การประเมินโครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว ที่โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

สมภพ สารวนางกูร

บทคัดย่อ

บทนำ: โรงพยาบาลสุรินทร์ได้ดำเนินงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวโดยมีการบูรณาการ ระบบบริการอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลและเครือข่ายทั้งจังหวัดได้รับการประเมินให้เป็นโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวระดับทองและดีเด่นระดับเขตแต่เป็นการประเมินเฉพาะในส่วนของผลลัพธ์การดำเนินงานผู้วิจัยจึงสนใจที่จะประเมิน โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวโดยใช้แบบจำลองการประเมินแบบซิบของสตัฟเฟิลบีม ซึ่งเป็นการประเมิน 4 มิติคือ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเจตคติของเจ้าหน้าที่ ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อโครงการ ศึกษา ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังดำเนินงาน โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบของการศึกษา: เชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: ใช้แบบจำลองการประเมินแบบซิบของสตัฟเฟิลบีม ซึ่งเป็นการประเมิน 4 มิติคือ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างซึ่งคัดเลือก ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจำนวน 66 ราย และผู้รับบริการจำนวน 150 ราย จากโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว โรงพยาบาลสุรินทร์ ศึกษาผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังดำเนินงาน โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ในโรงพยาบาลสุรินทร์ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2550 ถึง 30 พฤศจิกายน 2551
ผลการศึกษา: พบว่าระดับเจตคติของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านบริบทอยู่ระดับสูงด้านปัจจัยนำเข้าและ ด้านกระบวนการอยู่ระดับปานกลาง ภาพรวมของโครงการอยู่ระดับปานกลาง ระดับ ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อโครงการอยู่ระดับสูง ส่วนตัวชี้วัดผลผลิตทุกตัวผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดพบ 24.99: 1,000 การเกิดมีชีพ อัตราการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัมพบร้อยละ 6.99 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน พบร้อยละ 36.53 และ อัตราเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีมีพัฒนาการสมวัยพบสูงถึงร้อยละ 98.83 เมื่อเปรียบเทียบ ตัวชี้วัดก่อนและหลังดำเนินงาน พบว่าอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรก เกิดหลังดำเนินงานโครงการ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05
สรุป: ระดับเจตคติของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต่อโครงการอยู่ระดับปานกลาง ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ระดับสูง ส่วนผลผลิตในโครงการทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อเปรียบเทียบตัวชี้วัดก่อนและหลังดำเนินงานพบว่าอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p<0.05 ผลการศึกษานี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนางานโครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว โรงพยาบาลสุรินทร์
คำสำคัญ: สายใยรักแห่งครอบครัว การประเมินแบบซิบ อนามัยแม่และเด็ก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการ สอนชุดวิชาอนามัยแม่และเด็กและวางแผนครอบครัว.หน่วยที่ 1-8.พึมพ์ครั้งที่ 11.นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2545:11.

2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525-2529. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2525

3. วีระพงษ์ ฉัตรานนท์. บันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. อนามัยครอบครัว. กรุงเทพฯ; 2536:63.

4. วัลลภ ไทยเหนือ. ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ความหวังของการพัฒนา อนามัยแม่และเด็ก. ใน : การประชุมวิชาการ ประจำปี พ.ศ. 2538 ; 16-17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538; ณ โรงแรมรีเจนท์ชะอำรีสอร์ท. อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ; 2538.

5. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข. กรมอนามัย : ส่งเสริมสุขภาพ คนไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.

6. เยาวดี วิบูลย์ศรี. การประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่4.กรุงเทพฯ;โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ; 2537.

7. สมคิด พรมจุ้ย และวรรณ์ดี แสงประทีปทอง. เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. ใน : ประมวลสาระ ชุดวิชาการวิจัย และสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 8-11 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ; 2544:162.

8. กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนัก ส่งเสรีมสุขภาพ. รายงานประจำปี 2550 กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข;2550:91.

9. ศูนย์อนามัยที่ 5. ผลการดำเนินงานในปี 2551. บันทึกการจัดการความรู้ศูนย์อนามัยที่ 5 ตอนสานสายใยรักอนามัยแม่และเด็ก. นครราชสิมา; 2551:10.

10. Bregman J. Developmental outcome in very low birth weight infants. Current status and future trends. Pediatr Clin North Am 1998;45:673-90.

11. Cunningham FG, Gant NF, Leveno NF,Gilstrap III LC, Hauth JC, Wenstrom KM. Williams Obstetrics. 21SI ed . New York : McGraw-Hill ; 2001.

12. Anderson MS, Hay Jr WW. Intrauterine growth restriction and the small for gestational age infant. In : Avery GB, Fletcher MA, MacDonald MG, editors. Neonatology Pathophysiology and management of newborn. 5th ed. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins: 1999. 411-44.

13. สุธิต คุณประดิษฐ์. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย : จุดเริ่มต้นในทารกสู่โรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 48:5:309-22.

14. Chanvitan P, Janjindamai W, Dissaneevate S, Early neonatal mortality at Songklanagarind Hospital from 1987 to 1997. J Med Assoc Thai 2000;83(10):1167-74.

15. Roy KK, Baruah J, Kumar S, Malhotra N, Deorari AK, Sharma JB. Maternal antenatal profile and immediate neonatal outcome in VLBW and ELBW babies. Indian J Pediatr 2006;3(8):669-73.

16. กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์. การให้คำปรึกษาใน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. ใน:วิทยา ถิฐาพันธ์, นิศารัตน์ พิทักษ์วัชระ, ประทักษ์ โอประเสริฐ สวัสดี,,บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ปริกำเนิดใน เวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ยูเนี่ยน ครีเอชั่น จำกัด ; 2551;151-164.
17. UNICEF. Briefing Note Exclusive Breastfeeding-Foundation for a Healthy Future. 2006.1-5.

18. คณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภค. ระบบการ ให้บริการสุขภาพอนามัยเพื่อแม่ เด็ก และ ครอบครัว. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 11 สภาพัฒนาเศรษฐกิจและลังคม แห่งชาติ; 2549.