การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ ผู้ป่วยซึ่งใช้ยาต้านไวรัส แบบ HAART ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

อุไรวรรณ วรรณโพธิ์กลาง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรคติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก ซึ่งการ ดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ของไทย มีการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงการบริการ ด้วยการให้ยาต้านไวรัสแบบสูตรยารวม (combination therapy) อย่างน้อย 3 ชนิดที่เรียกว่า highly active antiretroviral therapy (HAART) เพี่อ ลดจำนวนเชื้อไวรัสในกระแลเลือด ลดการทำลายและมีการฟื้นกลับมาของ ภูมิต้านทานของผู้ป่วย ซึ่งอาจพบอาการไม่พึงประสงค์และ/หรือปัญหาจาก การใช้ยา
วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามผลการรักษาและศึกษาปัญหาจากการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีแบบ HAART
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบติดตามไปข้างหน้า (Prospective descriptive study)
วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์อายุระหว่าง15-70ปีที่ไต้'รับยาต้านไวรัส แบบ HAART จำนวน 406 ราย ที่มารับบริการระหว่าง 1 มีนาคม 2546 ถึง 1 เมษายน 2552
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 260 ราย (ร้อยละ 64.04) สามารถใช้ยาต้านไวรัสแบบ HAART สูตร แรกที่ได้รับต่อเนื่องตลอดการศึกษา และผู้ป่วยที่ต้องปรับเปลี่ยนสูตรยา เนื่องจากอาการอันไม่พึงประสงค์ร้อยละ 30.05 และจากปัญหาดื้อยา ร้อยละ 0.74 ระยะเวลารับยาเฉลี่ย (Mean)=31.92+13.85 เดือน ค่าเฉลี่ย CD4 เฉลี่ย เริ่มต้นก่อนรับยา 91.00+102.93 และทุก 6 เดือนที่มีการตรวจวัด พบว่า ค่าเฉลี่ย
CD4 มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดการศึกษา มีผู้ป่วยที่ ติดโรคฉวยโอกาสก่อนเริ่มยาต้านไวรัสจำนวน 188 ราย (ร้อยละ 46.31) หลังจากเริ่มยาต้านไวรัสแล้วพบลดลงเป็น 12 ราย (ร้อยละ 2.96) ผู้ป่วยจำนวน 321 ราย (ร้อยละ 83.38) มีค่าเฉลี่ย Percent Adherenceระดับ 100%-95% สำหรับปัญหาจากการใช้ยา พบว่าส่วนใหญ่มีสาเหตุจากตัวของผู้ป่วยเอง และที่สำคัญคือ ปัญหาอาการอันไม่พึงประสงค์จากยาซึ่งพบสูงถึงร้อยละ 59.60 ของปัญหาจากการใช้ยาทั้งหมด
สรุป: ผลการบริบาลทางเภสัชกรรม แก่ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับยาต้าน ไวรัสสูตรผสมแบบHAART ต่อเนื่องในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ พบว่าผู้ป่วยมี ค่าเฉี่ลย CD4 Cell count เพิ่มขึ้น มีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสน้อยลง แต่พบ ปัญหาอาการอันไม่พึงประสงค์จากยาในอัตราสูง จึงควรเฝ้าระวังและ ตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด เสริมสร้างความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย และติดตามผลการใช้ยา เพื่อลดปริมาณไวรัสในเลือดได้มากและนานที่สุด ซึ่งจะป้องกันการเกิดและลดการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีที่ดื้อยา เพี่อรักษาสูตรยาที่จะเป็นทางเลือกในอนาคต
คำสำคัญ: การบริบาลทางเภสัชกรรม, ผู้ป่วยเอชไอวี, ยาต้านไวรัส, สูตร HAART, อาการ ไม่พึงประสงค์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Annual epidemiological surveillance Report 2009. Available at https://epid.moph.go.th

Mocoft A, Vella S, Benfield TL. Ghanging patterns of mortality across Europe in patients infected with HIV-1. Euro SIDA Study Group. Lancet 1998;352:1725-30

Palella FJ Jr, Delaney KM, Moorman AC. Declining morbidity and mortality among patients with advanced HIV infections. HIV Outpatients Study Investigators. N Engl J Med 1998;338:853-60

เฉลิมศรี ภุมมางกูร, ปรีชา มนทกานติกุล. การสื่อสารในการบริบาลทางเภสัชกรรมปฏิบัติ. การให้บริบาลทางเภสัซกรรมอย่างเป็นระบบ. ใน: โอสถกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : นิวมิตรไทยการพิมพ; 2543. หน้า 21-35

กระทรวงสาธารณลุข.แนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดสํในประเทฅไทยปี 2549/2550. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2550.

World Health Organization. Fact sheet on antiretroviral drugs. Available at https://www.who.int/hiv/mediacenter.

CDC Guidelines. Available at https://www.cdc.gov/hiv/resourses/guidelines.

วรรณสิทธิ์ เธียระวิบูลย์. การศึกษาอุบัติการณ์ของการเปลี่ยนสูตรยาด้านไวรัสเอดส์ สาเหตุของการเปลี่ยนสูตรยาและปัจจัยที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่เปลี่ยนและไม่เปลี่ยนสูตร ยาต้านไวรัสของผู้ป่วยติดเชื้อ HIV/AIDS โรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2549 ; ปีที่ 14 ฉบับที่ 1: 40-7.

จิตรา จำละคร. ผลการรักษาและอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยติดเชื้อเอซไอวี โรงพยาบาลแม่เมาะ. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2551; ปีที่ 15 ฉบับที่ 4:369-378.

Smith Collectte J, Sabin Caroline A, Lampe Fiona, et al. The potential for CD4 cell increasing in HIV-positive individuals who control viraemia with highly active antiretroviral therapy. AIDS 2003 ;17(7):963-9.

ปิยะวรรณ กุวลัยรัตน์. การเฝ้าระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาต้านไวรัสเอดส์ อย่างเข้มงวด. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2551; ปีที่ 15 ฉบับทึ่ 3:297-306.

Cardiology Unit, Department of Medicine Pathophysiology, university la sapienza, Rome, Italy. Visceral fat as target of highly active antiretroviral therapy-associated metabolic syndrome. Curr Pharm Des. 2007;13(21):2208-13.