อาการนำมาพบแพทย์ของผู้มาตรวจมะเร็งเต้านม

Main Article Content

อุมาพร นันทธีโร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสถานภาพส่วนบุคคล ผลแมมโมแกรม ผลอัลตราซาวด์ และการรักษา 2) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอาการนำมาพบแพทย์ และ 3) เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง อาการนำมาพบแพทย์กับสถานภาพส่วนบุคคล ผลแมมโมแกรม ผลอัลตราซาวด์และการ รักษาของผู้มาตรวจมะเร็งเต้านม
วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาเป็น Retrospective descriptive study กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มาตรวจ มะเร็งเต้านมที่กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยเป็นผู้มาตรวจมะเร็งเต้านมเป็น ครั้งแรกในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2552 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2553จำนวน 794ราย เป็นเพศหญิง ไม่มีประวัติการผ่าตัดมะเร็งเต้านมมาก่อน และต้องมีรายงานผลการตรวจด้วย แมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์ทุกราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ Chi Square ด้วยวิธีของเปียร์สัน
ผลการศึกษา: ผู้มาตรวจมะเร็งเต้านมมีกลุ่มอายุในซ่วงระหว่าง 40-49 ปี อายุน้อยที่สุด 16 ปี อายุมากที่สุด 86 ปี และมีอายุเฉลี่ย 48.5 สถานภาพสมรสคู่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ใช้สิทธิบัตรทองในการรักษาพยาบาล ผลแมมโมแกรมพบว่าเป็น benign ชนิด fibrocystic ส่วน malignant พบว่าเป็นชนิด invasive ductal carcinoma ชนิดของ BIRADS พบว่าเป็น ชนิด BIRADS cat 2 และ 3 และไม่พบ axillary nodews อัลตราซาวด์พบว่าเป็นก้อน ขนาด 1-2 ซม. คิดเป็นร้อยละ 75.2 ตำแหน่งที่ตรวจพบ พบว่าเป็นที่เต้านมทั้งสองข้าง การให้การรักษาส่วนใหญ่ให้แบบ observed และ follow up การรักษาโดยการผ่าตัดทำ excision อาการนำที่ตรวจพบคือ คลำได้ก้อนคิดเป็นร้อยละ 64.9 ผลการศึกษาหาความ สมพันธ์ระหว่างอาการนำมาพบแพทย์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการนำมาพบ แพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ช่วงอายุ สิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาล ชนิดของผล การตรวจพบ ชนิด BIRADS การตรวจ axillary node และ ขนาดของก้อน
สรุป: ผลการศึกษาดังกล่าว ทำให้ทราบว่า ปัจจัยด้านช่วงอายุ สิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาล ชนิด ของผลการตรวจพบ ชนิด BIRADS การตรวจ axillary node และ ขนาดของก้อน มีความ สัมพันธ์กับอาการนำมาพบแพทย์ เพราะเนื่องจากการดำเนินของโรคมะเร็งเต้านมของผู้ป่วย มักมีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องทำการตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะแรกของผู้มาตรวจมะเร็งเต้านมทั้งในกลุ่มที่มีอาการและไม่มีอาการ เพื่อที่จะสามารถตรวจพบมะเร็งในระยะแรกซึ่งจะเป็นผลดีต่อการรักษา ทำให้อัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และการกลับเป็นใหม่ของโรคลดลงได้
คำสำคัญ: อาการนำมาพบแพทย์ มะเร็งเต้านม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. American Cancer Society Inc. Cancer Facts and Figures 2012. Atlanta : The legal department of American Cancer Society ; 2012.
2. WilailakS. Epidermiologic report of gynecologic cancer in Thailand. J GynecolOncol 2009; 20:81-3.
3. VeronesiU, Boyle P, Goldhirsch A, Orecchia R, Viale G. Breast cancer. Lancet 2005;365:9472:1724-41.
4. HirunpatS, TanomkiatW, Khojarern R, Arpakupakul N. Accuracy of the mammographic report category according to BIRADS. Med Assoc Thai 2005:88:1:62-5.
5. Dongola N. Mammographyin Breast cancer, [online], 2008 May [cite 2009 Jun 30]. Available from: URL:https://www.emdicine. medscape. com/article /346529-overview.
6. KoningJ. Breast cancer screening ; cost-effective in practice?. European Journal of Radiology 2000; 3:1:32-37.
7. Martin N. Cancer incidence in Bangkok 1993-1997. Bangkok : Cancer Research Foundation for National Cancerlnstitute National Cancer Institute Department of MedicalServices Ministry of Public Health ; 2001:p28.
8. DeerasameeS, Martin N, SontipongS, SriampornS, SriplungS, Srivatanakul P, et al. Cancer in Thailand Vol. II, 1992-1994 IARC Technical report no. 34. :Lyon:IARC Press;1994: p 24.
9. Siamhealth. Breast cancer. [ออนไลน์]. 2555 [สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2555]. เข้าถึงได้ที่: http//www.siamhealth.net/public_ html/ Disease/ cancer/ breast/ breast- cancer.htm.
10. อาคม เขียวศิลป์, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, สุนันทา จริยาเลิศศักดิ์, ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ, บรรณาธิการ. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษา พยาบาลโรคมะเร็งเต้านม ปี 2546-2547. กรุงเทพๆ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2547.
11. วิชัย วาสนสิริ. The direction of Breast Cancer Screening in Thailand. ใน: ปริญญา ทวีชัยการ, เสริมศักดิ์ หงส์จินดา, ปิยะเตียวประเสริฐ, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์ มะเร็งวิทยา 2. กรุงเทพฯ: เพนตากอนแอ็ดเวอรไทชิ่ง; 2552. หน้า 1-5.
12. ธนิต วัชรพุกก์. Breast. ใน : ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์, ธนิต วัชรพุกก์, บรรณาธิการ. ตำราศัลยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที' 5. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์; 2542. หน้า 277-92.
13. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที 11. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี; 2553.
14. เปรมฤดี ชื่นกลิ่น. บทบาทของแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ในการตรวจหามะเร็งเต้านม ในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารวิชาการ รพศ/รพท. เขต 4 ปี 2552;11:115-44.
15. รัตนาภรณ์ เหมือนจันทร์. ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมผู้รับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก ปี 2549. [ออนไลน์]. 2 มิถุนายน 2551 [สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2555], เข้าถึงได้ที่ : https://hpc9.anamai.moph.go.th.