ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์วัยรุ่น และเปรียบเทียบระดับการศึกษาระหว่างมารดาวัยรุ่นกับมารดาครรภ์ปกติ ในโรงพยาบาลปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันไทยพบการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ร้อยละ 16 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด ขณะที่อำเภอปะคำมีอัตราการตั้งครรภ์ก่อนวัย 19 ปี ตั้งแต่ 2552-2554 ร้อยละ 22,23 และ 23 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดบุรีรัมย์ (ค่าเฉลี่ยของจังหวัดบุรีรัมย์เท่ากับร้อยละ 20)
วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ในการคุมกำเนิด ทรรศนะคติต่อการตั้งครรภ์ ของหญิงตั้ง ครรภ์ที่มีอายุ 13-19 ปี ก่อนที่มีการตั้งครรภ์และศึกษาเปรียบเทียบระดับการศึกษาของกลุ่ม มารดาวัยรุ่น อายุ 13-19 ปี และกลุ่มมารดาครรภ์แรกมากกว่า 19 ปี
สถานที่ทำการศึกษา: คลินิกฝากครรภ์และห้องคลอด โรงพยาบาลปะคำ
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 13-19 ปี และครรภ์ปกติ ที่อายุมากกว่า 19 ปี ที่มาฝากครรภ์และคลอดบุตรในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2554 ถึง กันยายน พ.ศ.2555 จำนวน กลุ่มละ 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความต่างของสัดส่วนโดยใช้ chi-square
ผลการศึกษา: วัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงอายุ 13-19 ปี ร้อยละ 42.6 ไม่ได้เรียนหนังสือต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่ากลุ่มอายุ 13 - 19 ปี ที่ตั้งครรภ์ ร้อยละ 78.3 จบการศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วไม่เข้าเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น อายุเฉลี่ยในการมีแฟนครั้งแรก มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และตั้งครรภ์ เท่ากับ 15.1, 15.2 และ 16.1 ปี ตามลำดับ สถานภาพสมรสแล้วขณะตั้งครรภ์ (ร้อยละ 76.7) ส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพกับอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 37.5 เท่ากัน) รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 88) บิดามารดาอยู่ด้วยกัน (ร้อยละ 75.0) ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์ (ร้อยละ 86.7), มีความรู้ในวิธีคุมกำเนิด ร้อยละ 75.0 ส่วน ใหญ่ใช้ยาทานร้อยละ 67 แต่ร้อยละ 30 ไม่ได้คุมกำเนิด ในกลุ่มอายุมากกว่า 19 ปี ที่ตั้งครรภ์แรก ร้อยละ 50 จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายมาแล้ว เปรียบเทียบทั้ง 2 กลุ่ม พบกว่ากลุ่มอายุมากกว่า 19 ปี ที่ตั้งครรภ์แรก มีระดับการศึกษาและเกรดเฉลี่ยครั้งล่าสุดสูง กว่ากลุ่มมารดาอายุ 13-19 ปี อย่างมีนัยสำคัญ P = 0.00 และ P = 0.343 ตามสำดับ
สรุป: หญิงตั้งครรภ์อายุ 13-19 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.3 หยุดเรียนหนังสือก่อนที่จะตั้งครรภ์ รู้จักวิธีคุมกำเนิดแต่ไม่ค่อยคุมกำเนิด จึงตั้งครรภ์เร็ว เปรียบเทียบกับกลุ่มครรภ์ที่อายุมากกว่า 19 ปี พบว่ามีระดับการศึกษาที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ p<0.05 ดังนั้นการป้องกันหรือลดปัญหาตั้งครรภ์วัยรุ่นในระยะสั้น ควรทำโครงการให้ความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียนด้วย โดยประสานกับทางภาคีเครือข่ายชุมชน ส่วนในระยะยาวนั้นทุกภาคส่วนควรส่งเสริมให้เด็กเรียนหนังสือในระดับที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนทัศนะคติของสังคมเรื่องการให้แต่งงานเร็ว
Article Details
References
2. นิธิรัตน์ บุญตานนท์. การตั้งครรภ์วัยรุ่นเรื่องยากที่ต้องช่วยกัน. วารสารเพื่อนสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 2555:6.1.
