การพยาบาลเด็ก โรคคาวาซากิที่ไม่เป็นไปตามปกติ (กรณีศึกษา)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมาของปัญหา: โรคคาวาซากิมีอุบัติการณ์ในเด็กอายุต่ำกว่า5 ปี จำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี เป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดที่หัวใจและอาจเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันภายใน 1-2 เดือนถัดมา จากเส้นเลือดแดงโคโรนารีที่โป่งพองแตกออก จึงเป็นโรค ที่ควรให้ความสำคัญ ในการติดตามอาการและให้การรักษาได้ทันเวลา จึงจะป้องกันภาวะแทรกซ้อนนี้ได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการดำเนินโรคของผู้ป่วย ปัญหาสุขภาพที่ผู้ป่วยเผชิญ การรักษา พยาบาลที่ได้รับ และผลของการรักษาพยาบาล
กรณีศึกษาและสถานที่: คัดเลือกจากประชากรเด็กป่วยโรคคาวาซากิ แบบเจาะจง 1 ราย ที่ได้รับการ วินิจฉัยเป็นโรคคาวาซากิที่ไม่เป็นไปตามปกติ ที่หอผู้ป่วยพิเศษกุมารเวชกรรม อาคาร 12 ขั้น 3 โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ทำศึกษาเป็นรายกรณี โดยศึกษาย้อนหลังเกี่ยวกับ ประวัติการเจ็บป่วย และศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้า นับจากวันที่ได้รับ การวินิจฉัย จนกระทังจำหน่าย ระยะเวลาระหว่าง 26 มีนาคม 2552-4 เมษายน 2552
ผลการศึกษา: เด็กชายไทย อายุ 3 ปี 7 เดือน มีอาการแสดงทางคลินิก ที่ผิดแผกไปจาก ปกติของโรค เพราะมีอาการ ปวดบวมที่ต่อมน้ำเหลืองข้างคอ และไข้ชัก ร่วมด้วย อาการลิ้นบวมแดง คล้ายผลสตรอเบอรี่ และตาบวมแดง แสดงออกล่าช้า คือพบในวันที่ 6 ของไข้ ไม่มีผื่นขึ้นตามลำตัว แขนขา ผลปัสสาวะไม่มีโปรตีนในปัสสาวะ (Pyuria) รับการรักษาด้วยยา Intravenous Immunoglobulin ในวันที่ 7 ของการมีไข้ มีปัญหาทางสุขภาพ คือ ผู้ป่วยเผชิญกับช่วงวิกฤตและความทุกข์ทรมานจากไข้สูง ชัก ปวดคอ รับ ประทานอาหารและน้ำไม่เพียงพอ ญาติเผชิญกับความเครียดและวิตกกังวล ได้รับการพยาบาล ครอบคลุมในการแก้ไขปัญหา และการป้องกันภาวะ เสี่ยงต่างๆ เป็นผลให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนและไม่เกิดภาวะ แทรกซ้อนที่หัวใจ
สรุป: การวางแผนการพยาบาลด้วยความรู้ความเข้าใจในการดำเนินของโรค ทำให้ ติดตามลังเกตอาการได้อย่างถูกต้อง มีส่วนช่วยให้การวินิจฉัยโรคคาวาซากิ ได้รวดเร็วแม่นยำ สามารถให้การรักษาได้ทันเวลา และป้องกันภาวะ แทรกซ้อนได้
คำสำคัญ: การพยาบาล โรคคาวาซากิ Intravenous Immunoglobulin
Article Details
References
2. Parrillo JS, Parrillo VC. Pediatrics, Kawasaki Disease. Emedicine from web MD;2008. Available from: URLhttps://emedicine.medscape.com/article/804960-overview
3. วัขระ จามจุรีรักษ์. โรคคาวาซากิ. มูลนิธิโรคหัวใจเด็ก ; 2549. Available from: URL:https:// www.doctordek.com/index.php7option=com_content&task=view&id=12&Itemid-13
4. ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือยา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : N P Press Limited Part- nership; 2550.
5. พรทิพย์ ตริบูรณ์พิพัฒนา. การพยาบาลเด็ก เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี : ยุทธรินทร์การพิมพ์; 2550.
6. รุจา ภู่ไพบูลย์. แนวทางการวางแผนการพยาบาลเด็ก. กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณาการ; 2541.
7. เพ็ญจันทร์ สุวรรณแสง โมไนยพงศ์. คู่มือตรวจ ผู้ป่วยนอก. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : วี.เจ. พริ้นติ้ง; 2550.
8. ดารุณี จงอุดมการณ์. ปวดในเด็ก: การพยาบาลแบบองค์รวมโดยยึดครอบครัวเป็น ศูนย์กลาง. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ตศิริออฟเช็ท; 2546.
9. แสนดี ตันตะกูล. การศึกษาลักษณะทางคลินิกและผลต่อหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรค คาวาซากิ ที่ได้รับการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน ก่อนวันที่ 5 ของการดำเนินโรค. The Royal College of Pediatricians of Thailand; 2550. Available from:URL:https://www.thaipediatrics.org/detail_journal.php?journal_id=175
10. Moore E. IVIG Therapy. The genuine article.Literally;2006. Available from: URL:https://www. suitel01.com/blog/daisyelaine/ivig_therapy
11. สมจิต หนุเจริญกุล. การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : วี.เจ.พริ้นติ่ง; 2544.
12. Wikipedia. โรคคาวาชากิ. The free ency- clopedia;2009. Available from: URLhttps:/ /th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82
13. Wong DL, Hess CS. Clinical manual of pediatric nursing. Philadelphia : Mosby; 2000.