การรับเของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลบุรีรัมย์เกี่ยวกับประโยชน์ของข้อมูล ในใบ Anesthetic Record เพื่อนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ไม่เคยมีการสำรวจการรับรู้ของพยาบาลวิซาชีพเกี่ยวกับ ประโยชน์ของข้อมูลในใบ anesthetic record มาก่อน ซึ่งในทางปฏิบัติข้อมูล ดังกล่าวใช้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์:
1) ศึกษาการรับรู้ความเข้าใจของพยาบาล เกี่ยวกับการบันทึกรายละเอียดในใบ anesthetic record
2) ศึกษาประโยชน์ของการบันทึกรายละเอียดในใบ anesthetic record ต่อการนำไปใช้ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนระดับการรับรู้ ความเข้าใจ ระหว่างพยาบาล วิชาชีพที่มีประสบการณ์ทำงานหอผู้ป่วยที่ต่างกันเกี่ยวกับการบันทึกรายละเอียดในใบ anesthetic record
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มแบบเจาะจงจากพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดและหอผู้ป่วยทั่วไปโนโรงพยาบาลบุรีรัมย์จำนวน 227 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ ความเข้าใจ และ ประโยชน์ของการบันทึกรายละเอียดในใบ anesthetic record ในการนำไปใช้ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
ผลการศึกษา: พบว่าการรับรู้ ความเข้าใจและประโยชน์ของการบันทึกรายละเอียดในใบ anesthetic record ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยเรื่อง การบันทึกปริมาณเลือดและส่วนประกอบของเลือดที่ผู้ป่วยได้รับทั้งหมดระหว่าง ผ่าตัด และการบันทึกปริมาณสารน้ำและชนิดของสารน้ำที่ผู้ป่วยได้รับทั้งหมด ระหว่างผ่าตัดมีระดับคะแนนสูงสุด (คะแนนการรับรู้ ความเข้าใจ 3.90 + 0.92 และคะแนนความมีประโยชน์ 4.08 ± 0.96) ส่วนเรื่องความชัดเจนของลายมือ ผู้บันทึก, ความครบถ้วนของเนื้อหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัด และการบันทึกรายละเอียดของเทคนิคการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป (ดมยาสลบ), ได้แก่ขนาดของท่อช่วยหายใจที่ใช้, ความสึกของท่อช่วยหายใจ, จำนวนครั้งหรือความยากง่ายในการใส่ท่อช่วยหายใจ (กรณีที่ผู้ป่วยต้องใส่ท่อช่วยหายใจกลับ ward) มีระดับคะแนนต่ำสุด (คะแนนการรับรู้ ความเข้าใจ 3.30 ± 1.16 และคะแนนความมีประโยชน์ 3.80 ± 1.10) การบันทึกรายละเอียดในใบ anesthetic record พยาบาลวิชาชีพเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานสูงกว่าการรับรู้ ความเข้าใจในทุกด้าน, ประสบการณ์ทำงาน พบว่าการรับรู้ ความเข้าใจ กับ ประโยชน์ การนำไปใช้ ในทุกๆ ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, พยาบาล วิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมีการรับรู้ ความเข้าใจ และ ประโยชน์ของการนำไปใช้ สูงกว่า พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ได้ดูแล ผู้ป่วยหลังผ่าตัด (เช่น อายุรกรรม, กุมารเวชกรรม, สงฆ์อาพาธ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผลการศึกษาถึงแม้จะพบว่าการรับรู้ ความเข้าใจ ประโยชน์การนำรายละเอียด การบันทึกในใบ anesthetic record ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จะสูงในทุกด้าน แต่ควรปรับปรุงในด้านที่มีคะแนนระดับต่ำ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางจัดอบรมให้ความรู้แก่พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งควรจะเน้น ในเรื่องการส่งต่อข้อมูลเพิ่มขึ้นเพี่อให้การดูแลพยาบาล ผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นต่อไป
Article Details
References
ธวัช ชาญชญานนท์. การจัดการคุณภาพ : สิ่งที่ต้องรู้และควรทำ. ใน : ชัชชัย ปรีชาไว, นลินี โกวิทวนาวงษ์, ธิดา เอื้อกฤดาธิการ, คณะบรรณาธิการ. Anesthesia : Quality Safety and New Concepts Management, สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์ ; 2549. หน้า. 1-36
Fisher JA, Bromberg IL, Eisen LB. Special Article : on the design of anesthesia record forms. Can J Anaesth 1994 ; 41(10): 973-83.
Devitt JH, Rapanos T, Kurrek M, Cohen MM, Shaw M. The anesthetic record : accuracy and completeness. Can J Anaesth 1994 ; 46 (2) : 122-8 .
Raff M James M . An audit of anesthetic record keeping. Southern African of Anesthesia & Analgesia 2003 : 7-9 .
Vigoda MM, Lubarsky DA. Failure to Recognize loss of Incoming Data in an Anesthesia Record-Keeping System May Have Increased Medical Liability. Anesth Analg 2006 ; 102 : 1798-802 .
เกรียงศักดิ์ ตรียานนท์. ตำราโรคหัวใจและหลอดเลือด : การพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เล่ม 4 (ออนไลน์). 2538 (อ้าง ถึง 27 กรกฎาคม 2551) ® https://bcnnv.ac.th/webadult/adult3/content/heat/crisis/pu/%20 edema/pu%edema.htm/.
อรลักษณ์ รอดอนันต์. การระงับปวดหลังผ่าดัด. ใน : วิชัย อิทธิชัย-กุลฑล, รื่นเริง ลีลานุกรม, กำธร ตันติวิทยาทันต์, เสาวภาคย์ จำปาทอง, คณะบรรณาธิการ. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา . กรุงเทพ : ส. เอเชียเพรส : 2548. หน้า. 311-21
อำพรรณ จันทโรกร, วิภารัตน์ จุฑาสันติกุล, เอมอร วัฒนยมนาพร, ธันต์ชนก วนสุวรรณกุล, ธิดา เอื้อกฤดาริการ. การรับรู้ของพยาบาลหอผู้ป่วยเกี่ยวกับประโยชน์ของข้อมูลในใบ Anesthetic Record เพื่อการนำไปใช้ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด. วิสัญญีสาร. 2552 ; 35(2) : 122-9
Williams JR . Anesthesia information management systems. AANA J2005;73 (3) : 78-81