การดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ภาวะเครือข่ายเส้นประสาทแขนบาดเจ็บในเด็กทารกแรกเกิด (Neonatal brachial plexus palsy) : กรณีศึกษา

Main Article Content

ภาคภูมิ ปาการเสรี

บทคัดย่อ

เหตุผล: อาการแขนอ่อนแรงในเด็กทารกแรกเกิดที่เกิดจากภาวะเครือข่ายเส้นประสาท แขนบาดเจ็บนั้นมักมีสาเหตุจากภาวะการคลอดลำบาก ซึ่งส่วนมากผู้ป่วย จะมีอาการดีขึ้นจนเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์แรก แต่ก็พบว่ามีผู้ป่วย ส่วนหนึ่งที่อาการไม่ดีขึ้น และเกิดความพิการตามมา ซึ่งการดูแลรักษา ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องอาศัยการรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพตามหลักการทาง เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพี่อช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นฟูตัวที่ดีขึ้นและช่วยลดความ พิการที่อาจจะเกิดขึ้น โดยที่อาจมีผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องอาศัยการรักษา โดยการผ่าตัดร่วมด้วย
วัตถุประสงค์: เพื่อนำเสนอการดำเนินโรคและการพยากรณโรคของภาวะนี้รวมทั้งแนวทาง การดูแลรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพตามหลักการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู
วิธีการ: กรณีศึกษา
กรณีศึกษา: ผู้ป่วยเด็กทารกแรกเกิด 2 รายมีอาการแขนอ่อนแรงหนึ่งข้าง หลังจากการ คลอด ได้รับการวินิจฉัยเป็น Erb’s palsy ทั้ง 2 รายได้รับการฟื้นฟู สมรรถภาพตามหลักการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งประกอบด้วยการ,ป้องกัน ข้อยึดติด การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า การกระตุ้นการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง เหมาะสม ให้เป็นไปตามพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งการกระตุ้นระบบ ประสาทสัมผัส โดยต้องอาศัยความร่วมมือของพ่อแม่ผู้ปกครองในการดูแล ควบคุมการฝึกให้เป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนด ทำให้ผลการติดตามการ รักษามีการเคลื่อนไหวของแขนและมือดีขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้
สรุป: การให้โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพตามหลักการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ ถูกต้องและเหมาะสมในผู้ป่วยเด็กทารกแรกเกิดที่มีภาวะเครือข่ายเส้น ประสาทแขนบาดเจ็บ ช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นฟูตัวที่ดีขึ้นและช่วยลดความ พิการที่อาจจะเกิดขึ้นไต้
คำสำคัญ: ภาวะเครือข่ายเฟ้นประสาทแขนบาดเจ็บในเด็กทารกแรกเกิด, คลอดติดไหล่, การตรวจไพ่ฟ้าวินิจฉัย,โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพ, ความพิการที่หลงเหลืออยู่

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. Jennifer SC, Jennifer MG, Hany N, Anne C. Neonatal Brachial Plexus Palsies, [update 2009 Jan 14]. Available from: https://emedicine.medscape.com/article/317057-overview

2. Gilbert WM, Nesbitt TS, Danielsen B. Associated factors in 1611 cases of brachial plexus injury. Obstet Gynecol 1999;93(4):536-40.

3. Raio L, Ghezzi F, Di Naro E, et al. Perinatal outcome of fetuses with a birth weight greater than 4500g:an analysis of 3356 cases. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2003;109(2):160.

4. Mollberg M, Hagberg H, Bager B, et al. High birthweight and shoulder dystocia: the strongest risk factors for obstetrical brachial plexus palsy in a Swedish population-based study. Acta Obstet Gynecol Scand 2005;84(7):654-9.

5. Huang YG, Chen L, Gu YD, et al. Histopa- thological basis of Horner's syndrome in obstetric brachial plexus palsy differs from that in adult brachial plexus injury. Muscle Nerve 2008;37(5):632-7.

6. Yilmaz K, Caliskan M, Oge E, et al. Clinical assessment, MRI, and EMG in congenital brachial plexus palsy. Pediatr Neurol 1999;21(4):705-10.

7. Eng GD, Koch B, Smokvina MD. Brachial plexus palsy in neonates and children. Arch Phys Med Rehabil 1978;59(10):458-64.

8. Grossman JA, DiTaranto P, Price A, et al. Multidisciplinary management of brachial plexus birth injuries: 2004. The Miami experience. Semin Plast Surg 2004;18(4):319-26.

9. Ramos LE, Zell JP. Rehabilitation program for children with brachial plexus and peripheral nerve injury. Semin Pediatr Neurol 2000;7(1):52-7.

10. สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ : โรงพิมพ์เทคนิค ; 2539 : หน้า

11. Chuang DC, Mardini S, Ma HS. Surgical strategy for infant obstetrical brachial plexus palsy: experiences at Chang Gung Memorial Hospital. Plast Reconstr Surg 2005;116(1):132-42; discussion 143-4.

12. Haerle M, Gilbert A. Management of complete obstetric brachial plexus lesions. J Pediatr Ortho 2004;24(2):194-200.
13. Hoffer MM, Phipps GJ. Closed reduction and tendon transfer for treatment of dislocation of the glenohumeral joint secondary to brachial plexus birth palsy. J Bone Joint Surg Am 1998;80(7):997-1001.

14. Chuang DC, Ma HS, Wei FC. A new strategy of muscle transposition for treatment of shoulder deformity caused by obstetric brachial plexus palsy. Plast Reconstr Surg 1998;101(3):686-94.

15. Papazian O, Alfonso I, Yaylali I, et al. Neurophysiological evaluation of children with traumatic radiculopathy, plexopathy, and peripheral neuropathy. Semin Pediatr Neurol 2000;7(1):26-35.

16. Eng GD, Binder H, Getson p, O'Donnell R. Obstetrical brachial plexus palsy (OBPP) outcome with conservative management. Muscle Nerve 1996;19(7):884-91.