ปัจจัยด้านการใช้งานและการเก็บรักษาที่มีผลต่อสุขภาพ เครื่องแต่งตัวป้องกันรังสีสำหรับบุคลากรสถาบันประสาทวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: เครื่องแต่งตัวป้องกันรังสี ได้แก่ เสื้อตะกั่ว ปลอกคอตะกั่ว เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกัน อันตรายจากรังสี สำหรับบุคลากรที่ใช้งานเครื่อง Fluoroscopeในห้องผ่าตัดและห้องหัตถการ รังสีร่วมรักษา การดูแลรักษาเครื่องแต่งตัวป้องกันรังสีให้อยู่ในสภาพใช้งานได้มีความสำคัญ ต่อความปลอดภัยต่อรังสีของบุคลากร
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินคุณภาพในแง่ของความหนาแน่นและรอยชำรุดของเสื้อตะกั่ว และปลอกคอ ตะกั่ว สำหรับบุคลากรสถาบันประสาทวิทยาและค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณภาพของเครื่องแต่งตัวป้องกันรังสีลดลง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเมื่อได้รับการอนุมัติให้ทำการศึกษาจากคณะกรรมการวิจัย สถาบันประสาทวิทยาแล้วจึงจัดทำแบบบันทึกและเริ่มทำการเก็บข้อมูลเครื่องแต่งตัว ป้องกันรังสีที่มีใช้ทั้งหมดในสถาบันประสาทวิทยาโดยเก็บข้อมูล ชนิด อายุการใช้งานสังเกตวิธีการเก็บรักษาและวิธีการใช้งานใช้เครื่อง Fluoroscope ตรวจสอบความหนา ตำแหน่งรอยชำรุด และวัดขนาดรอยชำรุด สถิติที่ใช้ได้แก่ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: เครื่องแต่งตัวป้องกันรังสีมีทั้งหมด 36 ตัว ประกอบด้วย เสื้อตะกั่วชุดยาว 10 ตัว เสื้อตะกั่ว (ชุด 2 ชิ้น) 13 ตัว กระโปรงตะกั่ว (ชุด 2 ชิ้น) 13 ตัว และปลอกคอตะกั่ว 15 ชิ้นพบว่าเสื้อตะกั่ว ชำรุดหมดสภาพใช้งานแล้ว 1 ตัวขำรุดเล็กน้อยแต่ยังใช้งานได้ 4 ตัว กระโปรงและ ปลอกคอตะกั่วไม่พบรอยชำรุดจากการสังเกตการเก็บรักษาเครื่องแต่งตัวป้องกันรังสีพบว่า การเก็บรักษาไม่ถูกต้อง 9 ชิ้น (ร้อยละ 17.7) วิธีการใช้งานถูกต้อง ร้อยละ 100
สรุป: เครื่องแต่งตัวป้องกันรังสีไม่มีรอยชำรุดร้อยละ 90.2 ชำรุดเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ใช้งานได้ ร้อยละ 7.8 ชำรุดใช้งานไม่ได้เลยร้อยละ 2 ปัจจัยที่มีผลต่อการชำรุดของเครื่องแต่งตัว ป้องกันรังสีเกิดจากการเก็บรักษาไม่ถูกต้อง
Article Details
References
2. Bannazadeh M, Altinel O, Kashyap VS, Sun Z, Clair D, Sarac TP. Patterns of procedure-specific radiation exposure in the endovascular era: impetus for further innovation. J Vasc Surg 2009;49:6:1520-4.
3. Lambert K, McKeon T. Inspection of lead aprons: criteria for rejection. Health Phys 2011 ;80;5 Suppl: S67-9.
4. Stam W, Pillay M. Inspection of lead aprons: a practical rejection model. Health Phys 2008 ;95 : Suppl2 : S133-6.
5. Department of Human Service. Advisory information to assist in the testing of lead aprons used in diagnostic radiology departments. [Internet], Radiation safety program, Noveber 26, 2009 from www.health.vic.gov.au/environment/radiation/
6. Vano E, Gonzalez L, Fernandez JM, Alfonso F, Macaya C. Occupational radiation doses in interventional cardiology: a 15-year follow-up. Br J Radiol 2006;79:941:383-8.
7. Von Wrangel A, Cederblad A, Rodriguez-catarino M. Fluoroscopically guided percutaneous vertebroplasty: assessment of radiation doses and implementation of procedural routines to reduce operator exposure. Acta Radiol 2009;50:5:490-6.
8. Scuderi GJ, Brusovanik GV, Campbell DR, Henry RP, Kwon B, Vaccaro AR. Evaluation of non-lead-based protective radiological material in spinal surgery. Spine J 2006;6:5:577-82.
9. Murphy PH, Wu Y, Glaze SA. Attenuation properties of lead composite aprons. Radiology 1993;186:1:269-72.
10. Glaze S, LeBlanc AD, Bushong SC. Defects in news protective aprons. Radiology 1984;152:1:217-8.
11. McCaffrey JP, Shen H, Downton B, Mainegra-hing E. Radiation attenuation by lead and nonleaded materials used in radiation shielding garments. Med Phys 2007;34:2:530-7.
12. Witrak BJ, Sprawls P. Maternity lead apron. Radiology 1984;150:2:597.
13. Kuon E, Schmitt M, Dahm JB. Significant reduction of radiation exposure to operatorand staff during cardiac interventions by analysis of radiation leakage and improved lead shielding. Am J Cardiol 2002;89:1:44-9.
14. Duran EB, Phillips B. Rejection criteria for defects in lead apparel used for radiation protection of X-ray workers. [Internet], British Columbia Centre for Disease Control : Radiation protection services ; 2003 [cited 2012 April 9], Available from : http//www.bccdc.org/down load/pdf/rps.