ความถูกต้องของการวินิจฉัยทางคลินิก เทียบกับผลการ ตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสเดงกี ในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลสุรินทร์ ปี 2550-2551

Main Article Content

อัจฉรา มิตรปราสาท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาชนิดของเชื้อไวรัสเดงกี และความถูกต้องของการวินิจฉัยทางคลินิกเทียบกับ ผลการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสเดงกีในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลสุรินทร์ ปี 2550-2551
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษา แบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: โดยการรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยและผลการตรวจหาระดับ ภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสเดงกีจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมา ใน ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยแรกรับเป็นไข้เดงกีหรือไข้เลือดออก จำนวน 337 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2550 ถึง 30 กันยายน 2551 วิเคราะห์ข้อมูล ผลการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัส ความถูกต้องของ การวินิจฉัยทางคลินิกเทียบกับผลการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัส
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 337 ราย ตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสเดงกี พบการติดเชื้อ 292 ราย (ร้อยละ 86.6) แปลผลไม่ได้ 31 ราย (ร้อยละ 9.2) ไม่ติดเชื้อ 14 ราย (ร้อยละ ผู้ป่วยติดเชื้อเป็นการติดเชื้อครั้งแรก 38 ราย (ร้อยละ 13.0) การติดเชื้อครั้ง ที่สอง 172 ราย (ร้อยละ 58.9) จากการตรวจชนิดของเชื้อไวรัสเดงกีทั้งหมด 202 ราย พบ เดงกี -1 มากที่สุด จำนวน 82 ราย (ร้อยละ 40.6) เดงกี- 4 จำนวน 57 ราย (ร้อยละ 28.2) เดงกี -2 จำนวน 43 ราย (ร้อยละ 21.3) และเดงกี-3 จำนวน 20 ราย (ร้อยละ 9.9) ผู้ป่วยไข้เลือดออกช็อกเป็นการติดเชื้อครั้งที่สอง ร้อยละ 95.7 และเป็นจาก เดงกี-2 มากที่สุดจำนวน 19 ราย (ร้อยละ 38.8) ผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย จากเชื้อ เดงกี-3 และเดงกี-2 ผู้ป่วยติดเชื้อพบในเพศชาย เท่ากับเพศหญิง พบมากในช่วงอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 32.2 ความถูกต้องของการวินิจฉัยทางคลินิกเทียบกับผลการตรวจ หาระดับภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสเดงกี โนโรคไข้เดงกีเท่ากับร้อยละ 87.7 โรคไข้ เลือดออกเท่ากับร้อยละ 99.0
สรุป: ในปี 2550-2551 ผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ และส่งตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสเดงกีพบการติดเชื้อเดงกี-1 มากที่สุด ความถูกต้องของการวินิจฉัยทางคลินิกในโรคไข้เดงกีเท่ากับร้อยละ 87.7 โรค ไข้เลือดออกเท่ากับร้อยละ 99.0
คำสำคัญ: การติดเชื้อไวรัสเดงกี, ความถูกต้องของการวินิจฉัยทางคลินิก, ชนิดของเชื้อไวรัส

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. สถานการณ์โรค ไข้เลือดออก ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2550 และมกราคม-30 กันยายน 2551

2. แนวทางการวินิจฉัย และรักษาโรคไข้เลือดออก เดงกี ใน ;ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, สุจิตรา นิมมานนิตย์, บรรณาธิการ. แนวทางการ วินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี. ฉบับ แก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย; 2546:27-35.

3. สุทัศนีย์ วิมลเศรษฐ, ปริศนา วงศ์วีรขันธ, ชาลี วิมลเศรษฐ. ระบาดวิทยาของซีโรทัยป์ ของเชื้อไวรัสเดงกีในจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น :ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2544.

4. พรรณราย วีระเศรษฐกุล, ยุทธการ ยะนันโต. สลักจิต ชุติพงษ์วีเวท. ระบาดวิทยาเชื้อไวรัสเดงกีในจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2543-2544. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2545:44(1):27-34.

5. ขวัญใจ วังคะอาต, วิภาวี เจียรกุล. ระบาดวิทยา ของซีโรทัยป์ของเชื้อไวรัสเดงกีในจังหวัด อุบลราชธานี. วารสารเทคนิคการแพทย์ และ กายภาพบำบัด 2545;14(3):206-17.

6. ตระกูลไทย ฉายแม้น. ความถูกต้องในการ วินิจฉัยโรคไข้เลือดออกตามเกณฑ์ขององค์การ อนามัยโลก (WHO) จังหวัดสกลนคร ปี 2548. บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอในการ ประชุมวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549. 4-6 กันยายน 2549 ; ณ โรงแรมปรินช์ พาเลซ. กรุงเทพมหานคร ; 2549.

7. สินชัย ต่อวัฒนกิจกุล. ความถูกต้องของการ วินิจฉัยและการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือด ออกจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการ สาธารณสุข 2546;5:811-8.

8. กาญจนา กาญจนรุจวิวัฒน์. อาการแสดงทาง คลินิกของโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาล ปราสาท ปี พ.ศ. 2548-2550. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2551:2:729-37

9. ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค ฝ่ายอาโบไวรัส สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการตรวจหา ซีโรทัยป์ไวรัสไข้เลือดออกระหว่าง มกราคม- 27 ตุลาคม 2551

10. Kalayanarooj S, Nimmannitya S. Clinical and laboratory presentations of dengue patients with difference serotypes. Dengue Bulletin 2000;24:53-9.
11. Watanaveeradej V, Samkoses R, Kerdpanich A, et al. Transplacentally transferred dengue antibodies, subclass and kinetics in Thai infants. Am J Trop Med Hyg 1999; 61 (3 Suppl) ; 212-2.

12. Witayathawomwong P. Dengue hemorrhagic fever in infancy at Petchabun Hos-pital, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2001;32:481-7.

13. Pancharoen C, Thisyakorn U. Dengue infections during infancy. Trans R Soc Trop Med Hyg
2001;95:307-8.

14. Kalayanarooj S, Nimmanitya S, Santayakom S, et al. Can doctor make and accurate diagnosis of dengue infections at an early stage? Dengue Bulletin 1999:23:1-9.

15. Sawasdiworn S, Vibulvattanakit S, Sasavatpakdee M. and Lamsirithavom S. Efficacy of clinical diagnosis of dengue fever in pediatric age groups as determined by WHO case definition 1997 in Thailand. Dengue Bulletin 2001;25:56-64.