การพัฒนาแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นภายหลังการได้รับยาระงับความรู้สึก ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลอย่างทันทีทันใด และต้องการการเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้นการบันทึกการพยาบาลวิสัญญีในห้องพักฟื้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่วิสัญญีพยาบาลจะต้องบันทึกข้อมูลการพยาบาลอย่างถูกต้อง ครอบคลุม ต่อเนื่อง และสามารถสื่อสารกับทีมพยาบาลและทีมสหสาขาเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการรับผู้ป่วยไปดูแลต่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นที่เหมาะสมกับกลุ่มงานวิสัญญี
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research: AR) กลุ่มประชากร คือวิสัญญีพยาบาลกลุ่มงาน วิสัญญีโรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 21 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของวิสัญญีพยาบาล และ แบบประเมินผลการ ใช้แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นที่พัฒนาขึ้น ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง ของเนื้อหาและปรับปรุงแก้ไข ตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำก่อนจะนำไปทดลองใช้ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยคือ 1.ขั้นเตรียมการและการวางแผน (Plan) 2.ขั้นการปฏิบัติ (Action) 3.ขั้นติดตามประเมินผล (Review and Evaluate) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามในเดือนมกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์สภาพการณ์เดิมของการบันทึกการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟืนแบบเดิมพบว่า ปัญหาคือ 1) การเขียนรูปแบบต่างกันต่างคนต่างเขียน 2) ใช้ภาษาสัญลักษณ์เฉพาะที่เข้าใจ ในบุคลากรงานวิสัญญี 3) ข้อมูลปัญหาไม่ครบไม่ครอบคลุมปัญหาของผู้ป่วย 4) ลายมืออ่าน ยาก 5) การบันทึกกิจกรรมการพยาบาลไม่เชื่อมโยงกับปัญหาของผู้ป่วย 6) ประเมิน กระบวนการพยาบาลได้ยาก ไม่ครบถ้วน 7) ขาดการประเมินเรื่องการจัดการความปวด 8) การลงบันทึกสารน้ำและเลือดไม่ชัดเจน 9) แบบบันทึกไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วย หายใจและมีวิสัญญีพยาบาลนำส่งกลับตึก 10) ไม่มีการบันทึกคำแนะนำการเยี่ยมภายหลัง ได้รับยาระงับความรู้สึก 24 ชั่วโมงเมื่อนำแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นที่พัฒนาขึ้นใหม่มาบันทึกการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น พบว่าแบบบันทึกมีช่องการเขียนที่ขัดเจน สะดวกและใช้บันทึกการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นได้ทั้งในเวลาและนอกเวลาไม่สิ้นเปลือง เวลาทำให้การบันทึกมีระบบขึ้นการบันทึกแสดงให้เห็นปัญหากิจกรรมการพยาบาลและการประเมินผล คลอบคลุมทุกปัญหาของผู้ป่วยที่มารับบริการในห้องพักฟื้นและสามารถส่ง ต่อข้อมูลที่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
สรุป: แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นที่ได้พัฒนาขึ้นมาสามารถสะท้อนถึงคุณภาพและ มาตรฐานในการดูแลรักษาพยาบาลทางวิสัญญีแก่ผู้ป่วยได้ครบถ้วนต่อเนื่อง
Article Details
References
วรรพา คงสุริยะนาวิน. การสำรวจปัญหาและความต้องการบริการเสริมหลักสูตรของนักศึกษาพยาบาล. กรุงเทพ : ภาควิชาสุขภาพ จิตและการบริการจิตเวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534.
วรรณภา ศรีธัญรัตน์. การพยาบาลพื้นฐานการใช้กระบวนการพยาบาลเป็นหลัก เล่มที, 1. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2538.
กองการพยาบาล. คู่มือการควบคุมคุณภาพการพยาบาล. เล่มที่ 1. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2539.
มาตรฐานคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล. ปรับปรุงครั้งที่ 2 นนทบุรี : สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์; 2550.
Kron,T. the management of patient care. Philadelphia : W.B.Saunders; 1976.
นางอรทัย ไทยานนท์. การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาขีพ โรงพยาบาลกันทรารมย์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2552;ปีที่5:74-80.
สุรีย์ ธรรมมิกบวร. การบันทึกทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพ : นิวเวฟพัฒนา; 2547
สุรีย์ ธรรมมิกบวร. การบันทึกทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพ : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชนก; 2540.