ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการดื้อยาต้านไวรัส ของเด็กติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า

Main Article Content

สุทัศน์ ไชยยศ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: นับแต่มีการเริ่มให้ยาต้านไวรัสแก่เด็กติดเชี้อเอชไอวีทำให้เด็กมีชีวิตยีนยาวมีสุขภาพ จิตที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้ยาต้านไวรัส แก่เด็กติดเชื้อทุกรายที่เข้าข่ายสมควรได้,รับยานี้โดยเบื้องต้นจะให้ยาสูตรพื้นฐานก่อน ถ้าตรวจพบว่ามีการดื้อยาจึงจะเปลี่ยนเป็นสูตรดื้อยาซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็จะเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการดื้อยาต้านไวรัสในผู้ป่วยเด็กติดเชี้อเอชไอวี ที่มารับการรักษาใน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
วิรีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยเด็กติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส ในคลินิกพิเศษ(คลินิกเด็กติดเชื้อเอชไอวี) กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2545-2551 โดยพิจารณาจากเกณฑ์การวินิจฉัย การรักษาล้มเหลว เพื่อแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ตอบสนองต่อยาต้านไวรัสและกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อยาต้านไวรัส (ดื้อยา) ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูล ทั่วไปกับข้อมูลประวัติและการรักษาของผู้ป่วยเด็กทั้ง 2 กลุ่ม เพื่อหาปัจจัยเลี่ยง ต่อการดื้อยา พร้อมทั้งศึกษาความชุกการดื้อยาจากการวิเคราะห์รายละเอียดและ Genotype drug resistance testingองผู้ป่วยกลุ่มดื้อยาที่ส่งตรวจ
ผลการศึกษา: ในระหว่างปี พ.ศ. 2545-2551 คลินิกพิเศษ (คลินิกเด็กติดเชื้อเอชไอวี) กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ได้ให้ยาต้านไวรัสแก่เด็กติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 132 คน พบว่ามีเด็กติดเชื้อที่เข้าข่ายดื้อยาต้านไวรัส จำนวน 10 คน (ร้อยละ 7.6) พบปัจจัยที่มีผลต่อการดื้อยาต้านไวรัสอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ได้แก่ สาเหตุการติดเชื้อ,ระยะเวลาในการได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี, การเปลี่ยน สูตรยาต้านไวรัส เอชไอวีและ Poor Adherence พบผู้ป่วยเด็กที่ดื้อยามี การ กลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง M184V บ่อยที่สุด
สรุป: การให้ยาต้านไวรัสแกเด็กติดเชื้อเอชไอวีโดยเริ่มจากสูตรพื้นฐานก่อนช่วยทำให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ในกรณีที่เกิดการดื้อยาขึ้น จำเป็นต้องใช้สูตรดื้อยาซึ่งมี ราคายาที่สูงขึ้น ทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายแก่งบประมาณของประเทศ การที่เราทราบ ปัจจัยที่มีผลต่อการดื้อยาด้านไวรัส จะช่วยให้ผู้รักษาตระหนักและระมัดระวังไนการให้ยาต้านไวรัส ซึ่งจะเป็นประโยชนแกเด็กผู้ติดเชื้อ,ครอบครัวผู้ติดเชื้อ และประเทศชาติต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Phanuphak P. Locharemkul C. PanmuongW. Wide H. A report of three cases of AIDS in Thailand.Asian Pac J Allerg Immunol 1985;3:195-9.

2. Anonymous.End of 2000 HIV/AIDS Epidemiology Update. Available from:URL: https://www.unaids.org epidemic_update/ (citation).

3. ศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มกราคม พ.ศ. 2551.

4. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย.การวินิจฉัยและ การรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีการรักษาล้มเหลว. ใน: สมนึก สังฆานุภาพ, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์,นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล, ฤดีวิไล สามโกเศศ, ธิดาพร จิรวัฒนะ ไพศาล, บรรณาธิการ.แนวทางการดูแลรักษา ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549/2550. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2550:101-13.

5. สัญชัย ชาสมบัติ, ชีวนันท์เลิศพิริยสุวัฒน์, พรทิพย์ ยุกตานนท์, บรรณาธิการ. แนวทาง การปฏิบัติงานโครงการพัฒนาระบบบริการ และติดตามผลการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ด้วยยาต้านไวรัส กระทรวง สาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุกัณฑ์การพิมพ์; 2546.

6. วิทยา เพ็ชรดาชัย. การรักษาเด็กติดเชื้อเอชไอวี ด้วยยาด้านไวรัสในบริบทของทรัพยากรที่จำกัด. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2547;43:257-65.

7. Manosuthi W.Vipagool A. Sungkanuparp S. Efeviencez-based versus nevirapine-based HARRT regimen in advanced antiretroviral naive HIV infected patients. J infect Dis Antimicrob Agents 2003;20:13-20.

8. Tangcharoensathien V. International health policy program.Availabe at: http//www.ihpp.Thaigov.net. Accessed april 10, 2005.

9. สรกิจ ภาคีชีพ, ขจีรัตน์ ปรักเอดโก, เรขวรรณ เรขะคณะกุล, เพียงหทัย อินกัน, จิโรจน์ นาคไพจิตร และคณะ. การรักษาด้วยยาต้าน ไวรัส. คู่มือบริหารจัดการ การดูแลผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ในระบบหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2550-2551 กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด, มิถุนายน พ.ศ. 2550:21-34.

10. เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม. สถานการณ์เชื้อเอชไอวี ดื้อยาในปัจจุบันและความท้าทายใหม่ การสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชกัฏสวนดุสิต 2003:18-22.

11. BoonthomT. Antiretroviral drug resistance in Phranakhonsriayutthaya hospital-Region 4 Med J 2008;10(1):67-73.

12. ศรีเพชรรัตน์ เมฆวีวัฒนาวงศ์. การติดตาม ประเมินผลการรักษาด้วยยาด้านไวรัสเอชไอวี โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารวิชาการ รพศ/รพท.เขต 4 พ.ศ. 2551;10:1079-85.

13. จินตนาถ อนันต์วรณิชย์. การใช้ยาด้านไวรัสเอดส์ในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ ในเด็กกรุงเทพฯ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2545;1:266-79.

14. โอภาส การย์กวินพงศ์, สมบัติ แทนประเสริฐสุข, สัญชัย ชาสมบัติ. การดื้อยาต้านไวรัสเอชไอวี ภายหลังการดำเนินโครงการพัฒนาระบบ บริการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านไวรัส จังหวัด อุบลราชธานี. วารสารโรคเอดส์ 2551:20:115-226.

15. Sungkanuparp S, Manosuthi W, Kiertibu-ranakul S, Piyavong B, Chumpathat N, Chantratita W. Options for the second antiretroviral regimen of HIV-infected patient failing an ignition regimen of fixed dose combination of stavudine.lamivudine and nevirapine. Clin Infect Dis 2007;44: 447-52.

16. Boucher CA, Cammack N, Schipper P, Schuurman R, Rouse P, Wainberg MA, et al.High-level resistance to (?) enantiomeric2-deoxy-3-thiacytidine in vitro is due to one amino acia substitution in the catalytic site of human immunodeficiency virus type 1 reverse transcriptase. Antimicrob Agents Chemother1993:37:2231-4.