การศึกษาสภาวะทันตสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุอำเภอเมืองบุรีรัมย์

Main Article Content

ธิดา รัตนวิไลศักดิ์
จิราพร แน่นอุดร

บทคัดย่อ

เหตุผลของการทำวิจัย: ประชากรวัยสูงอายุของประเทศไทยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มีความ สนใจในเรื่องทันตสุขภาพผู้สูงอายุมากขึ้น ฟันมีความสัมพันธ์กับสุขภาพกายและ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการมีข้อมูลพื้นฐานสภาวะทันตสุขภาพและศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยในมีการวางแผนส่งเสริมทันตสุขภาพผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินทันตสุขภาพ ซึ่งได้แก่ สภาวะช่องปาก พฤติกรรมทันตสุขภาพ รวมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะช่องปากกับพฤติกรรมทันตสุขภาพ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมและโรคทางระบบของผู้สูงอายุ
สถานที่ทำการศึกษา: พื้นที่ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์
ชนิดการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาประเภทการสำรวจ
ประชากรศึกษา: กลุ่มตัวอย่างอายุ 60-92 ปี ที่มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จำนวน 404 คน
วิธีการศึกษา: โดยการตรวจสภาวะช่องปากกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้ แบบสอบถาม การพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะทันตสุขภาพผู้สูงอายุกับปัจจัยต่างๆ ใช้การทดสอบ Chi Square test โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95
ผลการศึกษา: พบมีการสูญเสียฟันเฉลี่ย 15.20 ซี่ต่อคน สูญเสียฟันทั้งปาก 64 คน(ร้อยละ 15.8) และมีฟันเทียม 49 คน (ร้อยละ 9.9) พฤติกรรมทันตสุขภาพมีการทำความสะอาด ช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง 190 คน(ร้อยละ 55.9) และใช้ไหมขัดฟัน 3 คน (ร้อยละ0.7) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการมีฟันธรรมชาติอย่างน้อย 20 ซี่ กับปัจจัยต่างๆ พบว่า มีความสัมพันธ์กับเพศ ช่วงอายุและการแปรงฟัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุป: การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์กับเพศ ช่วงอายุ และการแปรงฟัน ซึ่งข้อมูลจากการศึกษานี้ ช่วยให้เห็นสภาพปัญหาด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการจัดบริการทันตกรรมในด้านต่างๆ ให้กับผู้สูงอายุต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2551.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เอกสารการสอนชุดวิชากรรมทันตปัองกันหน่วยที่ 9-15. นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2535.

ชลธิชา พุทธวงษ์นันทน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในคลินิกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสังกัด ป่ลัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดซสมุทรป่ราการ. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2551; 13(3): 7-18.

ทรงธรรม สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง,ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม. ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2540; 48(1): 16-23.

Shimazaki Y, Soh I, Koga T, Miyazaki H, Takehara T. Risk factors for tooth loss in the institutionalised elderly; a sixyear cohort study. Community Dent Health 2003; 20(2):123-7.

Petersen PE, Yamamoto T. Improving the oral health of older people : the approach of the WHO Global Oral Health Programme. Community Dentistry and Oral Epidemiology 2005; 33:81-92.

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ.2549-2550. นนทบุรี;2551.

Locker D, Ford J, Leake J. Incidence of and risk factors for tooth loss in a population of older Canadians. Journal of Dental Research 1996;75 (2):783-9.

ประกล พิบูลย์โรจน์, วรางคนา เวชวิถี, ดาวเรือง แก้วขันตี, วิกุล วิสาลเสสถ์. การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านทันตสุขภาพ. นนทบุรี: กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ; 2541.

อำมา ปัทมสัตยาสนธิ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาพไร้ฟันทั้งปากในผู้สูงอายุ.วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2551; 13(2): 97-104.

Avlund K, Pedersen PH, Morse DE, Viitanen M, Winblad B. Social relations as determinants of oral health among persons over the age of 80 years. Com munity Dent Oral Epidemiol 2003; 31:454-62.

Fukuda H, Shinsho F, Nakajima K, Taka hashi and Tatara K. Oral health habits and the number of teeth present in Japanese aged 50-80years. Community Dent Health 1997; 14:248-52.

Takashi O, Motoyuki S, Masahiko K, Yoshinori H, Akito T. Determinants of the Utilization of Dental Services in a Community-Dwelling Elderly Japanese Population. Tohoku J Exp Med 2009; 218: 241-49.

Kiyak HA. Dental beliefs, behaviors and health status among Pacific Asians and Cauacasians. Community Dent Oral Epidemidol 1981; 9: 10-4.

World Health Organization. Recent advances in oral health : report of a WHO Expert Committee. Geneva : The Organization; 1992:16-17.

วรรณศรี แก้วปีนตา, นพวรรณ ทองทับ, สุณี ผลดีเยี่ยม: นิยามคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านสุขภาพรวมสุขภาพช่องปากในทัศนะของผู้สูงอายุอำเภอหางดงจังหวัดเขียงใหม่. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2551;13(1):37-51.