การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กโรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาเชื้อที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ความไวของเชื้อต่อยา ปฏิชีวนะ และความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็ก ที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโรงพยาบาลสุรินทร์
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
การศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยทางเดิน ปัสสาวะอักเสบ เป็นครั้งแรก ที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2548- 30 กันยายน 2551
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 144 ราย อายุน้อยกว่า 1 ปี พบบ่อยที่สุด 55 รายพบ (ร้อยละ 38.19) อายุ0-1 ปี มากกว่า 1-2 ปี, มากกว่า 2-5 ปี และ มากกว่า 5-15 ปี ชาย : หญิง คือ 1.04 ะ!, 1.13 : 1, 1:2.6 และ 1:17 ตามลำดับ เชื้อที่เป็นสาเหตุ พบเป็นอันดับหนึ่ง คือ E.coli 117 ราย (ร้อยละ 82.06) ลำดับที่ 2 คือ เชื้อ Klebsiella 16 ราย (ร้อยละ 11.11) ความไวของเชื้อต่อ Cefotaxime และ Ceftazidime ร้อยละ 88.8 และ 91.3 ความไวของเชื้อต่อ Gentamicin และ Amikacin ร้อยละ 68.8 และ 64.5 ความไวของเชื้อต่อ Co-amoxiclav, Co-trimoxazole และ Ampicillin ร้อยละ 45.8, 31.8 และ 14.6 การวินิจฉัยทางรังสีทำได้ครบทั้ง Ultrasonography ของไต และ Voiding Cystourethrography เพียง 54 ราย (ร้อยละ 37.50) พบความผิดปกติ 17 ราย (ร้อยละ 11.81) พบ Vesicoureteral reflux มากที่สุด 16 ราย
สรุปผล: E.coli เป็นเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็ก ความไวของเชื้อ E.coli ต่อ Cephalosporins รุ่นที่ 3 ค่อนข้างสูง ความไวของเชื้อต่อ Aminoglycosides ระดับปานกลาง ความไวของเชื้อต่อ Co-amoxiclav, Co-trimoxazole และ Ampicillin ค่อนข้างต่ำ ความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะที่พบ บ่อยที่สุด คือ Vesicoureteral relfux
คำสำคัญ: การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็ก, ความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ, ความผิดปกติทางกายวิภาคของทางเดินปัสสาวะแบบปัสสาวะไหลย้อนกลับขึ้นไปในท่อไต
Article Details
References
2. Elder JS, Urinary Tract Infection. Kliegman RM, Jenson HB. Behrman RE, Stanton BF. Nelson Textbook of Pediatrics 18th ed. Philadelphia : WB saunders;2007:2223-2228.
3. Tan JM, Nephrology.Custer JW, Rau RE. The Harriet Lane Handbook 18th ed. Philadelphia: Mosby; 2009:507-514
4. ประไพพิมพ์ จึงธีรพานิช. Urinary Tract Infection. ใน : ประไพพิมพ์ ธีรคุปต์, อัจฉรา สัมบุณณานนท์, พรชัย กิ่งวัฒนกุล, กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ, บรรณาธิการ. ปัญหาสารน้ำ อิเล็กโทรไลต์และโรคไตในเด็ก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ ; 2547:321-336.
5. ประยงค์ เวชวนิชสนอง. การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและ vesicoureteral relfux ในเด็ก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์; 2542:1-105.
6. กนกกร สวัสดิไชย. แนวโน้มความไวต่อยา ปฏิชีวนะของเชื้อที่เป็นสาเหตุทางเดินปัสสาวะอักเสบจากชุมชน ในผู้ป่วยเด็กของโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2545;41(1):10-4.
7. ธีรยุทธ จิรวัฒนาวรกุล,ประยงค์ เวชวนิชสนอง, พรศักดิ์ ดิสนีเวทธ์. การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. กุมารเวชศาสตร์ 2541;34(4):259-68.
8. อัจฉรา สัมบุญณานนท์. สุรชาย เล้าพร พิชยานุวัฒน์, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, วิบูลย์ สุนทรพจน์. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กไทย. สารสิริราช 2537;46:347-57.
9. สุรพล เอียตระกูลไพบูลย์. ความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ. กุมารเวชศาสตร์ 2537:33(4):30-1.
10. โสภณา เนียมตริ. การศึกษาทางรังสีในผู้ป่วยเด็กติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ. วารสาร กรมการแพทย์ 2534:16(11):615-622
11. Schlager TA.Urinary tract infection in children younger than 5 years of age:epide- miology, diagnosis, treatment, outcomes and prevent. Pediatr Drug 2001:3(3):219-227
12 Mehr SS . Powell CV, Curtis N. Cephalosporin resistant Urinary Tract Infection in young children. Paediatrics and Child Health 2004;40(1-2):48-52
13. Hellerstein S. Antibiotic treatment for urinary tract infection in pediatric patients. Minerva Pediatr. 2003;55(5):395-406
14. AAP Issues Guidelines for Urinary Tract Infection in Infants and Toddlers. American academy of Family Physicians 1999
15. Giovanni M, Antonella T, Pietro Z et al. Antibiotic treatment for pyelonephritis in children : malticentre randomised controlled non-inferiority trial. BMJ 2007;335(7616):386
16. Hodson EM, Willin NS, Craig IC. Antibiotic for acute pyelonephritis in children. Coehrane Database of Systematic Reviews 2007;4:CD003772
17. Mahan S, Friedman J, Arthur MC. Renal Ultrasound finding and vesicoureteral reflux in children hospitalized with urinary tract infection. Arch Dis Child 2002;86(6):419-420
18. Tapaney Olam C, Tapaney-Olam W, Tunla Yadechananonts. Primary vesicoureteral reflux in Thai children with urinary tract infections. J Med Assoc Thai 1993:76(12):187-93.