ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึก โดยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

พรรณประไพ ศิริไสย

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย:
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกแบบ ฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากให้ยาระงับความรู้สึกแบบการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบ การฉีดยา ชาเข้าช่องไขสันหลังในโรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 280 ราย
วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิสัญญีพยาบาลตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2550 ถึงเดือน มีนาคม 2551 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการเกิดภาวะแทรกช้อน และภาวะแทรกซ้อน โดยใช้สถิติ ไคลแควร์ (chi-square test)
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ให้ยาระงับความรู้สึกแบบ การ ฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 16-30 ปี ร้อยละ 63.2 น้ำหนักน้อยกว่า 60 กิโลกรัม ร้อยละ 42.5 และส่วนสูง มากกว่า 150 เซนติเมตร ร้อยละ 66.1 ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากเป็นอันดับแรก คือ ความตันโลหิตต่ำ ร้อยละ 39.6 รองลงมา คือ ภาวะคลื่นไส้อาเจียน ร้อยละ 6.1 และภาวะหนาวสั่น ร้อยละ 5.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความ รู้สึกโดยวิธีฉีดยาเข้าช่องไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง พบว่า การ ให้สารน้ำมีความสัมพันธ์กับภาวะหนาวสั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วน อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ปริมาณการเสียเลือด การจัดท่าในการฉีดยาชาทาง ช่องไขสันหลัง และ ปริมาณการให้ยาชาไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ แทรกซ้อน
สรุป: จากการศึกษาสามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการให้ยาระงับความรู้สึกโดย วิธีฉีดยาชาเช้าช่องไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าดัดคลอดทางหน้าท้อง ด้วยการให้ความ รู้เพิ่มเติมแก่วิสัญญีพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยและเฝ้าระวังป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที
คำสำคัญ: ภาวะแทรกซ้อน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Kaunitz AM, Joyce MH, Hughes JM, Devid GA, Smith JC, et al. Causes of maternal mortality in the United States. ObstetGynecol1985;65:606-12.

2. กิสตินา ยูนุสวังษาและคณะ. ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีและปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชา เฉพาะส่วน. วิสัญญีสาร 2550;25:(1).

3. รุ่งนภา ตรงนำชัย และคณะ. ภาวะแทรกซ้อน จากการใช้ยาระงับความรู้สึกโดยวิธีฉีดยา เข้าช่วงไขสันหลังของโรงพยาบาลเลิศสิน. วิสัญญีสาร 2542;25(1):49-56.

4. ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรม spss8.0 for window. : ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2542.

5. รุ่งนภา ตรงนำชัย และคณะ. ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกโดยวิธีฉีดยาเข้าช่องไขลันหลังของโรงพยาบาลเลิศสิน. วิสัญญีสาร 2542;25(1)

6. วรภา สุวรรณจินดาและคณะ. ตำราวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ : กรุงเทพเวชสาร, 2538.

7. สมศรี เผ่าสวัสดิ์และคณะ. วิสัญญีประยุกต์. กรุงเทพฯ : กรุงเทพเวชสาร, 2533.

8. อังกาบ ปราการรัตน์ และคณะ. ภัยของการให้ยาระงับความรู้สึก. กรุงเทพฯ : กรุงเทพเวชสาร, 2536.