ความสัมพันธ์และความสำคัญทางคลินิกระหว่างทารกน้ำหนักน้อยและภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทารกน้ำหนักตัวน้อยและภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆของทารกปริกำเนิด
สถานที่ทำการศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังของสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลสุรินทร์ 6,171 ราย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 มีโลหิตจาง 1,336 ราย (ความเข้มข้นเลือด น้อยกว่า 33% ในการฝากครรภ์ครั้งแรก) และไม่มีโลหิตจาง 4,835 ราย (ความเข้มข้นเลือดมากกว่า 33%) เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานและภาวะแทรกซ้อน ของทารกปริกำเนิด (ประกอบด้วย คลอดทารกน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด ทารกขาดออกซิเจนแรกเกิด วิธีการคลอดและการนอนโรงพยาบาลของทารก) นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean+SD) และ เปอร์เซ็นต์ ใช้ Chi-square test and Fisher’s Exact test เพื่อศึกษาความแตกต่างของข้อมูลเชิงคุณภาพ และ Multirariate analysist-test เพื่อศึกษาความแตกต่างของข้อมูลเชิงปริมาณ ค่า p-value น้อยกว่า 0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา: มารดาที่มีโลหิตจางมีแนวโน้มที่จะมีอายุน้อยกว่า น้ำหนักน้อยกว่า ฝากครรภ์ครั้งแรกช้ากว่า และมีทารกตัวโตกว่าอายุครรภ์พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของโลหิตจางขณะตั้งครรภ์กับทารกน้ำหนักตัวน้อย (9.4%, 11.1%; P = 0.245) และภาวะทารก ขาดออกซิเจนแรกเกิด (3.3%, 3.7%; P = 0.53) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ ยังพบว่าในกลุ่มที่มีโลหิตจางพบว่ามีทารกนอนพักใน sicknewborn และทารกเสียชีวิตในท้องมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ในทางกลับกันอัตราการผ่าคลอด การใช้เครื่องดูดสุญญากาศและการช่วยคลอดท่าก้นน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<0.01).
สรุป: ไม่มีความแตกต่างของทารกน้ำหนักตัวน้อยและภาวะทารกขาดออกซิเจนแรกเกิดระหว่างกลุ่มที่มีโลหิตจางกับไม่มีโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ในกลุ่มที่มีโลหิตจางมีแนวโน้มที่จะผ่าคลอดและช่วยคลอดน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
2. Amalia LA, Drora FB, Miriam Katz C, Moshe MC, Eyal S. Maternal anemia during pregnancy is an independent risk factor for low birth weight and preterm delivery. EJOGRB. Elsevier Ireland Ltd 2005;122:182-6.
3. Bondevik GT, Lie RT, Ulstein M, Kvale G. Maternal hematological status and risk of low birth weight and preterm delivery in Nepal. Acta Obstet Gynecol Scand 2001;80:402-8.
4. Ren A, Wang J, Ye RW, Li S, Liu JM, Li Z. Low first-trimester hemoglobin and low birth weight, preterm birth and small for gestational age newborns. Int J Gynecol Obstet 2007;98:124-8.
5. Hamalainen H, Hakkarainen K, Heinonen S. Anaemia in the first but not in the second or third trimester is a risk factor for low birth weight. Clin Nutr 2003;22: 271-5
6. Wali FL, Qureshi RN, Emanuel F. Maternal anaemia and its impact on perinatal outcome. Trop Med Int Health 2004;9:486-90.
7. Malhotra M, Sharma JB, Batra S, Sharma S, Murthy NS, Arora R. Maternal and perinatal outcome in varying degrees of anemia. Int J Gynecol Obstet 2002;79:93-100.
8. Scanlon KS, Yip R, Schieve LA, Cogswell ME. High and low haemoglobin levels during pregnancy: differential risks for preterm birth and SGA. Obstet Gynecol 2000;96:741-7.
9. Chumnijarakij T, Nuchprayoon T, Chitinand S, Onthuam Y, Quamkul N, Dusitsin N, et al. Maternal risk factors for low birth weight newborn in Thailand. J Med Assoc Thai 1992;75:445-52.
10. Cessie S Le, Verhoeff FH, Mengistie G, Kazembe P, Broadhead R, Brabin BJ. Changes in Haemoglobin levels in infants in Malawi : effect of low birth weight and fetal anaemia. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2002;86:182-7.
11. World Health Organization. Managing Complications in Pregnancy and Childbirth. Geneva: World Health Organization; 2000.
12. World Health Organization. Pregnancy, Childbirth, Postpartum and Newborn Care: A Guide for Essential Practice. 2nd ed. Geneva : World Health Organization; 2005.