3. Hamiltion BE, Martin JA, Ventura SJ. Births : Preliminary Data for 2009. National Vatal Statistics Reports 2010; 59:3:1-14.
4. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว. (สืบค้นข้อมูลเมื่อ 19 ธันวาคม 2553, ที่ https://www.saiyaira-khospital.com/newdemo/admin/user_report.html). 2553.
5. สุวิทย์ จิตภักดีบดินทร์. อุบัติการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2006;30:39-45.
6. Mahavarkar SH, Madhu CK, Mule VD. A comparative study of teenage pregnancy. J Obstet Gynecol 2008;28:6:604-7.
7. วศิน จงเจริญพรชัย. ผลการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่น (อายุ<20ปี). วารสารการแพทย์ เขต 6-7 2549;25:1:23-8.
8. Watcharaseranee N, Pinchantra P, Piyaaman S. the incidence and complications of teenage pregnancy at Chonburi Hospital. J Med Assoc Thai 2006; 89 : suppl 4:s118-23.
9. Chen XK, Wen SW, Fleming N, Demissie K, Rhoads GG. Teenage pregnancy and adverse birth outcomes : a large population based retrospective cohort study. International journal of Epidermiology 2007; 36:368-73.
10. Piyasil V. Anxiety and depression in teenage mother : a comparative study. J Med Assoc thai 1998;81:125-9.
11. Densiriksorn S. The incidence and complications of teenage pregnancy at Nongkhai Hospital. Chula Med J 2008;52:5:321-30.
12. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. [ออนไลน์] 2553 [สืบค้น 20 ธันวาคม 2555 ]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://.rtcog.or.th/html/photo/newsfile_387294.pdf
13. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. จำนวนมารดาวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ก่อนอายุ 20 ปี [สำเนา คัดลอก]; 2554
14. วีรพล กิตติไพบูลย์. ภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ของการตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2555; 27:1:97-105.
15. ชวมัย สืบนุการณ์. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของสตรีวัยรุ่นในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2554; 26:1:124-138.
16. กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 3. จำนวนนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ [สำเนาคัดลอก]; 2554.
17. สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ที่ว่าการอำเภอปะคำ. ประชากรจำแนกตามอายุเพศ [สำเนาคัดลอก]; 2554.
18. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะคำ. แบบสำรวจข้อมูลนักศึกษา [สำเนาคัดลอก] ; 2551-2555.
19. พิชานัน หนูวงษ์, วีระชัย สิทธิปิยะสกุล, กชกร วัชระสมุทรกิจ. ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์และมีบุตรชองหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ในพื้นที่สาธารณสุขเขต 2. รายงานการวิจัย พิษณุโลก: ศูนย์อนามัยเขต 9. พ.ศ. 2553.
20. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ข้อมูลความยากจนประเทศไทย. [ออนไลน์] 2552 [สืบค้น 20 มกราคม 2556], เข้าถึงได้ที่ : URLhttps://service.nso.go.th/nso/nsopublish/poverty/poverty,htmI
21. เบญจพร ปัญญายง. ทบทวนองค์ความรู้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต. 2554
22. Pallito CC, Murillo V. Childhood Abuse as a Risk Factor for Aldolescent Pregnancy in El Salvador. Journal of Adolescent Health 2008;42:580-6.
23. ชลทิศ อุไรกฤษ์กุล. การตั้งครรภ์ในเด็กนักเรียน อายุน้อยกว่า 18 ปี. [ออนไลน์] 2553 [สืบค้น 5 มิถุนายน 2556 ]. เข้าถึงได้ที่ : https://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/mch/teenage_pregnancy.php
24. วัลลี ม่วงสวนขวัญ. ผลการตั้งครรภ์และการคลอดของวัยรุ่นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ. ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี. [ออนไลน์] 2551 [สืบค้น 5 มิถุนายน 2556]. เข้าถึงได้ที่ : https:// hpc4.anamai.moph.go.th/news2540/article-research/walle-2.pdf