ผลการตัดม้ามร่วมกับผ่าตัดไส้ติ่งในเด็กโรคธาลัสซีเมีย

Main Article Content

จิรศักดิ์ ปริวัฒนศักดิ์

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรังที่พบมากในประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ผู้ป่วยบางส่วนต้องทำการตัดม้ามเพื่อประโยชน์ในการรักษา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการตัดม้ามร่วมกับผ่าตัดไส้ติ่งในเด็กโรคธาลัสซีเมียในโรงพยาบาลบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลัง (Descriptive retrospective study) โดยการ ทบทวนข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับการตัดม้าม ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 ถึง 30 มิถุนายน 2547 ทุกราย บันทึกข้อมูลทั่วไปผู้ป่วย วิธีผ่าตัด ความเข้มข้นของเลือดก่อนและหลังผ่าตัด อัตราการให้เลือดก่อนและหลังผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น อัตราการติดเชื้อหลังตัดม้าม วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 95% confident interval
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในการศึกษาทั้งสิ้น 25 รายเป็นเพศชาย 8 ราย(ร้อยละ 32) เพศหญิง 17 ราย (ร้อยละ 68) อายุเฉลี่ย 9.40 ปี (7.71-11.08) น้ำหนักเฉลี่ย 22.68 กิโลกรัม (18.9826.38) ส่วนสูงเฉลี่ย 119.84 เชนติเมตร (111.12-127.51) ค่าความเข้มข้นเลือดเฉลี่ย ระยะ 2 ปี และ 1 ปี ก่อนผ่าตัด เป็น 21.66, 21.44% ตามลำดับ หลังผ่าดัดค่าความ เข้มข้นเลือดเฉลี่ยระยะ 1 ปีและ 2 ปีเป็น 29.56 และ 29.48% ตามลำดับ การให้ เลือดลดลงจากเฉลี่ย 4.2 ครั้ง/ปี (ต่ำสุด 1 ครั้ง/ปี สูงสุด 8 ครั้งต่อปี) เป็น 0.28 ครั้ง/ปี (ต่ำสุด 0 ครั้ง/ปี สูงสุด 4 ครั้งต่อปี) ทุกรายได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีตัดม้าม ร่วมกับตัดไส้ติ่ง มี 5 ราย ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีร่วมด้วย 1 ราย ผ่าตัดแก้ไขไส้เลื่อน (Umbilical hernia) ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกหลังผ่าตัดได้แก่ แผลติดเชื้อ 1 ราย (ร้อยละ 4) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวหลังผ่าตัด ได้แก่ ลำไส้อุดตันบางส่วน 1 ราย
สรุป: การตัดม้ามร่วมกับผ่าตัดไส้ติ่งในเด็กโรคธาลัสชีเมีย ทำให้ความเข้มข้นเลือดเพิ่มขึ้น ลดอัตราการให้เลือดหลังผ่าตัด เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: ตัดม้าม. ตัดไส้ติ่งร่วม, ธาลัสซีเมีย, ผลการรักษา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. คงศรีเจริญ ชิพาจันทร์. ความรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนและผลของการตัดม้ามในผู้ป่วย เด็กโรคธาลัสซีเมีย. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2550;46(1):49-3.

2. วรวรรณ ตันไพจิตร. การดูแลรักษาผู้ป่วยโรค ธาลัสเมีย. วารสารโลหิตวิทยาและเวช ศาสตร์บริการโลหิต. 2544;15(3):197-201.

3. วินัย สุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประอร ชวลิตธำรง, พิภพ จิรภิญโญ. โรคทางโลหิต วิทยา. ใน: มนตรี ตู้จินดา, วินัย สุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประอร ชวลิตธำรง, พิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์. กรุงเทพ: เรือนแก้วการพิมพ์ ; 2541;1470.

4. Bisharat N, Omari H, Levi I, Raz R. Risk of infection and death among post-splenectomy patients. J Infect 2001;43:182-6.

5. Waghorn DJ, Mayon-White RT. A study of 42 episodes of overwhelming post-splenectomy infections: Is current guidance for aspleic individuals being followed. J Infect 1997;35:289-94.

6. Ein SH, Shandling B, Simpson JS, Stephens CA, Bandi SK, Bigger WD, et al. The morbidity and mortality of splenectomy in childhood. Ann Surg 1997;185:307-10.

7. R.C.N. Williamson. The spleen In: Henry MM, Thompson JN (ed.) Clinical surgery. 1 St. ed. New York : Harcourt Publishers Limited, 2001:298-9.
8. Origa R, Galanello R, Perseu L. Tavazzi D, Omenica Cappellini M, Terenzani L, et al. Cholelithiasis in thallassemia major. Euro J Haematotol 2009;82(1):22-5.

9. Anna ML, Rajendra K. Overwhleming postsplenectomy infection. Infectious Disease Emergencies 1996;10(4):1064-7.

10. บังอรรัตน์ เธียรญาณี, บรรณาธิการ. รายงาน ประจำปีโรงพยาบาลบุรีรัมย์ 2549. บุรีรัมย์: กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ; 2549.

11. กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ; 2550.

12. ชุลีภรณ์ สุปิน, เพณณินาท์โอเบอร์เดอร์เฟอร์. สาเหตุและลักษณะอาการทางคลินิกของ ผู้ป่วยเด็กโรคเลือดจางธาลัสซีเมียหลังการตัดม้ามที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่. กุมารเวชศาสตร์ 2551;47(1):52-9.

13. Kalayci AG, Albayrak D, Gunes M, Incesu L, Agac R. The incidence of gallbladder stones and gallbladder fuction in beta- thalassemic children. Acta Radiol 1999;40(4):440-3.

14. วุฒิชัย ธนาพงศธร.การผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยวิธี ส่องกล้อง. ใน: วุฒิชัย ธนาพงศธร, บรรณาธิการ. ตำราการผ่าตัดซ่องท้องโดย วิธีส่องกล้อง. กรุงเทพ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2540:188.

15. AI-Salem AH. Should cholecystectomy be performed concomitantly with splenectomy in children with sickle- cell disease? Pediatr Sur Int 2003;19(1-2):71-4.

16. Wolff BG. Current status of incidental surgery. Dis Colon Rectum 1995;38(4):435-41.

17. Funk EM, Heidemann P, Bolkenius M, Witte J. Current status of vaccination and antibiotic prophylaxis in splenectomy II: Children. Chirurg 1997;68(6):591-5.

18. Kok KY, Yapp SK. Techniques and clinical outcomes of laparoscopic cholecystectomy in adult patients with beta-Thalassemias. Surg Laparosc Percutan Tect 2006;13(3):168-72.