อัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและข้อบ่งขี้ในการผ่าตัดคลอด ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปี 2547-2551

Main Article Content

อนันต์ มุ่งเจริญสันติกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพี่อศึกษาอัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและข้อบ่งชี้ที่มีผลต่อการเพิ่มสูงขึ้นของ อัตราการผ่าตัดคลอดบุตรของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ในระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา
การดำเนินการวิจัย: รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรในช่วง ระหว่างเดือนตุลาคม 2546 ถึง เดือนกันยายน 2551 ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดย ศึกษาข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางสูติศาสตร์รวมทั้งข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดคลอดบุตร และผลของการตั้งครรภ์
ผลการศึกษา: พบว่ามีผู้ได้รับการผ่าตัดทางหน้าท้องจำนวน 1,855,1,965, 1,996, 2,016 และ 2,217 คน ร้อยละ 30.67, 30.98, 34, 35.28 และ 38.52 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547-2551 ตามลำดับ ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่พบมากที่สุด คือ Cephalopel- vic disproportion ร้อยละ 38.33 รองลงมา คือ Previous cesarean section, Breech presentation ร้อยละ 28.75, 12.08 ตามลำดับ
สรุป: อัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2547-2551 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีสาเหตุหนึ่งเกิดจากการผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ ข้อเสนอแนะเพี่อช่วยลดอัตราการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง คือ การลดการผ่าตัด ในผู้คลอดที่ไม่มีข้อบ่งชี้ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและอธิบายทำความเข้าใจกับแพทย์ใช้ทุนโรงพยาบาลชุมชน
คำสำคัญ: การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง, ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด, การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดย ไม่มีข้อบ่งชี้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Tampakoudis P, Assimakopoulos E, Grimbizis G, Zafrakas M, Tampakoudis G, Mantalenakis S, et al. Cesarean section rates and indication in Greece : data from a24-year period in a teaching hospital. Clin Exp Obstet Gynecol 2004;31:289-92.

2. สุชาดา อินทวิวัฒน์, สมศักดิ์ ไหลเวชพิทยา, การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. ใน: มานี ปิยะอนันต์, ชาญชัย วันทนาศิริ, ประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล,บรรณาธิการ. ตำราสูติศาสตร์. กรุงเทพฯ : พี.เอลีฟวิ่ง; 2548:117-82.

3. Cunningham FG, MacDonald PC, Gant NF, Leveno KJ, Gilstrap LC. Williams Obstetrics. 22nd ed. Connecticut : Appleton &Lange; 2005:587-606.

4. Tangcharoensathien V, Chantharasathi N, Sithtool C, Ung P. Pattern of Hospital Delivery in Thailand 1990-1996. Health System Research Institute. Bangkok : 1997:1-42.

5. Ventura SJ, Martin JA, Curtin SC, Mathews TJ, Park MM : Births :Final data for 1998. National Vital Statistics Report ; vol. 48, No. 3. Hyattsville, MD :National Center for Healyh Statiatics 2000.

6. Mackenzie IZ, Cooke I, Annan B. Indication for cesarean section in a consultant obstetric unit over three decades. J Obstet Gynecol 2003;23:233-8.

7. Wagner M. Choosing cesarean section. Lancet 2000;356:1677-80.

8. Resnik R. Can a 29% cesarean delivery rate possible be justified?. Obstet Gynecol 2006;107:752-4.

9. Frigoletto FD, Ryan KJ, Phillippe M. Maternal mortality rate associated with cesarean section : an appraisal. Am J Obstet Gynecol 1980;136:969-70.

10. Driscook K, Foley M. Correlation of decrease on perinatal mortality and increase in cesarean section rates. Obstet Gynecol 1983;61:1-5.