การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบ “HACW TO VAP DROP” ในโรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมาของปัญหา: ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบได้บ่อย และส่งผลกระทบต่อการรักษา รวมทั้งความสูญเสียทางเศรษฐกิจ การดำเนินการป้องกัน และควบคุมการติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดรูปแบบการดูแลให้ครอบคลุมภายใต้ การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ย่อมส่งผลให้อัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยลดลงได้
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติตามแนวทางของบุคลากร ศึกษาอุบัติการณ์และเปรียบเทียบ การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาเฉลี่ยการใช้เครื่องช่วยหายใจ ก่อนและหลังการปรับรูปแบบการดูแล
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
วิธีการวิจัย: รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่เช้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาล สุรินทร์ จำนวน 373 คน และบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิด เห็นของบุคลากร แบบเฝืาระวังการเกิดปอดอักเสบ แบบ check list ความครบถ้วนตาม กิจกรรม VAP Daily และแบบประเมินการปฏิบัติของบุคลากร ผ่านการตรวจสอบเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพป้ญหา วิเคราะห์การดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันปอดอักเสบของโรงพยาบาลสุรินทร์ 2) การพัฒนารูป่แบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันปอดอักเสบ และ 3) ระยะ ประเมินผล ดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2551 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบต่อ 1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ และสถิติวิเคราะห์ independent t-test
ผลการศึกษา: ภายหลังการนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันปอดอักเสบ “HACW TO VAP DROP” ไปใช้ พบว่า 1) บุคลากรปฏิบัติตามแนวทางอยู่ในระดับสูงทุกกิจกรรม และมีคะแนนการปฏิบัติกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.05 2) เมื่อ เปรียบเทียบอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจก่อนและหลังการปรับรูป แบบพบว่า ลดลงจากเดิม 1.96 :1000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ และ 3) ระยะเวลาเฉลี่ยของ การใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.005
สรุป: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้เกิดการดูแลที่ครอบคลุมตามปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย มีการทำงานเป็นทีม การสนับสนุนจากทีมพัฒนาและผู้บริหาร บุคลากรในหน่วยงาน และหัวหน้าหน่วยงาน ส่งผลให้ เกิดผลลัพธ์การดูแลรักษาที่ดีชื้น สามารถนำไปขยายผลทั้งโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามการ ดำเนินการจำเป็นต้องมีความต่อเนื่องและติดตามผลเป็นระยะเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน
Article Details
References
สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ. แนวทางการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2549: 15.
Scanlan CL, Scanlan C, Sheldon RL, Egan DF. Egan’s fundamentals of respiratory care. 6th ed. Louis : Mosby ; 1995.
พรเพชร ปัญจปิยะกุล, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุกัญญา เตชะโชควิวัฒน์. การป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนระบบบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2552 : 5
Yagan MB. Hospital-Acquired Pneumonia and Its Management. Critical Care Nursing Quarterly 1997. 20 (3) : 36-43.
ศิริพร แสงสว่าง. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการควบคุมการติดเชื้อต่อการปฏิบัติของบุคลากรทางสุขภาพและอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/node/8227 [วันที่ 18 กรกฎาคม 2552] (2551).
ธฤติ สารทศิลป์. ผลกระทบการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต] สาขาวิชาการพยาบาล ด้านการควบคุมการติดเชื้อ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2551.
Power J. Managing VAP effectively to optimize outcomes and costs. Nursing Management; 2006;37: 48B-48F
Wiblin, RT. Nosocomail pneumonia. In Menzel RP. (Ed). Prevention and Control of Nosocomail Infections. (3rd ed.). Baltimore : Williams & Wilkins ; 1997 : pp. 807-9.
Rello J. Ollendort DA. et al. Epidemiology and outcomes of ventilator-associated pneumonia in a large us database. Chest; 2002 : 122:2215-21.
Centers for Disease Control and Prevention, CDC. Guidelines for preventing health-care associated pneumonia. MMWR : 2003: 53: 1-36.
Dodek PD., et al. Evidence-based clinical practice guideline for the prevention of ventilator-associated pneumonia. Annals of Internal Medicine : 2004: 141: 305-13.
Kollef MH. The prevention of ventilator- associated pneumonia. The New England Journal of Medicine : 340: 627-34.
จุไร ประธาน. ปัจจัยการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. [ออนไลน์]. 2550 [สืบค้น 18 กรกฎาคม 2552] ; เช้าถึงได้ที่ : URL: https://researchers.in.th/blog/sswhosabs/2347.
Schweickert WD, Gehlbach BK, Pohlman AS, et al. Daily interruption of sedative infusion and complication of critical illness in mechanically ventilated patients. Crit Care Med 2003 ; 32:1272-6.