การพัฒนาระบบการให้บริการเพื่อป้องกันภาวะออกซิเจน ในเลือดต่ำจากการได้รับยาระงับความรู้สึก

Main Article Content

พวงเพชร มีสวสดิ์

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะออกซิเจนในเลือดดำหลังจากได้รับการระงับความรู้สึกเฉลี่ย 16.7-55% ชึ่งสูงและเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายร้ายแรง จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้โดย มักมีสาเหตุที่สามารถป้องกันและแก้ไขได้
วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างระบบการให้บริการผู้ป่วยในห้องพักฟื้นแนวใหม่สำหรับโรงพยาบาลบุรีรัมย์ และเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน จากอัตราการเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำใน ห้องพักฟื้นก่อนและหลังดำเนินการ
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่าง 1 เมษายน พ.ศ. 2550 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
รูปแบบ: เป็นการวิจัยแบบ Prospective experimental study
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึกที่ห้องพักฟื้นโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ก่อน และหลังดำเนินการ ประชุม ภายในกลุ่มงาน เพื่อสร้างระบบการให้บริการผู้ป่วยใน ห้องพักฟื้นใหม่ บันทึกข้อมูลทั่วไปอายุ เพศ ASA physical status ข้อมูลผ่าตัด PAR score ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำที่ห้องพักฟื้น
สถิติที่ใช้: ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-Square test Fisher’s exact test
ผลการศึกษา: ระบบการให้บริการเพื่อป้องกันภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำแบบใหม่ประกอบด้วยการ เพิ่มการประเมินความยากง่ายการใส่ท่อช่วยหายใจก่อนผ่าตัด การส่งต่อข้อมูล ผู้ป่วยทุกระยะ การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง มีผู้ดูแลขณะเคลื่อนย้าย พบว่า มีผู้ป่วยในการศึกษาก่อนดำเนินการ1,675 ราย เพศชายร้อยละ48.72 ส่วนใหญ่ ASA physical status 1 ร้อยละ 68.77 ไม่แตกต่างจากในระยะหลังดำเนินการ ซึ่งมี ผู้ป่วย 1,753 ราย เพศชายร้อยละ 48. 49 ส่วนใหญ่ ASA physical status 1 ร้อยละ 68.17 ก่อนดำเนินการพบผู้ป่วยเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำที่ห้องพักฟื้น 35 ราย (ร้อยละ 2.09)หลังดำเนินการผู้ป่วยเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำที่ห้องพักฟื้นลดลง เป็น 20 ราย (ร้อยละ 1.14) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การใช้รูปแบบการพัฒนาระบบบริการเพื่อป้องกันภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ท่าให้ อัตราการเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำหลังได้รับการระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นของ รพ.บุรีรัมย์ลดลง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Tyler IL, Tantisira B, Winter PM, Motoyama EK. Continuous monitoring of arterial oxygen saturation with pulse oximetry during transfer to the recovery room. Anesth Analg 1985;64:1108-12.

2. McKenzie AJ. Perioperative hypoxemia detected by intermittent pulse oximetry. Anaesth Intensive Care 1989;17:412-7.

3. Smith DC, Canning JJ, Crul JF. Pulse oximetry in recovery room. Anesthesia 1989;44:345-8.

4. Moller JT, Wittrup M, Johansen SH. Hypoxemia in the post anesthesia care unit: an observer study. Anesthesiology 1990;73:890-5.

5. Moller JT, Johannessen NW, Berg H, Espersen K, Laesen LE. Hypoxemia during anesthesia: an observer study. Br J Anaesth 1991;66:437-44.

6. Punjasawadwong Y, Pongchhiewboon A, Nipitsukam T, Vorasit S, Puttawong P, Jaitoom S. Level of consciousness and occurrence of oxygen desaturation during recovery from general anesthesia. Thai J Anesthesiology 1992;18:205-11.

7. Raksakietisak M, Chinachoti T, Vudhikam- raksa S, Svastdi-Xuto O, Surachetpong S. Perioperative desaturation: incidence, causes, management and outcome. J Med Assoc Thai 2002; 85 (Suppl 3):S980-6.

8. Daley MD, Norman PH, Sandler AN. Hypoxemia in adults in the post anesthesia care unit. Can J Anaesth 1991;38(6):740-6.

9. Punjasawadwong Y, Chinachoti T, Charuluxananan S, Pulnitipom A, Klana- rong S, Chau-in W, Rodanant O. The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study) of Oxygen Desaturation. J Med Assoc Thai 2005;88(Suppl 7):S41-53.

10. Ahsan M. AroZullah, Jennifer Daley, William G. Henderson, Shukri F. Khuri. Multifactorial Risk Index for Predicting Postoperative Respiratory Failure in Men After Major Noncardiac Surgery. Annals of Surg 2002;232. No2:242-53.

11. Erik HJ Hulzebos, Nico LU Van Meeteren, Rob A De Bie, Pieter C Dagnelie, Paul JM Helders. Prediction of Postoperative Pulmonary Complications on the Basis of Preoperative Risk Factors in Patients Who Had Undergone CABG Surgery. Physical therapy 2003;83.No1:8-16.

12. McAlister FA, Bertsch K, Man J, Bradley J, Jacka M. Incidence of and Risk Factors for Pulmonary Complications after Nonthoracic Surgery. Am J Respir Crit Care Med 2005;171:514-7.

13. Charuluxananan S, Suraseranivongse S, Punjasawadwong Y, Somboonviboon W, Sriswasdi S, Pranootnarabhal T, Chancha- yanon T, Chau-in W, Intarut N. Risk Factors of Intraoperative Oxygen Desaturation: A Case- Control Study of 152,314 Anesthetics. J Med Assoc Thai 2007;90(11):2359-65.

14. George JM, Nair L, Dhara SS. Postoperative hypoxemia during transport and in the recovery area. Ann Acad Med Singapore 1995;24(6):807-11.