อุบัติการณ์ ลักษณะทางคลินิก และผลการรักษาของผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส Influenza ของ เด็กที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุสำคัญของการรักษาตัวในโรงพยาบาลของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โดยพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยทางระบบทางเดินหายใจที่สำคัญในเด็ก แต่การศึกษา ถึงภาวะปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส Influenza ในเด็กยังมีจำนวนไม่มากนัก
วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของปอดอักเสบจากไวรัส Influenza ลักษณะทางคลินิก และผลการรักษาของผู้ป่วยปอดอักเสบจากไวรัส Influenza
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ในกลุ่มประชากรคือ ผู้ป่วยเด็กอายุตั้งแต่ แรกเกิด ถึง 15 ปีที่รักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะปอดอักเสบ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 โดยทำ Nasopharyngeal aspirate เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส ด้วยวิธี Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction (RT-PCR)
ผลการศึกษา: จากผู้ป่วย 148 รายที่เข้าร่วมการศึกษา สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของปอดอักเสบที่ต้องการศึกษารวม 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.94 ของผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษา โดยพบไวรัส Influenza ในผู้ป่วย 14 ราย (ร้อยละ 9.45) และไวรัส RSV ในผู้ป่วย 18 ราย (ร้อยละ 12.16) โดยมีผู้ป่วย 1 รายพบทั้งไวรัส influenza และ RSV พบไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ H1N1 ในผู้ป่วย 12 รายและไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3 2 ราย โดยผู้ป่วยปอด อักเสบจากเชื้อ Influenza มีอายุตั้งแต่ 4 เดือน-14 ปี 7 เดือน (มัธยฐาน 3 ปี 2 เดือน) อาการที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ ไข้ (ร้อยละ100) ไอ (ร้อยละ85.8) และหายใจหอบ (ร้อยละ85.8) พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 35.7 มีโรคประจำตัวเดิมอย่างน้อยหนึ่งโรค ผลการตรวจร่างกายพบ ผู้ป่วยมีเสียงปอดผิดปกติ 13 ราย (ร้อยละ92.9) โดยมีทั้งเสียง Crepitation เสียง Rhonchi และเสียง Wheezing ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 5.8 วัน และไม่พบว่ามีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่รายใดเสียชีวิต
สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเชื้อ Influenza เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเจ็บป่วยในเด็กที่รักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะปอดอักเสบ โดยเฉพาะในกลุ่มอายุน้อยกว่า 5 ปี และเป็นไวรัส เพียงตัวเดียวที่มีวัคซีนป้องกัน การส่งเสริมการฉีดวัคซีนน่าจะมีส่วนช่วยลดการติดเชื้อปอด อักเสบจากไวรัส Influenza ได้
Article Details
References
Murphy TF, Henderson FW, Clyde Wa, Collier AM, Denny FW. Pneumonia: an eleven-year study in a pediatric practice. Am J Epidemiol. 1981;113:12-21.
Jokinen C, Fleiskanen L, Juvonen H, et al. Incidence of community-acquired pneumonia in the population of four municipalities in eastern Finland. Am J Epidemiol 1993;137:977-88.
Annual Epidemiological Surveillance Report 2003; [online] 2007 April [Cited 2007 April], Available from : URLhttps:// epid.moph.go.th.
Boivin, G, S. Cote, P. Dery, et al.Multiplex real-time PCR assay for detection of influenza and human respiratory syncytial viruses. J. Clin. Microbiol.2004; 42:45-51.
Don M, Fasoli L, Paldanius M, et al. Aetiology of community-acquired pneumonia: Serological results of a paediatric survey. Scandinavian Journal of Infectious Disease. 2005;37:806-12.
CDC. Prevention and Control of Influenza, recommendations of the Advisory Committee on Immunization Practices (ACIP). MMWR. 2006;55(No.RR-10):l-42.
WHO. Bulla A, Hitze KL. Acute respiratory infections: a review. Bull World Health Organ 1978; 56: 481-98 pmid: 308414.
Sunakorn P, Chunchit L, Niltawat S, et al. Epidemiology of acute respiratory infections in young children from Thailand. Pediatr Infect Dis J. 1990; 9(12):873-877
Ameircan Academy of Pediatrics. Recommendations for influenza immunization of children. Pediatr 2004;113:1441-7.
Glezen WP. Serious morbidity and mortality associated with influenza epidemics. Epidemiol Rev. 1982;4:25-44.
Bhat N, Wright JG, Broder KR, et al. Influenza-associated deaths among children in the United States, 2003-2004. N Engl J Med. 2005;353:2559-67.
Louie JK, Schechter R, Honarmand S, et a I. Severe pediatric Influenza in California, 2003-2005: Implications for immunization recommendations. Pediartrics. 2006;117:610-8.
Moore DL, Vaudry W, Scheifele DW, et al. Surveillance for Influenza admissions among children hospitalized in Canadian immunization monitoring program active centers; 2003-2004. Pediatrics. 2006;118: e610-9.