนีวรรณ โพธิหนู. การขาดออกซิเจนของทารกแรกคลอดในโรงพยาบาลขอนแก่น.ว.ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิง แวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข 2543 ; 4 : 74-81.
Kolatat T, Vanprapar N, Thitadilok W. Perinatal asphyxia: multivariate analysis of risk factors. Journal of the Medical Association of Thailand 2000 ; 83(9) : 1039-44.
Berglund S, Grunewald C, Pettersson H, Cnattingius S. Risk factors for asphyxia associated with substandard care during labor. Acta Obstet Gynecol Scand 2010 ; 89(1) : 39-48.
ชาญ พานิชวัฒนะ, สุจินต ธรรมดี, เต็มดวง เข้มแข็ง,ประภาภรณ์ เลี้ยงเชื้อ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกคลอด ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์.วารสารแพทย์เขต 8 2543 ; 2-3 : 53-66.
Kovavisarach E, Juntasom C.Risk factor of delivery of low Apgar scores newborn below 7 at 1 minute : acase-control study. J med AssocThai. 1999; 82:660-5.
ลาวัลย์ ปัจจักขภัติ. 2545. ปัจจัยเสี่ยงทางสูติศาสตร์ต่อการเกิดคะแนน Apgar ต่ำกว่า หรือเท่ากับ 7 ที่หนึ่งนาทีหลังคลอดและผลกระทบที่มีต่อทารกครบกำหนดของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2545;16:21-33.
สุธิต คุณประดิษฐ์. สาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาวะขาดออกซิเจนในทารก แรกเกิดโรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน ปี 2540-2542 .ว.ส่งเสริมสุขภาพและอนามัย สิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข 2543 : 4 : 74-81.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กปี พ.ศ. 2545-2549. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
สถิติและรายงานประจำปี ห้องคลอด โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.
Hannah ME, Hannah WJ, Hewson SA, Hodnett ED, Saigal S, Willan AR. Planned caesarean section versus planned vaginal birth for breech presentation at term : a randomised multicentre trial. Term Breech Trial Collaborative Group. Lancet 2000 ; 21;356(9239):1375-83.
Su M, Hannah WJ, Willan A, Ross S, Hannah ME ; Planned caesarean section decreases the risk of adverse perinatal outcome due to both labour and delivery complications in the Term Breech Trial .BJOG 2004; 111(10) : 106574.
Vaginal delivery of breech presentation J Obstet Gynaecol Can.2009 Jun ; 31(6) : 557-66,567-78.
Bailit JL, Gregory KD, Reddy UM, et al. Maternal and neonatal outcomes by labor onset type and gestational age. Am J Obstet Gynecol 2010;202:245.e1-12.