วิธีการวัดความเหลืองของทารกแรกเกิดด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิทัล

Main Article Content

สมศักดิ์ เลิศวีระวัฒน์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาสำคัญและพบมาก ปัจจุบันค่าบิลิรูบินที่ได้ จากเลือดถือเป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยและเกณฑ์ตัดสินการรักษา การเจาะเลือด ทำให้เกิดความเจ็บปวดและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ เครื่องมือวัดระดับบิลิรูบิน ทางผิวหนังในปัจจุบัน มีราคาแพง จึงหาวิธีการใหม่วัดค่าความเหลืองทางผิวหนัง เด็กทารกแรกเกิด เพี่อสามารถใช้งานได้ครอบคลุม และมีค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ยุ่งยาก
วัตถุประสงค์: พัฒนาวิธีการใหม่ในการวัดความเหลืองทางผิวหนังของทารกแรกเกิดโดยการใช้กล้อง ถ่ายภาพดิจิทัล
วิธีการศึกษา: ใช้กล้องถ่ายภาพดิจิทัล และกระดาษเทียบสี ดำ-เทา-ขาว ถ่ายภาพเด็กที่บริเวณ ผิวหนังหน้าอกทารกเด็กแรกเกิด นำมาวัดค่าความเหลืองที่ ระบบแสง L*a*b เท่ากับ L=70% อ่านค่าด้วยระบบ CMYK วัดค่า Y และ M ค่าความเหลืองของ บิลิรูบิน จะเท่ากับ Y-M นำค่าความเหลืองที่ได้เปรียบเทียบกับค่าบิลิรูบินในเลือดโดยใช้ Pearson’s Product moment correlation ในการวิเคราะห์ทางสถิติ ค่าบิลิรูบิน ที่ได้โดยวิธีนี้มีค่าเท่ากับ 0.264+0.58x(Y-M) +2.9 mg%
ผลการศึกษา: ศึกษาในเด็กครบกำหนดอายุ 0-7 วัน จำนวน 61 ราย เปรียบเทียบกับระดับบิลิรูบิน ในเลือด พบว่ามีความสัมพันธ์กับค่าความเหลืองที่วัดด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิทัล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (coefficient of correlation) ระหว่างความ เหลืองที่วัดบริเวณหน้าอก และระดับบิลิรูบินในเลือดเท่ากับ 0.86 ค่าเฉลี่ยของ บิลิรูบินในซีรั่มของทารกเท่ากับ 12.55+4.2 มล/ดล ค่าเฉลี่ยของบิสิรูบิน ที่วัดทาง ผิวหนังเท่ากับ 12.92±3.4 มล/ดล, coefficient of determinates (r2) =77.4 standard error of estimation = 1.38 โดยมีสมการถดถอยคือ Tcd=0.264+0.58x(Y-M)+2.9 มล./ดล. เมื่อ TcdB คือค่า บิลิรูบิน ที่คำนวณได้จากกล้องถ่ายภาพดิจิทัล พบ มีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างค่าที่ได้จาก บิลิรูบินในชีรั่ม กับค่าความเหลือง (Y-M) ที่วัดได้จากกล้องถ่ายภาพดิจิทัล (P < 0.05)
สรุป: วิธีการใหม่โดยใช้กล้องถ่ายภาพดิจิทัลวัดความเหลืองของทารกแรกเกิดทางผิวหนัง ค่าบิลิรูบินที่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับค่าบิลิรูบินที่ได้จากเลือด มีความแม่นยำ และเที่ยงตรง ในอนาคตสามารถใช้แทนการตรวจวัดค่าบิลิรูบินในเลือด
คำสำคัญ: ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, กล้องถ่ายภาพดิจิทัล, บิลิรูบิน, ระบบ CMYK, ระบบ L*a*b*

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. มหัทธนา กมลศิลป์, อำนาจ บาลี, ปรีชาพันธ์ แสงอรุณ, แพรวพรรณ นุชภักดี. Neonatal jaundice. เวชสารแพทย์ทหารบก 2531;41:32-7.

2. Lilien LD, Harrus VJ, Ramamurthy RS, Pildes RS. Neonatal osteomyelitis of the calcaneous: camplications of heel puncture. Pediatrics 1976;88:478-80.

3. Kramer LI. Advancement of dermal icterus in the jaun-diced newborn. Am J Dis Child 1969;98:454-60.

4. Yamanouchi L, Yamauchi Y, Igarashi I. Transcutaneous bilirubinometry: Preliminary studies of noninvasive transcutaneous bilirubin meter in the Okayama National Hospital. Pediatrics 1980;65:195-202.

5. Goldman SL, Penalver A, Penaranda R. Jaundice meter: Evaluation of new guidelines. J Pediatr 1982;101:253-6.

6. ปรียาพันธ์ แสงอรุณ, อำนาจ บาลี. การวัด ระดับบิลิรูบินผ่านทางผิวหนังในทารกไทย. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2526;22:19-24.

7. ธราธิป โคละทัต, นิรันดร วรรณประภา, ลาวัลย์ อินทร์งาม. ผลของระดับซีรั่มบิลิรูบิน และอายุของทารกแรกเกิดต่อการวัดระดับบิลิรูบินทางผิวหนัง. สารศิริราช 2537;46:597-600.

8. นิพัทธ์ ไพบูลย์พรพงd Adobe Photoshop SC 3 Classroom in a Book. บริษัท ฟิวเจอร์ เกมเมอร์ จำกัด: 449-51.

9. นิพัทธ์ ไพบูลย์พรพงศ์. การจัดการสีเพื่องานกราฟิก (Color Management System). บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน): 12-22.

10. Bland HE. Jaundice in the healthy term neonate: When is treatment indicated? Curr Probl Pediatr 1996;26:355-63.

11. Gosset IH. A Perspex Icterometer for Neonates. Lancet 1960;7115(275):87-88.

12. Ebbesen F: Determination of Serum Bilirubin Concentration During Phototherapy of Neuborns and In Vitro : Results Compared by the Direct Spectro- metric Method , Clin Chem 23:695,1977

13. Maisels MJ, Kring E. Transcutaneous bilirubinometry decreases the need for serum bilirubin measurements and saves money. Pediatrics 1997;99:599-601.

14. Sheridan PM, Goman W. Transcutaneous bilirubinometry: An evaluation. Arch Dis Child 1982;57:708-10.

15. Eyw H, Syr L, Cb C. BiliCheck transcutaneous bilirubinometer : a screening tool for neonatal jaundice in the Chinese population. Hong Kong Med J 2006;12(2):99-102.

16. Engle WD, Jackson GL. Evaluation of a transcutaneous jaundice meter following hospital discharge in term and near-term neonates. J Perinatol. 2005;25(7):48-90.

17. Namba F, Kitajima H. Utility of a new transcutaneous jaundice device with two optical paths in premature infants. Pediatrics International 2007;49:497-501.