การทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในโรคเลปโตสไปโรสิส ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ทวีวุฒิ เต็มเอี่ยม

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคเลปโตสไปโรสิสเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดศรีละเกษมาตั้งแต่ ปี 2540 ในเดือนตุลาคม 2551 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย และเสียชีวิตด้วยโรคเลปโต สไปโรสิสจำนวนมากผิดปกติ จึงได้มีการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในที่รับการรักษา ในโรงพยาบาลศรีสะเกษในปีนี้ทั้งหมด
วัตถุประสงค์: เพี่อศึกษาอาการและอาการแสดง ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วย ระยะ เวลาของการเริ่มป่วย และระยะเวลาการเริ่มป่วยจนถึงการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเปรียบเทียบกับผลการรักษา และ serogroup ของเชื้อที่พบในผู้ป่วย ที่รักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ
รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบทบทวนข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective-Descriptive study)
วิธีการศึกษา: ทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีสะเกษที่ได้รับการวินิจฉัยสุดท้าย เป็น เลปโตสไปโรสิส ทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2551 ใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ
ผลการศึกษา: ทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วย ทั้งหมด 94 ราย จากผู้ป่วยในที่รับการรักษาทั้งหมด ในช่วงเวลาที่กำหนด 99 ราย (ร้อยละ 94.9) อัตราส่วนชาย : หญิง 10.75 : 1 อายุเฉลี่ย 38.8 ปี อาชีพที่มีผู้ป่วยสูงสุดคือ ทำนาร้อยละ 71.3 อาการของผู้ป่วยมากที่สุดคือไข้ ร้อยละ 91.5 ระยะเวลาจากเริ่มมีไข้หรืออาการผิดปกติ เฉลี่ย 4.1 วัน ก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การตรวจ lepto - dipstick test ตรวจผู้ป่วย 84 ราย ผลเป็นบวก 44 ราย เป็นลบ 40 ราย (ร้อยละ 52.4) ผลการรักษาผู้ป่วยรอดชีวิต 84 ราย (ร้อยละ 89.4) เสียชีวิต 7 ราย คิดเป็น อัตราป่วยเสียชีวิตของผู้ป่วยในโรคเลปโตสไปโรสิสของโรงพยาบาลศรีสะเกษ คือ ร้อยละ 7 เฉลี่ยนอนในโรงพยาบาล 6.4 วัน (1-37 วัน) ผลของการวิเคราะห์ ความถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ ผลพบว่าค่าที่ทำนายว่าจะทำให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล นานมากกว่า 5 วัน คือผู้ป่วยที่ตรวจพบจำนวนเกร็ดเลือดน้อยกว่า 100,000 / mm เพียงค่าเดียว การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี MAT ทั้งหมด 12 ราย ตรวจพบการติดเชื้อ 5 ราย พบทั้งหมด 9 serogroup
สรุป: โรคเลปโตสไปโรสิสยังคงเป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ โดยเฉพาะ ในปี 2551 พบว่าอัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยในโรคเลปโตสไปโรสิสของโรงพยาบาล ศรีสะเกษ สูงถึง ร้อยละ 7
คำสำคัญ: โรคเลปโตสไปโรสิส, leptospirosis, serogroup

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข สรุป รายงานการเฝ้าระวังประจำปี 2543 - 2549. นนทบุรี: กองระบาดวิทยา; 2549.

Bharti AR, Nally JE, Ricaldi JN, et al. Leptospirosis: a zoonotic disease of global importance. Lancet Infect Dis 2003; 3: 757 - 71 .

Trevejo RT, Rigau-Perez JG, Ashford AD, et al. Epidemic leptospirosis associated with pulmonary hemorrhage- Nicaragua, 1995. J Infect Dis. 1998;178:1457-63.

กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิส ในประเทศไทย พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2543. นนทบุรี: กองระบาดวิทยา; 2543.

Naigowit P, Wangroongsarb P, Petkanchanapong W, Luepaktra O and Warachit P. A Comparative evaluation of different methods for the serological diagnosis of leptospirosis. J Trop Med Parasitol 2000; 23: 59 - 65.

Wangroongsarb P, et al. Application of Polymerase Chain Reaction to Diagnosis of Leptospirosis. J Trop Med Parasitol 2005; 28: 43 -7

Suputtamongkol Y, Niwattayakul K, Sutthinont C, et al. An open randomized controlled trial of Penicillin, doxycycline, and cefotaxime in patients with severe leptospirosis, Clin Infect Dis. 2004; 39: 1417 - 24

Faine S, Adler B, Bolin C, Perolat P. Leptospira and leptospirosis. Secone edition MediSci Melbourne, Australia. 1999.

สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติเลปโตสไปโรสิส. นนทบุรี : สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์; 2550.

Kositanont U, Naigowit P, Imvithaya A, Singchai C, Puthavathana P. Prevalence of antibodies to Leptospira serovar in rodents and shrew trapped in low and high endemic areas in Thailand. J Med Assoc Thai 2003; 86: 136-42