ระดับน้ำตาลในเลือดและผลทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: เบาหวานเป็นเป็นโรคทางเมตาโบลิซึมที่เกิดจากระดับน้ำตาลโนเลือดสูงเป็น เป็นระยะเวลายาวนานเนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเกิดภาวะ ดื้อต่ออินซูลิน การวัดระดับน้ำตาลในเลือดยังเป็นวิธีที่สำคัญในการวินิจฉัยและ ควบคุมโรคเบาหวาน และมีหลักฐานถึงความสัมพันธ์ของระดับน้ำตาลในเลือดสูง สัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือด
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดและอาการทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่ม เบาหวานและเบาหวานร่วมกับโรคหัวใจและหลอดเลือด
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยเบาหวาน ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนางรอง ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2552 ถึง ธันวาคม พ.ศ.2552 โดยคัดเลือกผู้ป่วยทั้งชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ได้รับการวินิจฉัย ว่าเป็นเบาหวาน โดยมีระดับ FBS มากกว่า 126 mg/dl หรือ ทำ OGTT ระดับน้ำตาลที่เวลา 2 ชั่วโมงมากกว่า 200 mg/dl หรือ ตรวจเลือดพบน้ำตาล มากกว่า 200 mg/dl ร่วมกับมิอาการของเบาหวาน ไม่คัดเลือกผู้ป่วยที่พบสาเหตุ อื่นของเบาหวาน เบาหวานจากการตั้งครรภ์ หรือมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง เช่น มะเร็งระยะสุดท้าย, ไตวาย, ตับวาย, หัวใจวาย, โรคหลอดเลือดสมอง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ศึกษา 50 คน พบกลุ่มเบาหวาน 30 คน โดยมีระดับน้ำตาล FBS และ HbAlc ต่ำกว่ากลุ่มโรคเบาหวานร่วมกับโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งมีจำนวน 20 คน แต่ทั้ง 2 กลุ่มมีระดับน้ำตาล FBS และ HbAlc สูงกว่าค่าปกติทั้ง 2 กลุ่ม อายุเฉลี่ยของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ 60.56 ปี กลุ่มเบาหวานร่วมกับโรคหัวใจและ หลอดเลือด อายุเฉลี่ยที่ 57.75 ปี การนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลของกลุ่มผู้ป่วย เบาหวานร่วมกับโรคหัวใจและหลอดเลือดพบมากกว่า สาเหตุจากน้ำตาลในเลือดสูง และเจ็บหน้าอก
สรุปผลการศึกษา: ระดับน้ำตาลในเลือด FBS ยังถือว่าเป็นค่าสำคัญที่ใช้ในการวินิจฉัยและติดตาม ผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน การควบคุมเบาหวานได้เหมาะสมจะช่วยลดอัตราตาย ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
Article Details
References
Adeghate E.Schattner P.Dunn E.An update on the etiology and epidemiology of Diabetes mellitus.In: Adeghte, Saadi H. Adem A.Obineche E, editors. Diabetes Mellitus and its complication: molecular mechanisms, epidemiology and clinical Medicine. Ann NY Acad Sci 2006;1084:1-29
ธิติ สนับบุญ. ระบาดวิทยาของโรคเบาหวาน. ใน:ธิติ สนับบุญ, วราภณ วงส์ถาวรรัตน์ (บรรณาธิการ).การดูแลเบาหวานแบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549. หน้า 25-32
American Diabetes Association,Standards of medical care in diabetes 2009. Diabetes Care 2009;32:Suppl 1:S13-S61
The artherosclerosis Risk in Communities (ARIC) Study: design and objectives. Am J epidemiol 1989;129:687-702
Rohlfing C. Wiedmeyer HM, Little R, et al. Biological variation of glycohemoglobin . Clin Chem 2002;48:1116-1118
Chobanian AV.Bakris Gl, Black HR, Cushman WC, Green LA.Izzo JL Jr et al. The Seventh report of the joint national committee cm prevention,detection, evaluation and treatment of high blood pressure:The JNC 7 Report.JAMA 2003;289(19):2560-72
The Expert Committee on the Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus: Follow-up report on the diagnosis of diabetes mellitus.Diabetes Care 2003;26:3160-7
Selvin E. Crainiceanu CM, Brancati FL, Coresh J.Short-term variability in measures Of Glycemia and implications for the classification of diabetes. Arch Intern Med 2007;167:1545-51
Arauz-Pacheco C,Parrott MA, Raskin P.(ADA) Hypertension management in adults with diabetes.Diabetes Care. 2004 Jan ; 27 Suppl l:S65-7
Sowers JR.Treatment of hypertension in patients with diabetes.Arch Intern Med. 2004 Sep 27 ;164(17):1850-7