การเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียนกับการนวดแบบกดลึกในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของทราพีเซียสส่วนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียน (Radial Shock Wave Therapy; RSWT) กับการรักษาด้วยการนวดแบบกดลึก (Deep Friction Massage ; DFM) ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด ( Myofascial Pain Syndrme; MPS )
รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง ( Quasi-Experimantal Research )
สถานที่วิจัย: งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสระบุรี, คลินิกกายภาพบำบัดสระบุรี
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยที่มารักษาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดที่กล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน ที่แพทย์วินิจฉัย และมีอาการปวดตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling)
วิธีการ: แบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มทดลองผู้ป่วยรักษาด้วยเครื่อง RSWT รุ่น DOULITH SD1 S/N BT 0495 ใช้หัวขนาด 15 มิลลิเมตร (R15) ความถี่ 2 Hz ความแรง 2 Bars จำนวน 1,500 ครั้ง ที่ จุดกดเจ็บ (Trigger Point;TrP) กล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนเป็นเวลา 1 ครั้ง/สัปดาห์ (ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 กลุ่มเปรียบเทียบผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีการนวดแบบกดลึก (DFM) โดยหัวหน้าการวิจัย (มีแรงบีบมือจากการวัดโดย Hand grip dynamometer เฉลี่ย 3 ครั้ง =39 กิโลกรัม) ที่บริเวณจุดกดเจ็บ (TrP) ที่กล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน เป็นเวลา 10-15 นาที เป็นเวลา 1 ครั้ง/สัปดาห์เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และสอนให้หลีกเลี่ยง การก้มศีรษะนาน ๆ ยกหิ้วของหนัก และสอนท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ระหว่างการรักษาผู้ป่วย 2 กลุ่มไม่ได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นเช่นทานยา ฉีดยา นวด หรือฝังเข็ม วัดระดับความปวดของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มขณะใช้งานและขณะพักก่อนและหลังการรักษาทุกครั้งโดยใช้ค่าปวดของ Visual Analog Scale ( VAS ) และประเมินเปรียบเทียบแนวโน้มผลการรักษาในครั้งที่ 1 3 และ 6 ของทั้ง 2 กลุ่ม ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังได้รับการรักษาครบ 6 ครั้ง (สิ้นสุดการวิจัย) โดยแบ่งความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ คือ 1. มากที่สุด 2. มาก 3. ปานกลาง 4. น้อย 5. น้อยที่สุดและประเมินความรู้สึกปวดของผู้ป่วยมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงานในอาชีพ ก่อนเข้าโครงการและหลังสิ้นสุดโครงการวิจัย โดยแบ่งเป็น 6 ระดับคือ 1. มากที่สุด 2. มาก 3. ปานกลาง 4. น้อย 5. น้อยที่สุด 6. ไม่ปวด (ไม่มีผลใด ๆ ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงานในอาชีพ) บันทึกการใช้ยา หรือการรักษาโดยวิธีอื่นๆ กรณีผู้ป่วยประสงค์ที่จะรักษาวิธีอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้หลังการวิจัยผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีรักษาโดยวิธีอื่นได้
ผลการวิจัย: การรักษา MPS ของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนด้วย RSWTในผู้ป่วยขณะพัก ลดปวดจนไม่ปวดทุกคนหลังการรักษาสัปดาห์ที่ 5 ในขณะที่ผู้ป่วยDFMลดปวดจนไม่ปวดทุกคนหลังการรักษาในสัปดาห์ที่6 และพบว่าก่อนและหลังการรักษาของแต่ละสัปดาห์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งขณะพักและขณะทำงานโดยที่ส่วนใหญ่การรักษาโดยวิธี RSWT จะลดปวดได้ดีกว่าการรักษาด้วยวิธี DFM ที่มีอาการปวดเหลืออยู่แต่การลดปวดของผู้ป่วยขณะทำงานด้วย RSWT และ DFM พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย RSWT มีความพึงพอใจการรักษาในระดับมากที่สุดร้อยละ 96.7 มากกว่ากลุ่มที่ใช้วิธี DFM มีความพึงพอใจระดับมากที่สุดร้อยละ 76.7 ผลการรักษาจนหายปวดจนไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงานในอาชีพหลังรักษาครบ 6 สัปดาห์พบว่าการรักษาด้วย RSWT และ DFM สูงทั้งสองวิธี ( RSWT ร้อยละ 83.3 DFM ร้อยละ 80.0 )
สรุป: การรักษา MPS ของกลุ่มกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนด้วย RSWT ลดปวดได้น้อยกว่า DMF หลังการรักษาในแต่ละครั้งขณะทำงาน แต่สามารถลดปวดได้ผลไวกว่า DFM หลังรักษาในสัปดาห์ที่ 6 ของผู้ป่วยขณะทำงาน แต่ขณะพักการรักษาด้วย RSWT และ DFM มีผลการรักษาไม่แตกต่างกัน ซึ่งอาจนำมาพิจารณาใช้ในกรณีนำมาใช้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลหรือหน่วยงานกายภาพบำบัดที่ไม่มีเครื่องมือ RSWT สามารถนำวิธี DFM มาใช้แทนได้ซึ่งมีผลการรักษาใกล้เคียงกัน
คำสำคัญ: กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด, การใช้คลื่นช็อคชนิดเรเดียน, การนวดแบบกดลึก, กล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่า
Article Details
References
2. Fischer AA. Diagnosis and management of chronic pain. In: Ruskin AP, ed. Current therapy in physiatrist: Physical medicine and rehabilitation. Philadelphia : Saunders; 1984:123-49.
3. Skootsky SA, Jaeger B, Oye RK. Prevalence of myofascial pain in general medicine practice. West J Med. 1989;151(2):157-60.
4. Phumiphithakkum K, Soodnoreekun C, Sirisabya P. Treatment of myofascial pain syndrome by needling in police general hospital. J Thai rehabil Med. 2002;12:8-14
5. Ji HM, Kim HJ, Han SJ. Extracorporeal shock wave therapy in myofascial pain syndrome of upper trapezius. Ann Rehabil Med. 2012; 675-80
6. Jeon JH, Jung YJ, Lee JY, Choi JS, Mun JH, Park WY, et al. The effect of extracorporeal shock wave therapy on myofascial pain syndrome. Ann Rehabil Med. 2012;36(5):665-74.
7. กันยา ปาละวิวิธน์, บรรณาธิการ. การรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์. เอกสารประกอบการประชุมเรื่องอัลตร้าซาวด์ทางกายภาพบำบัดในสหัสวรรษใหม่; 15-17 มีนาคม 2543; ณ โรงเรียนกายภาพบำบัด คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพฯ : คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543. หน้า 3-46.
8. รัตติยา จินเดหวา. การนวด. กรุงเทพฯ : โครงการจัดตั้งคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2539: 5-45.
9. Speed C. A systematic review of shockwave therapies in soft tissue conditions: focusing on the evidence. Br J Sports Med. 2014;48(21):1538-42.
10. Wewers ME, Lowe NK. A critical review of visual analog scales in the measurement of clinical phenomena. Res Nurs Health. 1990;13(4):227-36.
11. Muller-Ehrenberg H, Licht G. Guidance Topic Diagnosis and therapy of myofascial pain syndrome with focused shock waves (ESWT). Mot. 2005;5:1-6.
12. Melzack R, Stillwell DM, Fox EJ. Trigger points and a acupuncture points for pain: Correlations and implications. Pain. 1977;3(1):3-23.