อัตราตายของผู้ป่วยติดเชื้อเน่าตายในชั้นใต้ผิวหนังและพังผืด ในแต่ละระยะของอาการทางคลินิก ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

จิรศักดิ์ ปริวัฒนศักดิ์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคติดเชื้อเน่าตายในชั้นใต้ผิวหนังและพังผืด เป็นโรคติดเชื้ออันตรายถึงชีวิต ซึ่งโดยทั่วไปจะเกิดในผู้ป่วยที่มีสภาวะภูมิต้านทานต่ำมีอุบัติการณ์มากในประเทศไทย โดยเฉพาะในอาชีพเกษตรกรรม ผู้ป่วยมารักษาใน 3 ระยะต่างกัน ของอาการทางคลินิก
วัตถุประสงค์: เพึ่อเปรียบเทียบอัตราตายของผู้ป่วยโรคติดเชึ้อเน่าตายในชั้นใต้ผิวหนังและพังผืด ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกในระยะต่างๆ (clinical staging)
วัสดุและวิธีการ: ได้ศึกษาโดยแบ่งผู้ป่วยโรคนี้เป็น 3 กลุ่มอาการทางคลินิก ติดตามผลการรักษา จนสิ้นสุดการรักษาที่โรงพยาบาล ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ร้อยละ ร่วมกับแบบทดสอบไคว-สแควร์ และ ANOVA test
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 165 ราย จำแนกเป็นระยะที่ 1 49 ราย (ร้อยละ 29.70) ระยะที่ 2 31 ราย (ร้อยละ 18.78) ระยะที่ 3 85 ราย (ร้อยละ 51.52) อายุเฉลี่ย 53.51, 58.06, 58.94 จ ในระยะที่ 1,2,3 ตามลำดับ มีโรคร่วม ร้อยละ 49.0, 77.40, 71.8 ในระยะที่ 1,2,3 ตามลำดับ ผลการรักษา พบระยะ เวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 13.04, 15.16, 17.24 วัน โนระยะที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ อัตราตายเป็นร้อยละ 10.2, 9.7, 10.6 ในระยะที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผู้ป่วยโรคติดเซี้อเน่าตายในชั้นใต้ผิวหนังและพังผืด ที่มีอาการทางคลินิกของโรคในระยะต่างๆ ไม่พบอัตราตายที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Cunningham JD, Silver L, Rudikoff D. Necrotizing fasciitis: A plea for early diagnosis and treatment. Mt Sinai J Med 2001;68:253-7.

Stone DR, Gorbach SL. Necrotizing fasciitis: The changing spectrum. Dermatal Clin 1997;15:213-20.

Anaya DA, Dellinger EP. Necrotizing soft tissue infection: diagnosis and management. Clin Infect Dis 2007;44:705-9.

Childers BJ, Potyondy LD, Nachreiner R, Rogers FR, Childers ER, Oberg KC. Et al. Necrotizing fasciitis: a fourteen - year retrospective study of 163 consecutive patients. AM J Surg 2002; 68:109-16.

Bahlmann JC, Fourie IJ, Arndt TC. Fournier’s gangrene of male genitalia. Br J Urol 1983; 55: 85-8.

Elliott D, Kufera JA, Myers RA. The microbiology of necrotizing soft tissue infections. Am J Surg 2000;179:361-5.

Dunn DL, Beilman GL. Surgical infection In: Brunicardi FC, Anderson DK, Billiar TR, Dunn DL, Flunter JG, Pollock RE (eds). Schwartz’s Principle of Surgery. 8th ed. New York: McGraw-Hill, 2005:109-27.

Wong CH, Chang HC, Pasupathy S, Khin LW, Tan JL, Low CO. Necrotizing fasciitis: clinical presentation, microbiology and determinants of mortality. J Bone Joint Surg Am 2003; 85-A:1454-60.

Cunningham JD, Silver L, Rudikoff D. Necrotizing fasciitis: A plea for early diagnosis and treatment. Mt Sinai J Med 2001; 68: 253 - 61.

บังอรรัตน์ เฮียรญาณี, และคณะ. รายงานประจำปีโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2552. บุรีรัมย์ : หน่วยผลิตเอกสาร กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลบุรีรัมย์, 2553 : 37.

เชาวน์ สุระดม, พาณี วิรัซ'ยกุล, ขวัญตา กล้าการนา. ปัจจัยที่สัมพันธต่ออัตราตายของผู้ป่วยติดเชื้อเน่าตายในชั้นผิวหนังและพังผืดที่โรงพยาบาลอุทัยธานี. ธรรมศาสตร์เวขสาร 2552; 2:86-93.

อภิรักษ์ ยุคันตวรานันท์, ธิดา ยุคันตรวรานันท์. การดูแลผู้ป่วยโรคหนังเน่าแบบครบวงจรใน จังหวัดยโสธร. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย R2R: เพิ่มคุณค่าพัฒนาคน พัฒนาบริการ ครั้งที่ 2.16-17 กรกฎาคม 2552.

Singh G, Sinha SK, Adhikary S, Babu KS, Ray P, Khanna SK. Necrotizing infections of soft tissues - A clinical profile. Eur J Surg 2002;168:366-71.

Cheung PY, Fung B, Tany WM. Pe WY. A review of necrotizing fasciitis in the extremities. Hong Kong Med J 2009; 15:44-52.

Headley AJ. Necrotizing soft tissue infections: a primary care review. Am Fam Physician 2003; 68:323-8.

Taviloglu K, Cabioglu N, Cagatay A, et al. Idiopathic necrotizing fasciitis: risk factors and strategies for management. Am Surg 2005; 71:315-20.