การศึกษาระยะเวลาวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งแตก ในโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

วาสนา เนื้อนุ่ม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เป็นการศึกษาระยะเวลาวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งแตก และปัจจัยที่มีผลต่อ ระยะเวลาวันนอนโรงพยาบาล
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
ผู้ป่วยและวิธีการ: ศึกษาข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย และข้อมูล Performance Rupture Appendicitis ของผู้ป่วยในแผนกศัลยกรรมที่ได้รับการวินิจฉัยไส้ติ่งแตก และได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลสุรินทร์ ในช่วงเดือนตุลาคม 2549 ถึง เดือนกันยายน 2550 สุ่มตัวอย่างจำนวน 100 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบ บันทึกระยะเวลาวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งแตก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบว่าระยะเวลาวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยไส้ติ่งแตกในโรงพยาบาลสุรินทร์ เป็น 4.71 วัน ระยะเวลาวันนอนต่ำสุด 2 วันระยะเวลา วันนอนมากสุด 24 วัน ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และเมื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาวัน นอนโรงพยาบาลของกลุ่มตัวอย่างที่ผ่าตัดไส้ติ่งแตก พบว่า อายุผู้ป่วย ศัลยแพทย์เจ้าของไข้ ยาปฏิชีวนะหลังการผ่าตัด ชนิดการเย็บแผลปิดทันที หรือรอเย็บแผลและ ระยะเวลาทำแผลจนถึง Delayed Primary suture มีระยะเวลาวันนอนโรงพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วน ตัวแปรอื่นๆมีระยะเวลาวันนอนโรงพยาบาลไม่แตกต่างกันทางสถิติ
สรุปผล: จากผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถเอาไปปรับปรุงแผนการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่ง แตก (CPG Rupture Appendicitis) ที่ใช้ในปัจจุบัน ของ PCT ศัลยกรรม เพื่อให้บรรลุตามตัวชี้วัดและลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาลรวมทั้งค่าใช้จ่าย โนการนอนโรงพยาบาล
คำสำคัญ: ไส้ติ่งแตก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. บันทูร นนทสูติ. เอกสารประกอบการสอนวิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ทฤษฎี 1 รหัสวิชา 3015410 เรื่องไส้ติ่ง. กรุงเทพฯ. ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546

2. สุภาภรณ์ เดชาเลิศ. เอกสารวิซาการเรื่อง "การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบที่มีภาวะการแตกของไส้ติ่ง". โรงพยาบาลกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร; 2547

3. กำพล เลาหเพ็ญแสง และคณะ. ศัลยศาสตร์ปริทัศน์. กรุงเทพฯ : พี.บี.ฟอเรน บุคเซ็นเตอร์; 2535

4. ไพบูลย์ สุทธิสุวรรณ. ศัลยศาสตร์ฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพีมพ์; 2538

5. ทวิสิน ตันประยูร.

6. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. เอกสารการลงรหัสโรค copper version 4. 2551

7. นริทธ์ สังข์สม. ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันและอักเสบทะลุในโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. เอกสารอัดสำเนา; 2549

8. ชาญวิทย์ ตันติพิพัฒน์ และธนิต วัชรพุกก์. ตำราศัลยศาสตร์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์; 2536