ผลของน้ำขิงกับระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมมารดาหลังคลอด

Main Article Content

อัจฉรา ศรีสุวพันธ์

บทคัดย่อ

บทนำ: จากการสำรวจมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ พบว่ามารดาหลังคลอด ร้อยละ 70 มีปัญหาว่าน้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้นหากได้ แก้ปัญหาดังกล่าวได้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ผลสำเร็จการส่งเสริมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มากขึ้นได้
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระยะเวลาเริ่มไหลของน้ำนมระหว่างมารดาหลังคลอดกลุ่มที่ ได้รับการพยาบาลปกติกับมารดาหลังคลอดกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติร่วมกับทารดื่มน้ำขิง
สถานที่ทำการศึกษา: โรงพยาบาลบุรีรัมย์ หอผู้ป่วยสูติกรรมขั้น 1
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบกึงทดลอง (Quasi-experimental) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากหญิง หลังคลอดที่มาคลอดที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2554 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 60 ราย แบ่งเปนกลุ่มทดลอง 30 ราย ดืมนำฃิงจำนวน 40 ซีซี ทุก 8 ชั่วโมง และกลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลปกติ ประเมินระยะเวลาการไหลของนํ้านมทุก 3 ชั่วโมงจนนํ้านมเริ่มไหล
สถิติที่ใช้: ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi square test
ผลการศึกษา: พบว่าอายุของมารดาหลังคลอดกลุ่มควบคุมเฉลี่ย 24.33 ปีและกลุ่มทดลองอายุเฉลี่ย 25.36 ปี ดัชนีมวลกายของมารดาหลังคลอดกลุ่มควบคุมเฉลี่ย 30.75 และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย 30.25 และคะแนนเลขทังสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ น้ำหนัก ทารกแรกคลอด กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ย 2,969 กรัม และกลุ่มทดลอง 2,899 กรัมระยะเวลาเริ่มไหลของน้ำนม พบว่าไม,แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้งสองกลุ่ม
สรุป: กลุ่มที่ดื่มน้ำขิงมีระยะเวลาการไหลเริ่มต้นของน้ำนมไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการ พยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: น้ำขิงการไหลของนำนม การบีบน้ำนม คะแนนแลช มารดาหลังคลอดความสำคัญและความ เป็นมาของปัญหา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. พฤหัส จันทร์ประภาพ. บทความสุขภาพ. Faculty of Medicine Siriraj Hospital. ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ สิริราชพยาบาล. กรุงเทพๆ : รุ่งศิลป์การพิมพ์; 2554:15-6.
2. Gatti L. Maternal perceptions of insuf¬ficient milk supply in breastfeeding. Journal of nursing scholarship 2008; 40:4:355-63.
3. กองแก้ว สวัสดิ์รัมย์, อัฉรา ศรีสุวพันธ์, อังสนา วงศ์ศิริ. ผลการให้การพยาบาลโดยใช้ หมอนเกือกม้าต่อความพึงพอใจในการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ และระยะเวลาในการอุ้มลูกดูดนมแม่. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรม-ราชชนนี สรรพ สิทธิประสงค์ 2548; 2:2: 20.
4. สุภาภรณ์ปิติพร. ข้อแนะนำสำหรับการกิน อาหารเพื่อเพิ่มน้ำนม. นิตยสารหมอชาวบ้าน 2551; 50:355: 25.
5. Motil KJ, Kertz B, Thotathuchery M. Lactational performance of adolescent mothers shows preliminary - differences from that of adult women. Journal of Adolescent Health 1997; 20:6: 442-9
6. วิเชียร เกตุสิงห์. แสดงการสร้างและวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช ; 2530
7. Lauwers J, Shinskie D. Counseling the nursing mother : a lactation consultant’s guide.ln: Lauwers -J, Shinskie D, editors. Massachusetts: Jones and Bartlett Publishers; 1999 : 87-106.
8. รวีวรรพ นิวัตยะกุล. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การไหลของน้ำนมแม่.ใน; รวีวรรณ นิวัตยะกุล, บรรณาธิการ. การประขุมวิชาการนมแม่แห่งขาติ ครั้งที่ 1 นมแม่....ทุนสมอง. กรุงเทพๆ : ศูนย์วิจัย พัฒนา-ครอบครัว ; 2548 : 210-4.
9. ธีระ ฤทธิ์รอด. สรรพคุณของน้ำขิง. นิตยสารใกล้หมอ. 2553; 45:27: 40.