อาการแสดงทางคลินิกของโรคมาลาเรียในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปี พ.ศ.2548-2551

Main Article Content

ศักดา รุ่งอร่ามศิลป์

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: มาลาเรียเป็นโรคเขตร้อน มักพบมากตามจังหวัดชายแดนของประเทศไทย มีอาการ และอาการแสดงที่หลากหลาย และวินิจฉัยโรคได้ยากในระยะแรก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการและอาการแสดง ร่วมกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยใน การวินิจฉัย ตลอดจนศึกษาถึงภาวะแทรกซ้อนของมาลาเรีย
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
วิธีการวิจัย: เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในของผู้ป่วยทุกรายที่มีอายุมากกว่า 15ปีและได้รับ การวินิจฉัยว่าเป็นมาลาเรีย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยทำการวิเคราะห์อาการและอาการแสดงเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าพิสัย และค่าเฉลี่ย ร่วมกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วย ในการวินิจฉัย และบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรค
ผลการวิจัย: มีผู้ป่วยมาลาเรีย จำนวน 39 ราย เป็นเพศชาย 33 ราย (ร้อยละ 84.62) และเพศ หญิง 6 ราย (ร้อยละ 15.38) มีอายุเฉลี่ย 36.62 ปี (อายุตั้งแต่ 16-73 ปี) เป็นคนไทย 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.74 เป็นแรงงานต่างชาติ 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.26 (กัมพูชา 2 รายและพม่า 2 ราย) มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ 28 ราย ส่วน ใหญ่อยู่ในนอกเขตอำเมือง และอยู่นอกเขตจังหวัดบุรีรัมย์ 7 ราย อาชีพทหาร 14 ราย (ร้อยละ 35.90) อาชีพรับจ้าง 9 ราย (ร้อยละ 23.08) อาชีพทำนา 8 ราย (ร้อยละ 20.51) เป็นมาลาเรียฟัลซิปารัม 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.28 มาลาเรีย ไวแวกซ์ 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.03 ติดเชื้อผสม (Mixed infection) 3 ราย คิด เป็นร้อยละ 7.69 มีประวัติเคยเป็นมาลาเรียมาก่อนร้อยละ 17.9 ผู้ป่วยมีอาการไข้ ร้อยละ 100 หนาวสั่นร้อยละ 89.74 ปวดศีรษะร้อยละ 69.23 ร่วมกับมีภาวะโลหิตจาง เกร็ดเลือดต่ำ และ hyperbilirubinemia พบมีภาวะไตวายเฉียบพลัน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.26 มาลาเรียขึ้นสมอง 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 ภาวะหายใจ ล้มเหลว 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.13 และเสียชีวิต 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.13
สรุป: เนื่องจากอาการทางคลินิกไม่มีความจำเพาะ จึงควรมีการซักประวัติการเจ็บป่วยใน อดีต ประวัติภูมีลำเนาที่อยู่ในเขตจังหวัดชายแดน และการเดินทางไปในเขตพื้นที่ เสี่ยงของมาลาเรีย ร่วมกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพี่อใช้ในการวินิจฉัยแยก โรคมาลาเรีย โดยเฉพาะทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตชายแดนไทยกัมพูชา ชายแดน ไทยพม่า และแรงงานต่างชาติ
คำสำคัญ: มาลาเรีย, อาการแสดงทางคลินิก, แรงงานต่างชาติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. White NJ, Breman JG. Malaria. In: Fauci Anthony S., Kasper Dennis L., Longo Dan L., Braunwald Eugene., Hauser Stephen L., Larry Jameson J. [et al.], editors. Harrison’s Principles of Internal Medicine 17th ed. Singapore : McGraw Hill, 2008:1280-95.

2. World Malaria Report 2008. Available from:URL: https://www.who.int/malaria/ wmr2008/

3. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2550 Availa- blefrom:URL:https://203.157.15.4/annual/ ANNUAL2550/Partl/Annual_ MenuPartl.html. : 23-26.

4. Echeverri M, Tobon A, Alvarez G, Carmona J, Blair S. Clinical and laboratory findings of Plasmodium vivax malaria in Columbia, 2001. Rev Inst Med Trop S Paulo 2003;45(1):29-34.

5. Sorrabjee JS. Haematological changes in malaria. Bombay Hosp J 1996;38;5-8.

6. Krause PJ. Malaria. In: Kliegman Robert M., Behrman Richard E„ Jenson Hal B., Stanton Bonita F„ edited. Nelson Textbook of Pediatric. 18th. ed. Philadelphia : Saunders, 2007:1477-85.

7. Kurtzhals JA, Rodrigues O, Addae M, Commey JO, Nkrumah FK, Hviid L. Reversible suppression of bone marrow response to erythropoietin in Plasmodium falciparum malaria. Brit J Hemat 1997;97:169-74.

8. White NJ, Looareesuwan S. Cerebral malaria. Kennedy PGE, Johnson RT, edited. Infections of the Nervous System. London: Butterworths, 1987:118-44.

9. Barsoum R, Sitprija V. Tropical nephrology. In: Schrier RW, Gottaschalk CW, edited. Diseases of the Kidney, 6th ed Boston : Little Brown & Co, 1996;2221-68.

10. Sitprija V. Nephropathy in falciparum malaria. Kidney Int 1998;34:867-77.

11. Looareesuwan S, White NJ, Chittamas S, Bunnag D, Harinasuta T. High rate of Plasmodium vivax relapse following treatment of falciparin malaria in Thailand. Lancet 1987;7;2(8567):1052-5.