พยาธิสภาพที่พบในไส้ติ่งที่ได้รับการวินิจฉัย ณ โรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ผกาวรรณ นามสว่าง

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: ไส้ติ่งอักเสบเป็นภาวะที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและการผ่าตัดเร่งด่วนหรือฉุกเฉินบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง โดยเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน บ่อยครั้งที่ชิ้นเนื้อ ของไส้ติ่งถูกละเลยหรือทิ้งไป โดยไม่ได้รับการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเกิดพยาธิสภาพของไส้ติ่ง,วิเคราะห์อัตราการเกิดการอักเสบและพยาธิสภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และวิเคราะห์สาเหตุที่มีผลต่อการวินิจฉัยภาวะไส้ติ่ง อักเสบได้อย่างถูกต้อง
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานพยาธิวิทยากายวิภาค โรงพยาบาลสุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: รวบรวมรายงานผลการวินิจฉัยทางศัลย์พยาธิ และวิเคราะห์ข้อมูลชิ้นเนื้อของไส้ติ่ง ที่ได้รับการผ่าตัด ณ โรงพยาบาลสุรินทร์ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ผลการศึกษา: ไส้ติ่งที่ได้รับการผ่าตัดจากการวินิจฉัยสงสัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบทั้งหมด 4,300 ราย พบว่า ผลการวินิจฉัยทางศัลย์พยาธิวิทยา พบว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบทั้งหมด 3,179 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.9 เป็นเพศชาย จำนวน 1,411 ราย (ร้อยละ 44.1) และเพศหญิง จำนวน 1,768 ราย (ร้อยละ 55.6) อัตราการเกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกพบ จำนวน 494 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.5 เป็นเพศชาย 218 ราย (ร้อยละ 44.1) และเพศหญิง 276 ราย (ร้อยละ 55.9) จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Statistical Package for The Social Science) โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างความ ถูกต้องของการตรวจวินิจฉัยภาวะไส้ติ่งอักเสบและเพศ พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ พยาธิสภาพอื่นๆที่พบได้แก่หนอนพยาธิ 14 ราย, พังผืดอุดตัน 66 ราย, เนื้องอกชนิด carcinoid 3 ราย, วัณโรคของไส้ติ่ง 11 ราย, ถุงน้ำเมือกของไส้ติ่ง 5 ราย, ภาวะ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ 2 ราย มะเร็งชนิดต่อม (adenocarconoma) 1 ราย, มะเร็งที่เกิดจากเยื่อบุผิวแพร่กระจาย (metastatic carcinoma) 4 ราย
สรุป: ไส้ติ่งอักเสบเป็นพยาธิสภาพที่พบบ่อยที่สุดที่ต้องได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งออก นอกจาก นี้ยังมีพยาธิสภาพอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นการส่งตรวจชิ้นเนื้อทางศัลย์พยาธิของไส้ติ่งมีความจำเป็นที่จะต้องทำทุกราย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Lamps LW. Appendicitis and infections of the appendix. Semin Diagn Pathol 2004;21:86-97.

2. Rabah R. Pathology of the appendix in children: An institutetional experience and review of the literatuture. Pediatr radiol 2007;37:15-20.

3. Kumar V, Abbas AK, Fausto N. Robbins and Cotran Pathologic Basis of Disease. 7th ed. Philadelphia : Elsevier Saunders ; 2005.

4. Porncharoenpong S. Pathologycal findings of vermiform appendix in Buddhachinaraj Hospital during 2003-2006: Asian Archives of Pathology 2007;5:109-116.

5. Rosia J. Rosai and Ackerman’s surgical pathology. 9thed. Edinburgeh : Mosby; 2004.

6. https://emedicine.medscape.com.

7. Christopher D.M. Fletcher. Diagnostic Histopathology of Tumor. 2nd ed. Churchill Livingstone 2000.

8. Stanley R. Hamilton & Lauri a. Aaltonen. Pathology & Genetics Tumours of the Digestive System, World Health Organization Classification of Tumours, I ARC Press Lyon 2000.

9. Mills SE, Carter D, Greenson JK, et al. Stemberge’s Diagnostic Surgical Pathol-ogy, 4th ed., Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins; 2004.