ลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ฝีในตับและม้าม ที่เกิดจากเชื้อเมลิออยโดซิส

Main Article Content

ประเสริฐ ศรีสารคาม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของฝีในตับและม้ามที่เกิดจากเชื้อเมลิออยโดซิส กับฝีในตับและม้ามที่เกิดจากจากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น
วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสังเกตการณ์เปรียบเทียบ (Observation, analytical study) ข้อมูลทั่วไปและลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ย้อนหลัง (retrospective review) ใน ผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลมหาสารคามระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2552 ถึง กันยายน 2554 ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นฝีในตับและม้ามและได้รับการตรวจด้วย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการศึกษาเป็นเครื่อง multislice CT scanner บันทึกข้อมูลทั่วไป โรคประจำตัว ผลการเพาะเชื้อในกระแสเลือดหรือสิ่งส่งตรวจ ระดับ melioid IHA titer แปลผลโดยรังสีแพทย์ 1 คน ลักษณะที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ จำนวน ขนาด ขอบของฝี การกระจาย ลักษณะภายในของฝี (septation) ลักษณะเส้นเลือด ที่ไปเลี้ยงที่ขอบ (rim enhancement pattern) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของฝีในตับและม้ามจากเมลิออยโดซิสเปรียบเทียบกับฝีในตับและม้ามที่เกิดจากเชื้อชนิดอื่นด้วย Fisher’s exact test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 20 ราย อายุเฉลี่ย 54 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 55) เป็นกลุ่มฝีในตับและม้ามที่เกิดจากเชื้อเมลิออยโดซิสจำนวน 12 ราย เป็นฝีในตับ 1 ราย ฝีในม้าม 3 ราย และฝีในตับและม้ามร่วมกัน 8 ราย ในกลุ่มฝีในตับและม้ามจากเชื้อชนิดแบคทีเรียอื่นจำนวน 8 ราย เป็นฝีในตับ 7 ราย ฝีในม้าม 1 ราย ลักษณะที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่การพบฝีในตับและม้ามร่วมกันในกลุ่มฝีในตับและม้ามที่เกิดจากเชื้อเมลิออยโดซิสกับฝีที่พบเฉพาะในตับหรือม้ามเท่านั้นในกลุ่มฝีในตับและม้ามที่เกิดจากจากเชื้อ แบคทีเรียชนิดอื่น (p=0.001) จำนวนของฝีในกลุ่มเมลิออยโดซิสพบว่ามีมากกว่า 1 ก้อน เมื่อเปรียบเทียบกับฝีในตับและม้ามจากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น (p=0.018) และการกระจาย เป็นแบบแยกเป็นส่วนชัด (discrete, P=0.033) ขนาดฝีในกลุ่มเมลิออยโดซิสมีขนาดเล็ก กว่า 3 ซม. (p=0.01) พบว่าฝีในตับและม้ามในกลุ่มเมลิออยโดซิสพบฝีในม้ามบ่อยกว่าในตับ และฝีในม้ามมีขนาดเล็กกว่าฝีในตับ ในกลุ่มนี้ขนาดเฉลี่ยฝีในตับเท่ากับ 2.4 ซม. ในม้าม เท่ากับ 1.1 ซม. กลุ่มฝีในตับและม้ามทีเกิดจากเชื้ออื่นพบส่วนใหญ่เป็นฝีก้อนเดี่ยวและ มีขนาดเฉลี่ยปีในตับเท่ากับ 4.7 ซม. ส่วนลักษณะขอบ (margin) ลักษณะภายในของฝี (septation) และลักษณะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงที่ขอบ (rim enhancement pattern) ไม่มี ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)
สรุป: ฝีเมลิออยฺโดซิสในตับและม้ามมีลักษณะเฉพาะบางอย่างที่แตกต่างจากฝีในตับและม้ามที่เกิดจากเชื้อชนิดอื่น ได้แก่พบฝีร่วมกันทั้งในตับและม้าม ฝีมีจำนวนมากกว่า 1 ก้อน มีการกระจายแบบแยกเป็นส่วนชัด (discrete) ขนาดเฉลี่ยน้อยกว่า 3 ซม. พบฝีในม้ามบ่อยกว่าฝีในตับและฝีในม้ามมีขนาดเล็กกว่าฝีในตับ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

White NJ. Melioidosis. Lancet 2003; 361:1715-22.

Chaowagul W, White NJ, Dance DA et al. Melioidosis: a major cause of community-acquired septicemia in Northeastern Thailand. J Infect Dis 1989; 159:890-9.

Limmathurotsakul D, Wongratanach eewin S, Teerawattanasook N, Wongsu- van G, Chaisuksant S, Chetchotisakd P, et al. Increasing incidence of human melioidosis in Northeast Thailand. Am J Trop Med Hyg. 2010; 82(6): 1113-7.

Muttarak M, Peh WC, Euathrongchit J, et al. Spectrum of imaging findings in melioidosis. Br J Radiol 2009;82:514-21.

Reechaipichitkul W. Clinical manifestation of pulmonary melioidosis in adults. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2004; 35(3):664-9.

Apisarnthanarak P, Thairatananon A, Muangsomboon K, Lu D. S., Mundy L. M., Apisarnthanarak A. Computed tomography characteristics of hepatic and splenic abscesses associated with melioidosis: A 7-year study. J Med Imaging Radiat Oncol 2011; 55:176-182.

Laopaiboon V, Chamadol N, Buttham H, Sukeepaisarnjareon W. CT findings of liver and splenic abscesses in melioidosis: comparison with those in non-melioidosis. J Med Assoc Thai 2009; 92:1476-84.

Dhiensiri T, Eua-Ananta Y. Visceral abscess in melioidosis. J Med Assoc Thai. 1995; 78(5):225-31.

Wibulpolprasert B, Dhiensiri T. Visceral organ abscesses in melioidosis: sonographic findings. J Clin Ultrasound 1999; 27:29-34.

Mairiang p, Boonma p, Chunlertrith K, Mairiang E,Laopaiboon V, Chamadol N. Liver abscess in Srinagarind hospital. Srinagarind Med J 1994; 9:183-8.

Lee NK, Kim S, Lee JW, Jeong YJ, Lee SH, Heo J, et al. CT differentiation of pyogenic liver abscesses caused by Klebsiella pneumoniae vs non-Klebsiella pneumoniae. Br J Radiol. 2011; 84(1002):518-25.

Alsaif HS, Venkatesh SK, Chan DS, Archuleta S. CT appearance of pyogenic liver abscesses caused by Klebsiella pneumoniae. Radiology. 2011; 260(l):129-38.

Laopainboon V, Chaiyakum J, Mairiang A, Srinagarinthra J. Ultrasonic appearance of hepatic, splenic and renal melioidosis. In: Punyagupta S, Sirisanthana T, stapa- tayavong B, editors. Melioidosis. Bangkok: Bangkok Medical Publisher; 1989: 125-29.

Cheng AC, Johnson DF. Multiloculated hepatosplenic abscesses. Clin Infect Dis 2006; 43:264-5.

Chong VH. Is a honeycomb appearance on computer tomography characteristic for Burkholderia pseudomallei liver abscess? Clin Infect Dis 2006; 43:265-6.

Apisarnthananarak P, Apisarnthanarak A, Mundy LM. Computed tomography characteristics of Burkholderia pseudo- mallei-associated liver abscess. Clin Infect Dis. 2006; 43(12):1618-20.