การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานระหว่างการรับบริการที่คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสตึกและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคม

Main Article Content

อารีย์ นิสภนันต์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของโลกปัญหาที่ตามมา คือภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาล ส่งผลให้เกิดความแออัดในโรงพยาบาล ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะผลักดันให้โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล มีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบองค์รวม เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระงานของโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมของโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลนิคมและคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลสตึก
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง
สถานที่ศึกษา: คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลสตึกและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคม
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยจำนวน 212 ราย จากผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลสตึก จำนวน 106 ราย และผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคม จำนวน 106 ราย
วิธีการทำวิจัย: การเก็บข้อมูลใช้แบบเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้จากวิธี สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2554 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง และประสิทธิภาพของการรักษา จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ chi-square test และ independence t-test โดยใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่าภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (p=0.009), ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (p=0.001), ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (p=0.012), ระดับครีเอตินีนในเลือด (p=0.035) และ HDL (p=0.003) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: กระบวนการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมเป็นกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. World health organization resources page. Prevalence of diabetics worldwide. (Cites 2008 June 17); Auailable from : website https://www.who.int/diabetes/fact/world_figures/en/int.html.
2. Rawdaree P, Ngarmukos C, Deerochan-awong C, Suwanwalaikorn S, Chetthakul T, Krittiyawong S, et aLThailand Diabetes Registry (TDR) project: clinical status and long term vascular complications in diabetic patient. J Med Assoc Thai 2006;89(Supel1):S1-9.
3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สถิติสาธารณสุข ปี 2552. กรุงเทพๆ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก; 2552.
4. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข ปี 2541-2552. [online ]. [cited 2010 Oct 12] ; Available from : URL: https://bps.ops.moph.go.th/index.php?mod=bps&doc=5.
5. สุพัตรา ศรีวณิชชากร. การพัฒนาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข
1, 2550;1:216-23.
6. สุพัตรา ศรีวณิชชากร. การประเมินระบบดูแลผู้ป่วยเบาหวานของเครือข่ายหน่วยปฐมภูมิ (CUP)ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วารสารระบบสาธารณสุข 2550;1:17-23.
7. ชูชัย ศุภวงษ์. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ : บริษัท ทีคิวฟิ จำกัด; 2552.
8. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งขาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554. นนทบุรี : บริษัทศรี เมืองการพิมพ์ จำกัด; 2554.
9. กิตติ ด่านวิบูลย์. ประสิทธิผลการพัฒนาระบบ บริการงานผู้ป่วยนอกและหน่วยบริการปฐมภูมิ เครือข่ายโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556;30:1:54-56
10. ศศิวิมล อึ้งวรากร. เปรียบเทียบคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามมาตรฐานในคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและคลินิกอายุรกรรมโรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. รอยทางที่สร้างสรรค์ของเวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทย: สหมิตรพริ้นติ้งแอนพับลิสชิ่งจำกัด ;2554.
11. วิภานันท์ ธีระพงษ์สวัสดิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชน อำเภอสตึก ปี พ.ศ. 2553.บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลสตึก; 2553.